TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyไบโอเทค สวทช. พัฒนาวัคซีนรวม สำหรับสุกรในเข็มเดียว 
ป้องกัน ไวรัส นิปาห์-พีอาร์อาร์เอส

ไบโอเทค สวทช. พัฒนาวัคซีนรวม สำหรับสุกรในเข็มเดียว 
ป้องกัน ไวรัส นิปาห์-พีอาร์อาร์เอส

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) พัฒนาวัคซีนและศึกษาภูมิคุ้มกันของสุกรต่อวัคซีนต้นแบบที่สามารถใช้ป้องกันทั้งไวรัสนิปาห์ (Nipah virus) และไวรัสพีอาร์อาร์เอส (PRRS virus) ได้ในเข็มเดียวเพื่อลดความสูญเสียจากโรคระบาดร้ายแรงในปศุสัตว์ที่สามารถแพร่สู่คนได้พร้อมทั้งเสริมสร้างระบบป้องกันและควบคุมโรคระบาดต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมปศุสัตว์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ (Nipah) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ (emerging disease) ซึ่งสามารถแพร่ระบาดติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้ โดยมีแหล่งรังโรคคือ ค้างคาวผลไม้ แต่สัตว์ที่สามารถติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้ คือ สุกร สุนัข แพะ แมว ม้า และแกะ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะโรค และสามารถติดต่อมาสู่คนได้จากการสัมผัส หรือรับประทานวัตถุที่ปนเปื้อน ปัสสาวะ อุจจาระ หรือน้ำลาย ของสัตว์ที่ติดเชื้อ

โดยเฉพาะสุกรซึ่งเป็นสัตว์ที่สามารถติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้ง่ายที่สุด เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงในสุกร และการติดเชื้อไข้สมองอักเสบในมนุษย์ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

มีรายงานการแพร่ระบาดครั้งร้ายแรงที่สุดในประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2541-2542 โดยพบผู้ป่วยเกือบ 300 ราย และเสียชีวิตมากกว่า 100 ราย นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของมาเลเซียเป็นอย่างมาก โดยทางการมาเลเซียมีการสั่งทำลายสุกรกว่า 1.2 ล้านตัว หรือประมาณร้อยละ 50 ของสุกรทั่วประเทศ 

ดร. นันท์ชญา วรรณเสน นักวิจัยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันทั้งสำหรับปศุสัตว์และมนุษย์  ในขณะที่วัคซีน PRRS (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) มีใช้อย่างแพร่หลายและมีความปลอดภัยในการนำไปใช้ในสุกร ทางทีมวิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำวัคซีน PRRS ไปพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถนำส่งโปรตีนแอนติเจนของไวรัสนิปาห์ เพื่อใช้เป็นวัคซีนรวมที่สามารถป้องกันได้ทั้งไวรัสนิปาห์ และไวรัส PRRS ในเข็มเดียว (bivalent vaccine) 

ดร. นันท์ชญา ให้ข้อมูลต่อว่า โครงการวิจัยนี้คณะวิจัยไบโอเทค ได้ทำงานร่วมกับ Prof. Simon Graham และ Dr. Rebecca McLean จาก The Pirbright Institute (TPI) สหราชอาณาจักร ในการศึกษาภูมิคุ้มกันของสุกรต่อวัคซีนต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ โดยทีมวิจัยไบโอเทคได้ใช้ความเชี่ยวชาญในการตัดต่อพันธุกรรมไวรัส PRRS และได้วางแผนร่วมกับทีมวิจัยจาก TPI ในการทดสอบคุณสมบัติของไวรัส PRRS เพื่อใช้เป็นเวกเตอร์ไวรัส (viral vector) ที่สามารถนำส่งโปรตีนของไวรัสนิปาห์ เพื่อใช้เป็นวัคซีนรวมสำหรับป้องกันโรค
ทั้ง 2 โรคได้

โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก The Transnational Access Activities (TNA) : Veterinary Biocontained Facility Network (VetBioNet) เป็นมูลค่า 61,350 ปอนด์ (2,504,000 บาท) โดยสนับสนุนการทดสอบวัคซีนในสุกรในห้องปฏิบัติการวิจัย high containment laboratory ซึ่งใช้สำหรับการวิจัยและทดลองเกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคและสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่ Animal and Plant Health Agency, UK และการเข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ