TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterview“นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ” ผู้ก่อตั้ง Conicle กับความท้าทายใหม่ บนเส้นทางการศึกษาของประเทศไทย

“นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ” ผู้ก่อตั้ง Conicle กับความท้าทายใหม่ บนเส้นทางการศึกษาของประเทศไทย

โลกที่พัฒนาและก้าวไปอยู่เสมอ รวมถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คนทั่วโลก ภาคการศึกษาเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วยกัน และอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล 

Conicle สตาร์ตอัพสายการศึกษาปักธงเป็นส่วนหนึ่งของการปรับทิศทางอนาคตของการศึกษาจะต้องเปลี่ยนจากการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยี จากพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนไป และจากการเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมจากการศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

แม้เส้นทางการเรียนไม่ได้มาสายเทคโนโลยี นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ หรือปูน จบเอกโลจิสติกส์ คณะบัญชี จากจุฬาลงกรณ์ฯ และเริ่มต้นชีวิตการทำงานในส่วนงานพัฒนาธุรกิจที่บริษัทเอสซีจีที่ที่ทำให้เขาค้นพบความชอบและเชื่อในผลกระทบของเทคโนโลยี ความชอบส่งต่อให้เขาไปทำงานที่บริษัทซอฟต์แวร์ของคนไทยแห่งหนึ่งที่มีความเก่งกาจและชื่อเสียงในยุคนั้นนั่นคือบริษัท CT Asia

เขารับผิดชอบผลิตภัณฑ์และการตลาด พอได้สัมผัสงานด้านการตลาดทำให้เขาไปต่อในสายงานนี้ที่บริษัท 2 3 Perspective บริษัทดิจิทัลเอเจนซี่ และที่นี่เขาได้รู้จักและสัมผัสกับงานด้านเว็บไซต์อย่างลึกซึ้ง 

ระหว่างนั้นเองวงการสตาร์ตอัพในไทยเริ่มก่อกำเนิดและเขาก็รู้สึกตื่นเต้นจนต้องออกมาทำสตาร์ตอัพของเขาเอง ด้วยความชอบเรื่องธุรกิจและเชื่อว่าเทคโนโลยีจะมาเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คน สตาร์ตอัพสายเทคฯ จึงเป็นคำตอบ เพราะมองเห็นโอกาสที่จะหนุนส่งความชอบให้กลายเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างผลกระทบให้กับผู้คนได้ และแล้ว Conicle ก็ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา

Conicle ให้บริการ 2 ตลาด คือ ตลาดการศึกษากับตลาดหลักองค์กร สำหรับตลาดการศึกษามีบริการแพลตฟอร์มการเรียนรู้ส่วนตลาดองค์กรให้บริการ Professional Learning สำหรับการรีสกิลและอัพสกิล โดยยึดหลักว่าเรียนอย่างไรให้สนุกและไม่น่าเบื่อ ลูกค้าหลักเป็นองค์กรใหญ่ อาทิ เอไอเอส ปตท. ซีพีออล และซีพีเอฟ เป็นต้น ซึ่งโควิด-19 เป็นตัวเร่งการเปิดรับการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มอย่างมากทั้งสองตลาด 

นกรณ์ พฤกษ์พิพัฒน์เมธ CEO และ Co-Founder ของ Conicle กล่าวกับ The Story Thailand ว่า ก่อนที่จะมาถึงรูปแบบธุรกิที่ให้บริการการศึกษาผ่านแพลตฟอร์มอย่างในปัจจุบันแม้จะเริ่มต้นจากความอยากที่จะทำสตาร์ตอัพด้านการศึกษาเพราะอยากจะสร้างผลกระทบต่อคนในวงกว้าง แต่ก้าวแรกของ Conicle ก้าวไปในเส้นทางธุรกิจที่คิดในตอนนั้นคือทำติวเตอร์ออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนในต่างจังหวัดสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนพิเศษที่กระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้ รูปแบบธุรกิจนั้นตอบโจทย์ความมต้องการ คือ เด็กต่างจังหวัดได้เรียนพิเศษกับอาจารย์ดัง ๆ แต่ทว่าไม่ตอบโจทย์ธุรกิจ เพราะรูปแบบธุรกิจเช่นนี้เป็นฤดูกาล คือ พอนักเรียนสอบเสร็จก็ไม่สามารถขายบริการได้ทำให้รายได้ขาดเป็นช่วง ๆ 

เขากับทีมจึงกลับมาทบทวนรูปแบบธุรกิจกันใหม่และพบว่าไม่ควรฝากไข่ไว้ในตระกร้าใบเดียว และเป็นใบที่มีความเสี่ยงสูงนั่นคือการทำตลาด B2C เขาจึงปรับรูปแบบธุรกิจ (pivot) มาสู่การจับตลาดลูกค้าองค์กรที่มีจำนวนพนักงานมากแทน เข้าไปช่วยปรับรุงกระบวนเรียนรู้การเทรนนิ่งพนักงานให้ขึ้น Conicle จึงปรับเปลี่ยนจากติวเตอร์มัธยมต้นและปลายมาสู่การให้บริการ Professional Learning ในองค์กร 

เมื่อเริ่มต้นเดินบนเส้นทางที่เลือกใหม่ก็ได้รับการรับการตอบรับทั้งจากลูกค้าและนักลงทุนและเข้าสู่สตาร์พอัพเต็มตัว รับเงินลงทุนจาก Humanica และ TukTuks นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้รองรับผู้ใช้จำนวนมากและมีขนาดใหญ่ขึ้น จนปัจจุบันมีลูกค้าองค์กร 70 ราย 

และได้ขยับขึ้นเป็นสตาร์ตอัพ Series A จากอินทัชอีก 3  ล้านเหรียญฯ ปัจจุบันบริษัทมีพนักงาน 100 กว่าคน ส่งผลให้ต้องทำโครงสร้างองค์กรใหม่ และขยายผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงขยายธุรกิจต่อยอดจากการให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับ Professional Learning ออกต่างประเทศโดยตั้งเป้าหมายว่าจะขยายธุรกิจ Conicle สู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้

สิ่งที่จะต้องทำในปี 2022 คือ การเติมคน พัฒนาโปรดักส์เพิ่ม และขยายฐานลูกค้า เพื่อให้เป็นผู้นำในตลาดประเทศไทย และจะระดมทุน Series B เพื่อขยายผลิตภัณฑ์และบริการไปยังตลาดต่างประเทศได้แก่ เวียดนาม  อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย

นอกจากนี้ Conicle ยังมีแผนขยายขอบเขตความสามารถของการเรียนรู้สู่ทุกคน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจเพิ่มความสามารถปรับทักษะสามารถเลือกได้ตามความต้องการผ่านแพลตฟอร์มการศึกษาที่เรียกว่า ConicleX ที่พัฒนามาด้วยแนวคิดของการเป็น Netflix ด้านการศึกษา เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ที่บรรจุคอร์สเรียนรู้จำนวนมาก ปัจจุบันมีกว่า 300 คอร์ส  ซึ่งปัจจุบันยังจำกัดการให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรเท่านั้นยังไม่ได้เปิดตลาดสำหรับบุคลลทั่วไป แต่เร็ว ๆ จะขยายบริการนี้สู่ตลาดเอสเอ็มอี

ปัจจุบัน Conicle ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับ Professional Learning แก่ผู้เรียนไปมากกว่า 500,000 คน ส่วนแพลตฟอร์ม ConicleX นั้นมีผู้เข้ามมาเรียนรู้แล้วประมาณ 50,000 คน

ต้องการเป็นโครงสร้างพื้นฐานการศึกษาระดับประเทศ

แม้ว่าในเชิงธุรกิจ นกรณ์ ตั้งเป้าว่าจะนำ Conicle เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ IPO เพื่อต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบริษัทเทคน รุ่นใหม่ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ของประเทศภายใน 10 ปีข้างหน้า แต่ทว่าในเชิงของผลกระทบของธุรกิจเขาตั้งเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น เขาต้องการสร้างให้ Conicle เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาของประเทศเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถตามความสนใจเพื่อต่อยอดพัฒนาชีวิตได้

“ในอนาคตการเรียนรู้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน ดังนั้นโจทย์ของเราคือทำอย่างไรให้การเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี คือผู้เรียนได้ทั้งทักษะความรู้และความสนุกสานไม่น่าเบื่อ” นกรณ์ กล่าว

เขาบอกว่า การเรียนรู้หลาย ๆ วิธีนำมาซึ่งเรื่องของกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ในอนาคตจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่ทุกคนจะต้องเรียนเหมือนกัน ไปสู่ความหลากหลายของแขนงความรู้และสาขาวิชา ตามความชมสนใจและความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นคู่ขนานไปกับการปรับเปลี่ยนชุดความมคิดเรื่องการเรียนรู้ การให้ค่าและคุณค่ากับการเรียน รวมถึงใบปริญญาและประกาศณียบัตรต่าง ๆ ซึ่ง Conicle จะเป็นส่วนหนึ่งบบนเส้นทางของการเปลี่ยนผ่านนี้ เพื่อช่วยนำพาทั้งองค์กรและผู้คนในฐานะปัจเจกฝ่าข้ามการทรานส์ฟอร์มได้อย่างสำเร็จ

“ตลาดการศึกษาไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ในมือของผู้เล่นหน้าเก่าหรือมหาวิทยาลัยอีกต่อไป วันนี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศและแม้แต่ในประเทศไทยเองที่บริษัทเทคโนโลยีตั้งแคมมปัสให้การเรียนรู้และให้ใบประกาศณียบัตรรวมถึงประกาศมาตรฐานหลักสูตรที่ทำให้บริษัทไอทีต่าง ๆ ยอมรับคนที่จบไปเข้าทำงาน”  นกรณ์ กล่าว

อีกโมเดลคือองค์กรเอกชนที่องค์ความรู้จำนวนมากจะมีแคมปัสของตัวเอง และแคมปัสนั้นจะเป็นแนวคิดมหาวิทยาลัยเปิด (Open University) ที่ให้ใคร ๆ ก็สามารถเข้ามาเรียนได้ ผ่านแพลตฟอร์ม เมื่อสำเร็จการศึกษาได้ใบรับรอง ก็อาจจะรับการพิจารณาให้เข้าไปทำงานที่บริษัทนั้นได้ ด้วยแนวคิดนี้นกรณ์ กล่าวว่า Conicle จะเข้าไปเป็นพันธมิตรหลักในการสนับสนุนและจับมือทำงานร่วมกับองค์กรเหล่านี้

นกรณ์ กล่าวว่า ตลาดการศึกษาเป็นตลาดที่มีความคึกคักมากช่วงโควิด มีผู้เล่นรายใหม่ (EdTech Startup) จำนวนมาก เพราะทุกคนมองเห็นโอกาส แต่ทั้งนี้การเรียนออนไลน์เป็นขั้นแรกของ EdTech ทั้งนี้ สตาร์ตอัพสายการศึกษาสามารถสร้างประโยชน์ให้กับการศึกษาได้อีกมากผ่านความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีความแข็งแกร่งทั้งเรื่องหลักสูตรและทรัพยการด้านการศึกษา อาทิ Conicle จับมือกับ คณะบัญชีฯ จุฬาลงกรณ์ฯ เปิดโอกาสให้คนบนดอยภาคเหนือมาเรียนได้ผ่านแพลตฟอร์ม

“แรงบันดาลในการทำสตาร์ตอัพด้านการศึกษาจึงผสมปนกันระหว่างความชอบในเทคโนโลยีและความต้องการที่จะสร้างผลกระทบในวงกว้างที่สามารถสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างการเติบโตแบบธุรกิจสตาร์ตอัพได้ด้วย ตลอดเส้นทางที่ผ่านมาเราเรียนผิดเรียนถูก ปรับปรุงแก้ไขทั้งเรื่องแนวคิดธุรกิจและเทคโนโลยี เรามั่นใจที่จะเติบโตไปพร้อมกับตลาดที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และเรามั่นใจว่าจะสามารถสร้างผลกระทบได้จริงตามที่เราหวังอย่างแน่นอน” นกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
ศศิธร จันทศร – เรียบเรียง

บทสัมภาษณ์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ กับ บทบาทของ “สถาบันไทยพัฒน์” เรื่อง “ความยั่งยืน”

‘มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ’ กับเป้าหมาย ทำให้ชีวิตคนไทยดีขึ้นด้วยแพลตฟอร์ม

รู้จัก “Blockdit” แพลตฟอร์มสำหรับคนเสพคอนเทนต์ตัวยง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ