TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyCDC Team ... โปรแกรมเมอร์จิตอาสา พัฒนาระบบ Home Isolation

CDC Team … โปรแกรมเมอร์จิตอาสา พัฒนาระบบ Home Isolation

เนื่องด้วยปริมาณผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ต่อวันเพิ่มขึ้นไปแตะ 20,000 คน และอาจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารสุขของโรงพยาบาลได้ กลุ่มคนไอทีในประเทศไทย (IT professional) นำทีมโดย ไชยเจริญ อติแพทย์ President สมาคม ASEAN CIO Association (ACIOA) ริเริ่มและชวนคนไอทีทั้งภาครัฐและเอกชนมาทำงานด้วยกัน ภายใต้ชื่อกลุ่ม Covid-19 Digital Conqueror หรือ CDC Team 

อโณทัย เวทยากร หนึ่งในคณะทำงานของกลุ่ม CDC Team กล่าวกับ The Story Thailand ว่า CDC Team คือโปรแกรมเมอร์จิตอาสา ที่ร่วมกันพัฒนาระบบ Home Isolation ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดที่ยังไม่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล (กลุ่มผู้ป่วยสีเขียวและสีเหลืองอ่อน) โดย CDC Team ทำหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุน รับผิดชอบระดมโปรแกรมเมอร์จิตอาสามาพัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการ home isolation โดยชื่อโค้ดเนมแอปพลิเคชัน คือ EAP (Emergency Assistant COVID-19 Patient)

กลุ่ม  CDC Team นี้เข้าไปสนับสนุน “โครงการอยู่บ้านปอดปลอดภัย” นำโดยมูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี และศูนย์กู้ชีพนเรนทร สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในการทำ home isolation โดยมีโจทย์ คือ ทำอย่างไรให้ใช้ได้จริงแบบครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถีนำเครื่องเอ็กซเรย์ไปตั้งตามจุดต่าง ๆ 6 จุด ในกรุงเทพฯ ผู้ป่วยที่ติดโควิด ทราบผลจาก RT-PCR อย่างน้อย 2 วันขึ้นไป จะสามารถมาเข้าระบบด้วยการสแกน QR Code หรือโทรเข้า call center ของกลุ่มโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อลงทะเบียนผู้ป่วย และระบบจะทำการนัดหมาย (โดยอัตโนมัติ) ให้ผู้ป่วยมาเอ็กซเรย์ที่จุดเอ็กซเรย์ใกล้บ้าน 

ผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบจะต้องนัดหมายเอ็กซเรย์ 3 ครั้งในรอบ 14 วัน จากนั้นติดต่อกันผ่านแอปพลิเคชัน LINE เพื่อติดตามอาการผู้ป่วย และประเมินความเสี่ยงจากโรคประจำตัวต่าง ๆ ข้อมูลสองส่วนนี้จะถูก ​AI ประเมินว่าผู้ป่วยคนนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ 

เป้าหมายของโครงการอยู่บ้านปลอดภัยจะเน้นที่กลุ่มผู้ป่วยเขียวและเหลืองอ่อน ด้วยความเชื่อว่า 80% ของผู้ป่วยสามารถหายเองได้ ถ้าได้รับการรักษาถูกวิธี ในการรักษา 14 วันผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านจะมีการติดต่อกับโรงพยาบาลตลอดเพื่ออัปเดตอาการ และนัดหมายถ่ายเอ็กซเรย์ และรับยา 

ทีม call center พร้อมพูดคุยกับผู้ป่วยตลอดเวลา เพื่อให้ความรู้สึกใกล้ชิดไม่ไกลทีมแพทย์ ผู้ป่วยที่พบว่าปอดติดเชื้อมีฝ้าหรือกลุ่มเสี่ยงก็จะจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ หากเป็นกลุ่มสีแดงก็จะส่งต่อหน่วยงานอื่นเพื่อหาเตียงตามระบบในลำดับต่อไป

“จะเห็นว่าแอปพลิเคชันเป็น end-to-end ที่ช่วยคุณหมอดูแลคนไข้แบบ home isolation ได้ในจำนวนมาก ระบบนี้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 30 คนต่อ 1 ชั่วโมง ต่อ 1 จุดเอ็กซเรย์ ทำงาน 8 ชั่วโมง ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มนีไ้ด้เดือนละ 40,000 –  50,000 คน หากสามารถเปิดจุดเอ็กซเรย์ได้ครบตามที่กำหนด ซึ่งจุดเอ็กซเรย์มีความสำคัญ เพราะจะต้องไม่อยู่ใกล้แหล่งชุมชนมากเกินไป เพราะผู้ป่วยที่มาเอ็กซเรย์ล้วนเป็นผู้ติดเชื้อโควิดทั้งนั้น”

กลุ่ม IT Professional เป็นกลุ่มโปรแกรเมอร์จิตอาสาที่อยู่ทั้งในและต่างประเทศ เข้ามาช่วยกันพัฒนาระบบ ได้รับความมร่วมมือจาก National Telecom (NT) ที่เอื้อเฟื้อระบบคลาวด์ให้ใช้ทำให้สามารถขยายศักยภาพรองรับปริมาณผู้ป่วยได้มากขึ้น มีเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการช่วยเรื่องการทำ geo-location ทำแผนที่บ้านของผู้ป่วย มีกลุ่มแท็กซี่จิตอาสาที่เข้ามาช่วยเรื่องการนำผู้ป่วยจากบ้านมาจุดเอ็กซเรย์

“เป็นความร่วมมือกันของภาครัฐ ​เอกชน และประชาสังคมอย่างแท้จริง เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี หวังไว้ว่าจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้ และช่วยเรื่องการหมุนเวียนเตียงให้ผู้ป่วยที่มีอาการหนักกว่าได้ เพราะสามารถพาผู้ป่วยที่สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ออกมาอยู่ในระบบ เก็บเตียงไว้ให้ผู้ป่วยวิกฤติ”

ระบบบริหารจัดการผู้ป่วย Home Isolation กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (DMS Home Isolation) โครงการเริ่มต้นที่โรงพยาบาลราชวิถี โครงการนี้เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ววันนี้ (อาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2564) ที่ตลิ่งชัน และจะขยายไปอีก 5 จุดในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ได้แก่ บางนา, คลองเตย, พระประแดง, แจ้งวัฒนะ และเสรีไทย และสามารถขยายไปต่างจังหวัดได้อย่างรวดเร็ว

สิ่งที่พัฒนาต่อไป คือ เทรนนิ่ง machine learning ให้อ่านฟิล์มอ็กซเรย์ได้ โดยที่ความร่วมมือของกลุ่ม CDC Team เชื่อมไปยังกลุ่ม ASEAN CIO ด้วย ซึ่งมีการขอฟิล์มเอ็กซเรย์จากประเทศในอาเซียนมาเทรนระบบ ​AI เพราะจำนวนฟิล์มในไทยไม่พอ ในขณะที่มีการแชร์โอเพ่นซอสระบบซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันไปยังประเทศในอาเซียนได้นำไปต่อยอด ซึ่ง AI มาช่วยรังสีแพทย์ในการอ่านฟิล์มผู้ป่วย 

ทั้งนี้ ในขณะที่กลุ่ม IToxyGen จะเข้ามาเสริมเรื่องการนำเครื่องผลิตออกซิเจนและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้านได้

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ