TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewQueQ ชูกลยุทธ์ Social Distancing Enabler ลุยตลาดใหม่

QueQ ชูกลยุทธ์ Social Distancing Enabler ลุยตลาดใหม่

QueQ เป็นสตาร์ตอัพที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 โดยตรง เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารที่อยู่ในห้าง เมื่อเกิดล็อคดาวน์และห้างสรรพสินค้าถูกปิดชั่วคราว ยอดการใช้งานลดลง ทำให้ต้องเร่งปรับบริการเพื่อรองรับพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น บริการซื้อกลับบ้านหรือ การส่งอาหาร

รังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO & Co-Founder บริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด (QueQ) กล่าวกับ The Story Thailand ว่า โควิด-19 เป็นทั้งวิกฤติและโอกาส ในช่วงโควิด-19 QueQ มีการโยกย้ายพนักงานบางส่วน รวมถึงตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก ชะลอการลงทุน เพื่อให้มีรันเวย์ที่ยาวมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เข้าถึงตลาดใหม่ได้ง่ายขึ้น เพราะหลายพื้นที่ต้องสร้างระยะห่างทางสังคม เช่น อุทยานแห่งชาติ ต้องการจำกัดคนเข้าพื้นที่ตามขนาดของแต่ละอุทยาน สามารถใช้ QueQ จองเข้าพื้นที่ได้ ทำให้วางแผนเที่ยวได้

และในวันที่ 10 กรกฎาคม นี้ จะมีโซลูชั่นที่ QueQ พัฒนาให้ตลาดสดที่ จ.เชียงใหม่ และอาจจะขยายไปใช้กับตลาดสดในภาคเหนือ 8 จังหวัด ระบบจะเข้ามาช่วยบริหารตลาดที่มีความหนาแน่น โดยเทศบาลใช้ระบบเข้าไปบริหารจัดการร่วมกันกับผู้บริหารตลาด และมีบริการ Drive-Thru คือ คนที่ซื้อของไม่จำเป็นต้องเข้าไปในตลาด แต่จะมีคนนำของมาให้ (Runner) เพียงแค่ซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน QueQ

ด้านตลาดจะต้องปรับตัวหลายอย่าง อย่างแรกคือ ราคาที่อาจจะไม่เท่ากันก็ต้องทำราคาให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถหางานพาร์ทไทม์ให้นักศึกษาในพื้นที่เข้าไปช่วยเป็น Runner โดยมีรายได้รายวันและค่าวิ่งต่อรอบ เป็นรายได้ 2 ทาง

“โดยจะเริ่มกับตลาดหน้าประตูเมืองเชียงใหม่ก่อน จากนั้นค่อยขยายไปตลาดอื่น ซึ่งระบบของเราสามารถติดตั้งและใช้ได้ภายในวันเดียว”

รังสรรค์ กล่าวต่อว่า ทั้งหมดนี้เป็นแผนของบริษัทอยู่แล้ว เพียงแต่เริ่มต้นจากร้านอาหารก่อนที่จะขยายมาธนาคาร และโรงพยาบาล แต่เมื่อแพลตฟอร์มพร้อมก็สามารถขยายไปในธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งวิกฤติรอบนี้เข้ามาเร่งให้แผนเสร็จได้เร็วขึ้น ส่วนที่เหลือคือการทำตลาดและสร้างผลกระทบให้มากที่สุด

“ปัจจุบันเรามีผู้ใช้อยู่ที่ 2 ล้านกว่าคน คาดว่าจากการขยายตลาดรอบนี้จะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นไปถึง 4 ล้าน”

ตั้งเป้าเป็น Social Distancing Enabled

รังสรรค์ กล่าวว่า ฟีเจอร์หลักของ QueQ ตอบโจทย์ธุรกิจได้ ขั้นต่อไปจะเป็นการพัฒนาฟีเจอร์ย่อย เช่น การร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติ จะต้องเก็บข้อมูลมากขึ้น เพื่อให้ดูรายงานได้ สามารถส่งข้อมูลบางอย่างให้กับภาครัฐได้

ข้อมูลที่ส่งกลับไปให้ภาครัฐ สามารถนำไปใช้วางแผนและเตรียมทีมงานเข้ามารับมือในแต่ละพื้นที่ให้เพียงพอกับนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประโยชน์กับประชาชน

ทั้งนี้ข้อมูลส่วนบุคคล QueQ ไม่ได้เป็นผู้เก็บไว้ และภาครัฐสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ ซึ่งบริษัทมีดีป้า (depa) เป็นหน่วยงานรัฐที่เข้ามาถือหุ้นกับ QueQ

“การเข้าไปอยู่ในธุรกิจใหม่จะเป็นการนำแกนกลางของแอปฯไปปรับให้เหมาะสมกับพื้นที่ ทำให้ใช้งานง่ายขึ้นและแต่ละพื้นที่ได้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มมากขึ้น”

สวมหมวก SME เน้นกำไร

รังสรรค์ กล่าวว่า ประเทศไทยโชคดีมากที่สถานการณ์คลี่คลายได้เร็ว เมื่อห้างเปิด บริการต่าง ๆ ของ QueQ กลับมาใช้ได้เหมือนเดิมในช่วงที่คนต้องรักษาระยะห่างในร้านต่าง ๆ

ร้านตัดผม สปา และคลินิค มีการปรับโมเดลบางอย่างและเปิดให้บริการได้ ด้านโรงพยาบาลที่คนไม่อยากจะไปแออัด รวมถึงอุทยานแห่งชาติ ที่ต้องรักษาเรื่องความหนาแน่น สามารถใช้ QueQ จองเวลาเข้าได้

ด้านผลกระทบอีกด้านหนึ่ง คือ กลุ่มทุนต่างชะลอการลงทุนกันหมด จากเดิมคาดว่าจะปิดการลงทุนรอบใหม่ในเดือนมิถุนายน แต่กลุ่มทุนหลาย ๆกลุ่มที่คุยอยู่ต่างชะลอการตัดสินใจ ซึ่งนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนก็จะสามารถเข้ามาเติมในพอร์ตได้เรื่อย ๆ เมื่อนักลงทุนเข้ามาเต็มก็จะปิดรอบและเปลี่ยนสัญญาให้เป็นหุ้น

ในส่วนตลาดต่างประเทศที่ชะลอการลงทุน ก็ค่อนข้างเสียดาย แต่เมื่อแผนเปลี่ยนการลงทุนในต่างประเทศก็ต้องค่อย ๆ ไป

“บริษัทปรับกลยุทธ์เน้นการสร้างกระแสเงินสดเป็นหลัก ซึ่งเป็นแผนที่เอาหมวก SME มาใส่แทนสตาร์ตอัพ เป็นแผนที่ทำกำไร”

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
ทรงกลด แซ่โง้ว – เรียบเรียง

บทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ไมโครซอฟท์ พร้อมช่วยธุรกิจไทยฝ่าวิกฤติโควิด-19
-FinGas ทรานส์ฟอร์มร้านแก๊ส สร้างอีโคซิสเต็มส์ผู้ใช้แก๊ส
-LINE ตอกย้ำ บทบาท Beyond Super App ดันชีวิตคนไทย Life on LINE
-“ดิจิทัลพีอาร์” ฉลาดสื่อสาร เข้าใจคน-เทคโนโลยี
-“สมคิด จิรานันตรัตน์” ชูแนวคิด Thailand Digital Platform ช่วยขับเคลื่อนประเทศ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ