TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyหัวเว่ย สนับสนุนค่าย Super AI Engineer มุ่งพัฒนานวัตกร/วิศวกร/นักวิจัย/วิสาหกิจ

หัวเว่ย สนับสนุนค่าย Super AI Engineer มุ่งพัฒนานวัตกร/วิศวกร/นักวิจัย/วิสาหกิจ

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าสานต่อความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัลและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ สนับสนุนเทคโนโลยีคลาวด์ให้แก่ “โครงการพัฒนานวัตกร/วิศวกร/นักวิจัย/วิสาหกิจเริ่มต้น ด้านปัญญาประดิษฐ์” หรือ “สุดยอดวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer)” ที่จัดขึ้นโดยสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Association of Thailand: AIAT) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โครงการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนประเทศในอนาคต จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ด้วยความร่วมมือจากเครือข่ายสมาชิกสมาคมจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่า 40 แห่งเพื่อพัฒนาบุคลากรไทยอย่างต่อเนื่อง  

ศ.ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง หัวหน้าโครงการพัฒนานวัตกร-วิศวกร-นักวิจัย-วิสาหกิจเริ่มต้น ด้านปัญญาประดิษฐ์ กล่าวว่า “บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด สามารถส่งมอบบริการคลาวด์ ระบบและแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมโครงการของเราได้เรียนรู้และใช้งานได้จริง พัฒนาตนเองได้จากการใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ย พร้อมทั้งได้รับประโยชน์จากการใช้งานฮาร์ดแวร์ GPU ของหัวเว่ย โครงการนี้จึงเปรียบเสมือน Sandbox ด้านการผลิตและยกระดับศักยภาพของบุคลากร เพราะเรารวบรวมคนที่มีความสามารถและสนใจในเทคโนโลยีจากที่ต่าง ๆ มารวมกัน เรามีแนวคิดพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยอาจกลายเป็นเสือธุรกิจตัวที่ 4 หรือ 5 ในอนาคตได้”

ด้านสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีฝ่ายแผนกธุรกิจคลาวด์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความร่วมมือในโครงการครั้งนี้ว่า “หัวเว่ยได้สนับสนุนเทคโนโลยีคลาวด์อย่างครบวงจร  ทั้งในด้านหลักสูตรอบรม การใช้เครดิตของหัวเว่ย คลาวด์ และการใช้บริการคลาวด์สาธารณะของหัวเว่ย ทั้งนี้ ประเทศไทยนับเป็นตลาดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของหัวเว่ย เราจึงมุ่งมั่นสนับสนุนโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างต่อเนื่องในหลายด้านสำหรับตลาดประเทศไทย”

ด้านสัตยา สิงห์กุล อีกหนึ่งผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในปีที่ 1 ที่กลับมาเป็นเจ้าหน้าที่ประจำโครงการยังได้กล่าวเสริมว่าปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์เริ่มมีบทบาทมากขึ้น เราเห็นว่าปัญหาที่พบบ่อยคือการกลั่นแกล้งทางสังคม (Social Bullying ) หรือการแชร์ข่าวปลอม (Fake news) แชร์ลูกโซ่ อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาคัดกรองสิ่งเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก (Big Data) ดังนั้น วิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ดีที่สุดคือการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้

เขายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยที่มีระบบเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทย จะสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วกว่าคลาวด์ของผู้ให้บริการอื่น และถูกต้องตามกฎหมายไทย ทำให้ไม่ต้องกังวลในระหว่างทำงานว่าสิ่งที่อัพโหลดจะผิดกฎหมายข้อใดหรือไม่

โครงการพัฒนานวัตกร/วิศวกร/นักวิจัย/วิสาหกิจเริ่มต้น ด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ สุดยอดวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer) นี้นับเป็นการตอกย้ำความสำคัญของการร่วมมือของทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ที่ต่างมีพันธกิจร่วมกันในการมุ่งนำประเทศไทยเข้าสู่สังคมดิจิทัล ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยที่ต้องการเติบโตไปพร้อมกับประเทศไทยและสนับสนุนช่วยเหลือประเทศไทย เพื่อร่วมมือกันสร้างอีโคซิสเต็มของภาคอุตสาหกรรมเพื่อสังคมอัจฉริยะที่เชื่อมต่ออย่างไร้ที่ติในอนาคตอย่างสมบูรณ์แบบ

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไซเบอร์ อีลีท ผนึก เมนโล ซีเคียวริตี้ เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ ชิงผู้นำตลาด Cloud Security ไทย

ไมโครซอฟท์ สร้างทักษะดิจิทัลแก่แรงงานไทยทะลุเป้า 280,000 ในปี 64 ตั้งเป้าอบรมเพิ่มอีก 180,000 คน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ