TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyเอไอเอส รุกตลาด​ Deep Tech เปิดตัว SER เอไอ รู้จำอารมณ์ ความรู้สึก เสียงพูดภาษาไทย

เอไอเอส รุกตลาด​ Deep Tech เปิดตัว SER เอไอ รู้จำอารมณ์ ความรู้สึก เสียงพูดภาษาไทย

ครั้งแรกของโลก ของ AI จับอารมณ์และความรู้สึกจากเสียงภาษาไทย หรือ SER (Speech Emotion Recognition) เมื่อเอไอเอส ร่วมมือระหว่างสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (VISTEC) พัฒนา AI ตรวจจับความรู้สึกจากเสียงภาษาไทย

อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานขับเคลื่อนนวัตกรรม เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสร่วมมือกับ VISTEC (Vidyasirimedhi Institute of Science and Technology) ในการพัฒนา AI จับอารมณ์และความรู้สึกจากเสียงภาษาไทย หรือ SER ซึ่งที่ผ่านมาเอไอเอสทำการเก็บตัวอย่างเสียงพูดภาษาไทยจากคน 200 คน (เป็นผู้ชาย 87 คน ผู้หญิง 113 คน) ที่มีความยาว 40 ชั่วโมง คือ ประมาณ 28,000 ประโยค ซึ่งเป็นบทสนทนาทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน

เอไอเอส รุกตลาด​ Deep Tech เปิดตัว SER เอไอ รู้จำอารมณ์ ความรู้สึก เสียงพูดภาษาไทย

ซึ่งเป็นความยาวของภาษาพูดอันดับที่ 3 ของโลก ซึ่งความยาวอันดับ 1 และ 2 เป็นภาษาพูดประโยคภาษาอังกฤษ และเขาใช้เสียงจาก Podcast และ YouTube ซึ่ง SER สามารถรู้จำและจำแนกเสียงพูดออกมาเป็น 5 อารมณ์และความรู้สึก คือ สุข ปกติ เศร้า หงุดหงิด และโกรธ 

ตอนนี้ความถูกต้องแม่นยำของการรู้จำและจำแนกอารมณ์และความรู้สึกจากเสียงภาษาไทยอยู่ที่ประมาณ 70-80% ซึ่งจะต้องเทรน AI เพิ่มเติมให้มีความถูกต้องมากขึ้นเป็น 90% ให้เข้าใจสถานการณ์ลูกค้าและพนักงานคอลเซ็นเตอร์ของเอไอเอส 

เอไอเอสวางแผนจะนำ SER เข้ามาใช้ในองค์กรในส่วนงานต่าง ๆ เริ่มจากงานบริการลูกค้าอย่างงานคอลเซ็นเตอร์ รวมถึงงานการตลาดต่าง ๆ และงานอื่น ๆ ในอนาคต

นอกจากนี้ เอไอเอสยังจะขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรเพื่อพัฒนาต่อยอด SER ในการใช้งานในบริบทต่าง ๆ ของธุรกิจต่าง ๆ อาทิ ธุรกิจ Food Delivery เป็นต้น ซึ่งรูปแบบความร่วมมือทางธุรกิจเป็นไปได้หลายรูปแบบทั้งจ้างเอไอเอสพัฒนา แบ่งรายได้กัน หรือ Co-create กันระหว่างเอไอเอสและพันธมิตรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ 

เพื่อประโยชน์สูงสุดในการต่อยอดและใช้งาน SER เอไอเอส วางแผนจับมือหน่วยงานรัฐและพันธมิตรเอกชน ในการต่อยอด AI จับอารมณ์และความรู้สึกจากเสียงภาษาไทย ด้วยการเปิด Source Code ของ SER Corpus ผ่านความร่วมมือ ARI [AI, Robotic, Immersive] Innovation District อาทิ สำนักงานนวัตกรรมแแห่งชาติ (NIA) สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (DGA) AI Institute มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น 

“เราเปิดให้นักพัฒนาสามารถต่อยอด SER ได้ เขาสามารถมาพัฒนา Open Corpus บน AIS ได้ ที่เอไอเอส กระโดดลงมาทำ AI จับอารมณ์และความรู้สึกจากเสียงภาษาไทย เพราะเมืองไทยเราขาด Deep Tech ทีม AIS Next เจอสตาร์ตอัพ Deep Tech ต่างชาติจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อตอกย้ำและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เราอยากทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ถ้าประเทศไทยจะหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ประเทศไทยต้องมุ่งไป Deep Tech และเอไอเอสอยากเป็นหนึ่งในผู้ทำตรงนี้” อราคิน กล่าวทิ้งท้าย 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ