TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyกฟผ.เดินหน้าชัด ขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล

กฟผ.เดินหน้าชัด ขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นอีกหน่วยงานของรัฐที่น่าจับตามอง ในเรื่องทรานส์ฟอร์เมชันองค์กรจากการทำงานระบบเดิมที่ต้องบริหารจัดการข้อมูลมหาศาล สู่การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานด้วยการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่ปี 2562 เมื่อเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ระบาด องค์กรจึงมีการรับมือที่ดีและได้เห็นผลของการขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม

ปิยพงศ์ วรกี ผู้ช่วยผู้ว่าการเทคโนโลยีสารสนเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา กฟผ. มีการนำเอาระบบ ERP ช่วยจัดการบริหารงานทางด้านบัญชี มีระบบ ERM เข้ามาใช้งานภายในองค์กร ทำให้ช่วยเรื่องลดการใช้กระดาษลงได้ 60-70% และมีระบบ EPM ช่วยในการบริหารจัดการการตัดสินใจเรื่องบริหารงานและการลงทุน โดยสิ่งที่คำนึงถึงมากที่สุดคือเรื่องของต้นทุนการผลิต ซึ่งจะต้องอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดที่สามารถดำเนินการได้ การมีต้นทุนที่ถูกลงในฝ่ายผลิตจะส่งผลดีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า

ทั้งนี้ กฟผ. มีหน้าที่สำคัญในการดูแลพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งกิจการจะต้องดำเนินการไปด้วยความมั่นคง การบริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้าถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งปัญญาที่พบมาตลอดคือการถูกโจมตีด้านข้อมูลหลายครั้งต่อเดือน ทำให้การกู้คืนข้อมูลต้องใช้เวลานาน และสงผลต่อการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยงานในการส่งต่อพลังงานไฟฟ้าไปยังประชาชน

สิ่งสำคัญคือองค์กรจะต้องมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานให้เร็ว และจะต้องให้มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีระบบ หลังบ้านที่เป็นดิจิทัลเพื่อให้การป้องกันข้อมูลมีประสิทธิภาพ กฟผ.มองหาตัวช่วยในการสำรองข้อมูลและดึงข้อมูลเดิมกลับมาใช้ได้เร็วเมื่อเกิดการโจมตี

แผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล

กฟผ. มีแผนยุทธศาสตร์องค์กรในการมุ่งขับเคลื่อนการทำงานด้วยดิจิทัลตั้งแต่ปี 2562-2569 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 Electricity Innovation มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างนวัตกรรมเพื่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจหลักของกฟผ.

ยุทธศาสตร์ที่ 2 Growth for Sustainability สร้างการเติบโตรองรับอนาคตที่ยั่งยืน โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการพัฒนาหรือการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 3 Administration Excellence ปรับเปลี่ยนองค์การให้มีสมรรถนะสูงและทันการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัว

ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 4 Trust and Pride of Nation มุ่งเน้นการดำเนินงานที่โปร่งใสและเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยสร้างการยอมรับกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 5 Establish Digital Foundation พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอซีที และปลูกฝังวัฒนธรรมดิจิทัล เพื่อเป็นรากฐานในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อื่น พลิกโฉมองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

จับมือพาร์ตเนอร์กลุ่ม Tech

โดยล่าสุดได้จับมือกับ Veeam Software (Thailand) ในการนำโซลูชัน Veeam Backup & Replication เข้าช่วยในเรื่องการทำงาน และช่วยแก้ปัญหาการกู้ข้อมูลที่ถูกโจมตี พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพให้องค์กรด้วยการทำงานด้านไอทีเชิงรุก โดย Veeam มีการติดตามและรายงานผลต่อเนื่องทำให้การปกป้องข้อมูลกรณีที่เกิดปัญหา สามารถดึงข้อมูลเหล่านั้นกลับมาได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วจากเดิมอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่โซลูชันนี้สามารถกู้คืนข้อมูลภายใน 5 นาทีเท่านั้น

นอกจากนี้ ระบบยังรองรับแพลตฟอร์มที่หลากหลายสามารถรวมการสำรองข้อมูลได้ในแพลตฟอร์มเดียว ซึ่งเป็นข้อดีในด้านการลงทุน เพราะการมีแพลตฟอร์มและต้อง Backup ในแพลตฟอร์มที่ต่างกันแยกจากกันมีต้นทุนที่สูง ซึ่ง Veeam รองรับทั้ง Private และ Public รวมถึงตัว Hybrid ทำให้ต้นทุนขององค์กรในการลงทุนทางด้านดิจิทัลลดลง ซึ่งส่งผลประโยชน์ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้ใช้ไฟฟ้าในราคาที่ถูกลง อีกทั้ง Veeam มีความเป็น User Friendly ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้ระบบได้เองและเข้าใจง่าย

ส่วนในเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงาน กฟผ. เมื่อมีดิจิทัลเข้ามาช่วยทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป โดยในช่วงโควิด-19 มีการระบาดต่อเนื่ององค์กรมีการจัดให้พนักงาน work from home 60% ของพนักงานทั้งหมด ซึ่งระบบที่รองรับการทำงานลักษณะนี้ จะต้องเป็นระบบที่ปลอดภัยโดย Veeam ทำให้มั่นใจว่าระบบเหล่านั้นช่วยทำให้ work from home ของพนักงานไม่สะดุด

เจษฎา ภาสวรวิทย์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย Veeam Software (Thailand) กล่าวด้วยว่า บริษัทเลือกนำเสนอ Veeam Backup & Replication ให้กับกฟผ. ในการช่วยเรื่องปกป้องข้อมูลให้กับระบบสำคัญต่าง ๆ รวมถึงสร้างความมั่นใจ เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าให้เดินไปได้อย่างไม่ติดขัด ซึ่งในกรณีที่กฟผ.ถูกโจมตีทางโซลูชั่นนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องข้อมูล โดยสามารถสำรองข้อมูลและทำซ้ำข้อมูลได้ และกฟผ. สามารถทำงานผ่าน Discovery Site ในทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น Main site ล่ม ซึ่งโซลูชั่นนี้ทำให้ กฟผ. สามารถลดความเสี่ยงลงได้

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือบุคคล ต่างใช้ชีวิตอยู่ด้วยข้อมูล ทั้งในด้านการต่อยอดเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ และการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ work from home ต่างต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลทั้งสิ้น การปกป้องข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลสำคัญให้ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งภาพรวมของตลาดการสำรองข้อมูล มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นว่าแต่ละองค์กรให้ความสำคัญในการใช้ข้อมูลมาขับเคลื่อนธุรกิจ และเห็นความสำคัญของการปกป้องข้อมูลและการนำกลับข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้มองว่า โควิด-19 เป็นทั้งปัจจัยลบและปัจจัยบวก โดยมีปัจจัยบวกคือ องค์กรต่าง ๆ มีการเร่งทรานส์ฟอร์เมชัน และตัดสินใจที่เร็วขึ้นในการใช้เทคโนโลยีเข้ามา ส่วนในมุมของปัจจัยลบนั้นโควิด-19 ยังคงมีส่วนในการสร้างความล่าช้าให้เกิดขึ้นในบางองค์กรที่ยังมีข้อจำกัดเรื่องการลงทุนที่จะต้องทยอยการลงทุนเรื่องการปกป้องข้อมูล แต่ตลาดสำรองข้อมูลก็ยังน่าสนใจและเติบโตได้ต่อเนื่อง

เจษฎา กล่าวว่า veeam เป็นผู้นำด้านบริหารจัดการจัดเก็บข้อมูลและการกู้คืนข้อมูลที่ทันสมัยบน single platform ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรกว่า 400,000 รายทั่วโลก ซึ่ง 69% ของบริษัทชั้นนำนะดับโลกใช้โซลูชั่นของ Veeam และยังมีบริการด้าน Ecosystem ที่มีพันธมิตรกว่า 35,000 ราย และมีออฟฟิศใน 30 ประเทศ

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

3 เอกชนชั้นนำปันประสบการณ์ใช้นวัตกรรม ดันธุรกิจฝ่าวิกฤติโควิด พร้อมอยู่รอดในยุคดิจิทัล

MarTech ตัวช่วยการตลาดยุคดิจิทัล ที่มากกว่าแค่ Social Listening

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ