TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterview4 นักเรียนไทย กับรางวัล Swift Student Challenge จากงาน WWDC 2021

4 นักเรียนไทย กับรางวัล Swift Student Challenge จากงาน WWDC 2021

ทุกปีที่งาน Worldwide Developers Conference หรือ WWDC ของ Apple จะมีทุนให้กับนักเรียนที่มีความสนใจในการเขียนโค้ด ด้วยการประกวดให้น้อง ๆ นักเรียนส่งผลงานเข้าประกวดในชื่อว่า Swift Student Challenge แต่ละปีจะคัดนักเรียนจากทั่วโลก 350 คนเพื่อเข้าร่วมมงาน WWDC ที่ผ่านมาประเทศไทยมีนักเรียน 4 คนที่ชนะการแข่งขันและได้เข้าร่วม เมื่อปี 2015 และปี 2019 มีเด็กไทยชนะการแข่งขันปีละ 1 คน ปี 2020 มีเด็กไทยชนะการแข่งขัน 2 คน

แต่สำหรับปี 2021นี้ มีนักเรียนไทย 4 คนชนะการแข่งขัน ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วม WWDC นับเป็นปีที่มีเด็กไทยชนะการแข่งขันมากที่สุดเท่าที่เคยส่งเข้าประกวดมา The Story Thailand มีโอกาสได้ร่วมสัมภาษณ์พูดคุยกับน้อง ๆ ทั้ง 4 คน ถึงแนวคิดที่มาและแรงบันดาลใจ รวมถึงพัฒนาการและการฝึกฝนจนกระทั่งประสบความสำเร็จใจเวทีระดับโลกในครั้งนี้ 

Sudokuza!

อภิภูมิ ชื่นชมภู หรือ  น้องอภิ อายุ 16 ปี ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ พัฒนา Sudokuza! เข้าประกวด กล่าวว่า ตอนเข้าแข่งขันอยู่ม.4 แรงบันดาลใจในการพัฒนา Sudokuza! มาจากการการชอบเล่น Sudoku เพื่อฝึกสมอง และอยากทำเกม Sudoku ให้อยู่ใน iPad ทำด้วย Swift UI แล้วให้มี logic ที่ซับซ้อนแต่ให้ผู้ใช้เล่นได้อย่างง่ายดาย โดยใช้ Swift UI เป็นพื้นฐาน และใช้ภาษา Swift มีการใส่เสียงให้ดูสนุกขึ้น 

แรงบันดาลใจ คือ เห็นเพื่อนหลายคนไม่สนุกกับ Sudoku ที่เป็นแอปฯ เพราะรู้สึกไม่ท้าทาย เลยไปพัฒนาให้ยากขึ้นจนให้เพื่อน ๆ เล่นไม่ได้ เลยนำเอาแอปฯ นี้ส่งเข้าประกวด 

“ไอเดียตั้งต้นเริ่มจากการที่ผมเป็นคนชอบเล่นเกม sudoku มาก แต่เนื่องจากเกมที่มีอยู่นั้นมีความซับซ้อนและเล่นค่อนข้างยาก ทำให้มือใหม่หลาย ๆ คนรู้สึกไม่ชอบ ผมเลยออกแบบใหม่ ให้มีหลายระดับตั้งแต่ง่ายไปจนถึงยาก รวมทั้งออกแบบ User Interface ให้เข้าถึงได้ง่าย พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการเล่น รวมไปถึงการเพิ่มเสียงเพลงให้เกิดความเพลิดเพลินระหว่างเล่น เพลย์กราวนด์นี้เหมาะสำหรับมือใหม่ที่อยากลองเล่นเกม Sudoku ผมอยากให้เกมเข้าถึงทุกคนและสามารถเล่นกันได้เยอะ ๆ

น้องอภิ กล่าวว่า ความโดดเด่นของแอปฯ นี้ คือ มีการเขียนโค้ดที่ใช้ logic ต่าง ๆ ที่มีความแปลกใหม่กว่าการเขียนโค้ดปกติ มีการสร้างอะไรที่คิดว่า engineer ของ Apple น่าจะรู้สึกแปลกใจกับสไตล์การเขียนโค้ดของเขา และการใช้ UI ที่ให้ผู้เล่นรู้สึกว่าเล่นง่ายกว่าคนปกติ เล่นง่ายขึ้น สนุกมากขึ้น และท้าทายมากขึ้น

น้องอภิ จะนำโปรแกรมนี้ไปต่อยอดด้วยการสอนน้อง ๆ ในโรงเรียน เพราะโดยส่วนตัวน้องอภิเป็น Apple Teacher ด้วย จะไปสอนน้องว่าภาษา Swift ควรจะเขียนอย่างไร มี logic อย่างไร มีการสร้างสรรค์อะไรได้มากว่านี้ มีเทคนิคอะไรล้ำ ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้แล้วสามารถทำให้แอปพลิเคชันของน้อง ๆ ดีขึ้น

โรงเรียนที่น้องอภิเรียนใช้ iPad ในการเรียนอยู่แล้ว ตอนม.2 โรงเรียนสอนให้ใช้ Swift Playgrounds ตอนนั้นยังไม่รู้ภาษาโค้ดดิ้ง ได้เรียน Swift Playgrounds รู้สึกสนุกมาก แล้วเทอมต่อมามีอาจารย์มาสอนภาษา C อาจารย์ท่านนั้นได้ให้แรงบันดาลใจในการเขียนโค้ด ทำให้น้องอภิบอกกับตัวเองว่า จะต้องเก่งภาษา Swift ให้ได้ เพราะภาษา Swift เป็นภาษาที่ใช้กับ iPad และ Apple devices ได้ 

น้องอภิ ฝึกฝนการโค้ดดิ้งภาษา Swift ทุกวันหลังเที่ยงคืนถึงตีสาม จะอ่านเอกสาร Apple ฝึกโค้ดดิ้ง ด้วยภาษา Swift มาเรื่อย ๆ เพื่อที่จะมีผลงานที่จะออกมา และตั้งเป้าหมายว่า แต่ละเดือนจะต้องมีผลงานออกมาอย่างน้อย 1 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นผลงานเล็กหรือใหญ่อะไรก็ตาม 

“มีครั้งหนึ่งที่โรงเรียนให้ผมเป็นตัวแทนไปแข่งที่งาน Innovation of Geneva สวิตเซอร์แลนด์ ไปแข่งเกี่ยวกับหุ่นยนต์ เขียนโปรแกรมใส่ iPad ควบคุมหุ่นยนต์ ได้รับรางวัล Special Prize เป็นรางวัลพิเศษจากฮ่องกง รู้สึกภูมิใจมาก รู้สึกว่าจะเก็บไว้คนเดียวไม่ได้ ต้องแบ่งปันให้น้อง ๆ ได้รู้ด้วย จึงไปเรียนเพื่อเป็น Apple Teacher มาเปิดชุมนุมเพื่อบรรยายให้น้อง ๆ ฟังว่าต้องทำอย่างไรถึงจะได้มีโอกาสมีประสบการณ์แบบผม โดยที่น้อง ๆ ไม่ต้องไป try hard เอง ซึ่งน้อง ๆ ชื่นชอบมาก การสอนน้อง ๆ ให้สนุกกับการโค้ดดิ้ง มากกว่ารู้สึกว่าต้องมานั่งเครียด คือ แรงขับดันให้ผมพัฒนาตัวเองมาเรื่อย ๆ” น้องอภิ กล่าว

สาธิต PIM มีการใช้ iPad ในการเรียนการสอน ช่วยให้การเขียนโค้ดมาก นักเรียนรู้สึกว่าเทคโนโลยีดี สงสัยว่าแอปพลิเคชันมาได้อย่างไร สร้างอย่างไร และอยากพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมา อยากเรียนโค้ดดิ้ง ซึ่งหากต้องอยู่กับคอมพิวเตอร์ก็ไม่น่าเรียน แต่ active learning ของสาธิต PIM ทำให้การเรียนการสอนโค้ดดิ้งไม่น่าเบื่อ เด็กจะมีความสนุกในการเรียนมาก 

“ผมมจะสร้างแอปฯ ที่มีความโดดเด่นมากกว่า Sudoku ซึ่งแอปฯ Sudoku นี่ตั้งใจโชว์ความสามารถในการโค้ดิ้งของเด็กไทยล้วน ๆ ว่าเด็กไทยก็สามมารถสร้าง logic ที่คนต่างประเทศว้าว ว่า logic ใหม่ ซึ่งผมตั้งใจจะสร้าง logic ทางคณิตศาสตร์ หรือทางคอมพิวเตอร์ที่มีความโดดเด่นและได้ performance ที่ต่างจากแอปฯ อื่น ๆ รวมถึงสนุกกว่า ใช้ง่ายกว่า” น้องอภิ กล่าว

ปัจจุบันน้องอภิเป็น founder บริษัท API Development เป็น LS engineer มีแอปฯ ลง app store แล้ว ชื่อ OpenAPI เป็นแอปฯ แนว Webex ของซิสโก้ 

“OpenAPI ผมพัฒนาขึ้นหลังจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ผมต้องเรียนหนังสือทางออนไลน์ และพบว่าแอปที่มีอยู่ยังไม่ค่อยสเถียร และตรงกับความต้องการของผมมากนัก จึงพัฒนาแอปฯ ขึ้นมาใหม่เอง โดยมีจุดเด่นที่สามารถ video call และ แชท ได้จากในแอป รวมถึงสามารถตั้งเตือนให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เหมาะสำหรับการเรียนหรือการทำงานเป็นกลุ่ม ตอนนี้แอป OpenAPI ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงเรียน” น้องอภิ กล่าว

Girl Guard

ปรีณาพรรณ เสาร์เขียว หรือ น้องแก้ม อายุ 18 ปี กำลังจะเข้าศึกษาต่อที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ตอนที่ส่งผลงานเข้าประกวดเป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ชื่อ Girl Guard ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากความไม่เท่าเทียมกันทางเพศที่พบได้ทั่วโลก

น้องแก้ม พบว่าในประเทศไทยเกิดการล่วงละเมิดทางเพศอยู่บ่อยครั้ง และมักเกิดขึ้นในที่สาธารณะ โดยมีเหยื่อเพียง 28% เท่านั้นที่กล้าแจ้งความหรือเล่าให้ผู้ปกครองฟัง แก้มจึงพัฒนา Girl Guard ขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงทุกคน 

แอปพลิเคชันจะเน้นไปที่การถูกคุกคามทางเพศ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ค่อนข้างมาก ในจำนวนผู้หญิงที่ถูกคุกคามทางเพศ มีน้อยมากที่กล้าที่จะออกมาต่อต้าน หรือแจ้งตำรวจ หรือขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เพราะว่าอาย ไม่สามารถพูดกับคนอื่น ๆ ได้ การถูกคุกคามทางเพศเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรจะเกิดไม่ว่ากับผู้หญิงคนไหน จึงอยากสร้างแอปพลิเคชันนี้ขึ้นมา 

บนเพลย์กราวนด์นี้จะมี 2 ฟีจเจอร์ คือ Trustworthy Friend ลักษณะจะเหมือนกับ Fake Call ที่จะมีเสียงบทสนทนาปลอมไว้คุยด้วยขณะเดินทางคนเดียวโดยรถสาธารณะ และ Fight like a girl! หรือเสียงไซเรนที่ช่วยขอความช่วยเหลือหากตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง 

“Fight like a girl! ใช้เมื่อขึ้นรถสาธารณะแล้วโดนคุกคามทางเพศ ก็จะกดปุ่มในแอปฯ จะมีเสียงไซเรนดังขึ้นมา จะทำให้คนรอบข้างหันมาสนใจ คนที่คุกคามทางเพศจะได้หยุด ส่วน Trustworthy friend ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ส่วนตัว คือ เวลาไปนั่งรถไปเรียนพิเศษคนเดียว คุณแม่บอกว่าให้โทรหาแม่ตลอด ว่าอยู่ตรงไหนแล้ว แต่บางครั้งที่คุณแม่ไม่ว่างไม่รู้จะโทรหาใคร เลยสร้างฟีเจอร์นี้ขึ้นมา เพื่อให้คุยกับ Bot ได้ “ น้องแก้ม กล่าว

น้องแก้ม บอกว่า จากการแข่งนี้ ได้รับประสบการณ์มากมาย ได้เรียนโครงการผลิตแพทย์นักวิทยาการข้อมูล ในอนาคตตั้งใจจะตั้งใจพัฒนาความสามารถในการโค้ดไปในแนวทางนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อใช้ในวิชาชีพตัวเองและพัฒนาการแพทย์และด้านอื่น ๆ ต่อไป

“ก่อนที่จะส่งงานเข้าประกวด มีความรู้โค้ดดิ้งมาบ้างที่เรียนที่โรงเรียน แต่ตอนม.6 มีโอกาสเข้าค่ายที่สอนภาษา Swift UI เลยได้นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานชิ้นนี้ สิ่งที่ท้าทายที่สุดของงานชิ้นนี้ คือ การคิดแนวคิดของงาน เพราะการแข่งขันเน้นงานที่ช่วยเหลือคนอื่น เป็นงานที่มีผลกระทบต่อสังคม” น้องแก้ม กล่าว

Nature Disaster

นัธทวัฒน์ เขมัษเฐียร หรือน้องไช้ อายุ 17 ปี ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวารี เชียงใหม่ กล่าวว่า Playground ที่ส่งเข้าประกวด คือ Nature Disaster คือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติที่มักจะเกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติตัวหากประสบภัยพิบัติ โดยให้ข้อมูลทั้งในรูปแบบของตัวอักษรและเสียง 

“จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นจากการที่ผมสังเกตเห็นว่าประเทศไทยมีอากาศแปรปรวนบ่อย และผมอยากพัฒนาผลงานที่ช่วยให้คนระมัดระวังกันมากขึ้น ผมใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการสร้างผลงานชิ้นนี้ และตั้งใจว่าในอนาคตอยากจะเชื่อมต่อข้อมูลกับกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อให้สามารถส่งแจ้งเตือนให้คนในแต่ละพื้นที่ได้” น้องไช้ กล่าว

Unzheimer

ศรีศุภดิตถ์ รัตนประเสริฐ หรือน้องนาย อายุ 17 ปี ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวารี เชียงใหม่ ซึ่งผลงานที่ส่งเข้าประกวด ชื่อ Unzheimer กล่าวว่า แรงบันดาลใจในการสร้างผลงานเกิดจากการที่อาศัยอยู่กับคุณย่าและพบว่าคุณย่ามักทำของหายหรือหาของไม่เจออยู่บ่อย ๆ จึงอยากพัฒนาผลงานที่จะช่วยบันทึกที่ตั้งของสิ่งของต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยจำในอีกทางหนึ่ง 

“โดยเราสามารถบันทึกที่ตั้งของสิ่งของแต่ละชิ้นไว้ที่ Unzheimer ได้ ผมอยากเข้าร่วมงาน WWDC เพื่อนำความรู้จากวิศวกรของ Apple ไปพัฒนาผลงานต่อเพื่อให้การทำงานต่าง ๆ ดียิ่งขึ้น” น้องนาย กล่าว

จากนักเรียนสู่นักพัฒนา

น้องอภิ บอกว่า ที่สนใจให้มาเขียนโปรแกรม เพราะอินเทอร์เน็ต ตอนม.1 ไปเจอคลิปสอนเกี่ยวกับโปรแกรม เลยศึกษาภาษาโค้ดดิ้งหลาย ๆ ภาษา ประกอบกัยที่โรงเรียนมีการสอนด้วย ยิ่งชอบ 

การจะมาเป็นนักพัฒนาไม่ได้ยากแต่ก็ไม่ได้ง่าย ซึ่งประการแรก ครอบครัวต้องเข้าใจ เพราะเวลาที่เขียนโค้ด จะต้องมีเวลากับคอมพิวเตอร์ บางครอบครัวไม่เข้าใจจะคิดว่าเล่นเกม รวมถึงสังคม สภาพแวดล้อม และเพื่อน สำหรับ น้องอภิ ซึ่งเรียนไม่ได้เก่งเท่าเพื่อน แต่อยากจะเก่งกว่าเพื่อนสักอย่าง เลยลองเขียนโค้ดและพบว่ามีอะไรเก่งกว่าเพื่อนสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกัน 

ตัวเราสำคัญมาก ในการเขียนโค้ด เพราะต้องมีการฝึกฝนพยามทำสิ่งนั้นให้สำเร็จออกมา 

น้องแก้ม ส่งประกวดตอนอยู่ม. 6 ซึ่งคนทั่วไป อ่านหนังสือเรียนพิเศษ เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย แต่น้องเลือกที่จะมาทำโค้ดดิ้ง ซึ่งการที่จะเรียนอะไรสักอย่างได้ดี ควรจะต้องมีความสนุกด้วย เพื่อน ๆ ในรุ่นมีความรู้สึกว่าการโค้ดดิ้งยาก แต่พอตัวเองได้ลองทำก็ไม่ยาก การที่จะทำให้นักเรียนมาโค้ดดิ้ง จะต้องทำให้การโค้ดดิ้งสนุกและอยากทำ 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ