TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessFacebook ชี้ธุรกิจค้าปลีกดิจิทัลไทยเติบโตต่อเนื่อง

Facebook ชี้ธุรกิจค้าปลีกดิจิทัลไทยเติบโตต่อเนื่อง

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคดิจิทัลระบุว่าร้อยละ 73 ของคนไทยเป็นผู้บริโภคดิจิทัลในปี พ.ศ. 2564 โดยคาดการณ์ว่าราวครึ่งหนึ่งจะใช้จ่ายกับบริการด้านการเงินและการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์โควิด19

Facebook และ เบน แอนด์ คอมพานี (Bain & Company) ได้เปิดตัวผลการศึกษาประจำปีที่มีชื่อว่า SYNC Southeast Asia เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลและอนาคตของอี-คอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเน้นถึงการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของการบริโภคในยุคดิจิทัลของคนไทยในปีที่ผ่านมา

ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้นำด้านการเติบโตของส่วนแบ่งธุรกิจธุรกิจค้าปลีกดิจิทัล โดยธุรกิจค้าปลีกดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เติบโตขึ้นร้อยละ 85 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แซงหน้าประเทศจีน (ร้อยละ 5) บราซิล (ร้อยละ 14) และอินเดีย (ร้อยละ 10)

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทรนด์ในปัจจุบันและเทรนด์ที่กำลังจะมาถึงในอนาคต Facebook และ เบน แอนด์ คอมพานี ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคดิจิทัลราว 16,700 คน พร้อมรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงกว่า 20 คนจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม

ผลการศึกษาครั้งใหม่ภายใต้หัวข้อ “Southeast Asia, the home for digital transformation” เป็นการต่อยอดจากผลการศึกษาในปีก่อนหน้านี้ ที่จัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561โดย Facebook และเบน แอนด์ คอมพานี และชี้ให้เห็นว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีผู้บริโภคดิจิทัลราว 350 ล้านคน และร้อยละ 73 ของผู้บริโภคในประเทศไทยจะกลายเป็นผู้บริโภคดิจิทัลภายในสิ้นปี พ.ศ. 2564 นอกจากนี้ อัตราการใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิทัลต่อคนได้เติบโตขึ้นร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และยอดขายอี-คอมเมิร์ซโดยรวมจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี พ.ศ.2569

ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่เพียงแต่ใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้นตามที่ถูกคาดการณ์ไว้ในปี พ.ศ. 2563 แต่ผู้บริโภคจำนวนมากขึ้น (ร้อยละ 45) จะใช้ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการซื้อสินค้า พวกเขาพร้อมเปิดรับการค้นพบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ โดยร้อยละ 65 กล่าวว่าพวกเขาไม่รู้ว่าตัวเองต้องการจะซื้ออะไรเวลาที่เข้าไปในช่องทางออนไลน์

สำหรับชาวไทย ร้อยละ 64 กล่าวว่าในปีนี้ พวกเขาได้ลองซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวไทยยังซื้อสินค้าออนไลน์ในหมวดหมู่ที่หลากหลายมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าในปัจจุบัน พวกเขาซื้อสินค้าออนไลน์จาก 8.3 หมวดหมู่สินค้าโดยเฉลี่ย ซึ่งเติบโตขึ้นร้อยละ 50 จากอัตราเฉลี่ยที่ 5.4หมวดหมู่สินค้าในปี พ.ศ. 2563

การค้นพบสินค้าออนไลน์:  นิยามใหม่ของประสบการณ์การช้อปปิ้ง

แพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า “เห็นได้ชัดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงผลักดันให้ผู้คนหันไปสู่ช่องทางออนไลน์ ในอัตราที่สูงในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทำให้ผู้บริโภคในประเทศไทยมีการสร้างพฤติกรรมใหม่ ๆ ในเรื่องของการค้นพบสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การพิจารณา และการซื้อ สำหรับแบรนด์ต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นใหม่และแบรนด์ที่อยู่มายาวนาน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ส่งสัญญาณให้เห็นถึงความจำเป็นในการพิจารณาการปรับปรุงพัฒนาประสบการณ์อี-คอมเมิร์ซแบบดั้งเดิม และมองหาวิธีการที่สร้างสรรค์ ใหม่ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ให้ได้ นอกจากนั้นเรายังมองว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคนี้จะยังเป็นเทรนด์ที่คงอยู่ แม้ธุรกิจและร้านค้าต่างๆจะสามารถกลับมาเปิดได้แล้วในอนาคต อันเป็นผลจากการที่ผู้คนยังคงพึ่งพาช่องทางดิจิทัลในการเชื่อมต่อกับแบรนด์ สิ่งเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ต่าง ๆ ควรพิจารณาถึงกลยุทธ์ด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน และให้ผลระยะยาวเพื่อทำให้กลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายรู้สึกเข้าถึงได้และมีส่วนร่วมอยู่เสมอ”

ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการสร้างความภักดีต่อแบรนด์รวมถึงการเติบโต เพราะว่าตลาดอี-คอมเมิร์ซยังค่อนข้างกระจัดกระจาย ในปี พ.ศ. 2564 นักช้อปชาวไทยใช้เวลาค้นหา สินค้าจาก 8.6 เว็บไซต์ก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จากค่าเฉลี่ยที่ 5.5 เว็บไซต์ในปี พ.ศ. 2563 แม้ว่าความคุ้มค่าของเงินที่จ่ายไปจะยังคงเป็นเหตุผลอันดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้คนตัดสินใจเปลี่ยนแบรนด์ แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญเพียงข้อเดียวอีกต่อไป เพราะว่าผู้บริโภคชาวไทยยังให้ความสำคัญ กับคุณภาพของสินค้า ยังคงมองหาแบรนด์อื่น ๆ ที่มีความคุ้มค่า รวมถึงยังเปิดรับที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ อีกด้วย

การค้นพบสินค้าผ่านช่องทางดิจิทัลนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ร้อยละ 80 ของช่องทางที่ผู้บริโภค ใช้ในการค้นหาสิ่งที่พวกเขาจะซื้อ อยู่บนโลกออนไลน์ และสำหรับการพิจารณาซื้อสินค้า ร้อยละ 83 ของช่องทางที่ถูกใช้เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการคือช่องทางออนไลน์ ร้อยละ 56 ของการใช้จ่ายบนสินค้าจากธุรกิจค้าปลีกเกิดขึ้นผ่านช่องทางดิจิทัล ในขณะที่ร้อยละ 44 ที่เหลือเกิดขึ้นผ่านช่องทางออฟไลน์ อีกสิ่งที่น่าสังเกตคือวิดีโอบนโซเชียล มีเดียได้รับความนิยมสูงขึ้นสามเท่าในฐานะช่องทางการค้นพบสินค้า โดยร้อยละ 22 ของผู้ตอบแบบ สำรวจกล่าวว่าวิดีโอบนโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการค้นพบสินค้าของพวกเขา

การเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน กับไลฟ์สไตล์ที่มีบ้านเป็นศูนย์กลาง

ผู้บริโภคชาวไทยมีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยร้อยละ 93 ของผู้ที่ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าพวกเขาเต็มใจที่ จะจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้อสินค้าที่ส่งเสริมความยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคม และร้อยละ 78 มีความยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มสูงสุดถึงร้อยละ 10 สำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังได้ค้นพบว่าไลฟ์สไตล์ที่มีบ้านเป็นศูนย์กลาง จะมีการเติบโตมากขึ้น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประมาณร้อยละ 72 ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าช่วงเวลาที่ถูกใช้ “ภายในบ้าน” จะเท่าเดิม ยิ่งไปกว่านั้นผู้ตอบแบบสำรวจภายในภูมิภาคอย่างน้อยร้อยละ 37 ยังกล่าวด้วยว่าพวกเขาคาดหวังที่จะทำงานที่บ้านแม้หลังจากสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว และสุดท้าย ประมาณร้อยละ 90 ของผู้บริหารเชื่อว่ารูปแบบการทำงานที่บ้านแบบไฮบริดจะกลายเป็น รูปแบบการทำงานที่เห็นได้ทั่วไปหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้

แพร  กล่าวเสริมว่า “ผลการศึกษาเหล่านี้ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้คนอยากจะรู้สึกว่าพวกเขา ได้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้องมากขึ้น เวลานี้เอง คือช่วงเวลาที่แบรนด์จะต้องแสดงความกล้า และปรับปรุงช่องทางรวมถึงแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่จะใช้ เพื่อสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่น เพื่อที่จะถูกค้นพบโดยผู้บริโภคได้ เราหวังว่าเราจะสามารถมีบทบาทในการสนับสนุนแบรนด์ต่าง ๆ ในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม เพื่อทดลองประสบการณ์การช้อปปิ้ง ในรูปแบบใหม่ ๆ หรือนำเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น Augmented Reality มาใช้”

สำหรับแนวโน้มใหม่ ๆ ผลการศึกษาดังกล่าวได้ค้นพบว่ากว่าร้อยละ 80 ของเงินกองทุนร่วมลงทุนต่าง ๆ กำลังไหลเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี นอกจากนี้ ผลการศึกษายังได้ชี้ว่าคนไทย มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายไปกับบริการธุรกรรมการเงินและการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลภายหลังสถานการณ์การ แพร่ระบาดคลี่คลาย สูงกว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม (ร้อยละ 45 เทียบกับร้อยละ 38 ตามลำดับ) การลงทุนมหาศาลนี้ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายภาคส่วน ทั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การเงิน เทคโนโลยีการศึกษา หรืออี-คอมเมิร์ซอื่น ๆ

ดิเรก เกศวการุณย์ พาร์ทเนอร์และผู้อำนวยการฝ่ายการดำเนินงานของธุรกิจค้าปลีก เบน แอนด์ คอมพานี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “การปรับตัวได้อย่างว่องไวในปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลลัพธ์ที่คุ้มค่าให้กับเจ้าของแบรนด์และแพลตฟอร์มต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด มีผู้บริโภคในประเทศไทย จำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32 ที่เปลี่ยนมาใช้ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางในการซื้อสินค้ามากที่สุด ในทุกหมวดหมู่ โดยหมวดหมู่ที่เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือสินค้าอุปโภคบริโภคและเฟอร์นิเจอร์ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคยังมีโอกาสในการเติบโตและสามารถสร้างผลกำไรจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ ปรับเปลี่ยนไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจ้าของแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด จะให้ความสำคัญกับกลยุทธ์เพื่อสร้างผลกำไรจากการเติบโตของดิจิทัลหลังสถานการณ์การแพร่ระบาด และสร้างเกราะป้องกันให้กับธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลอื่น ๆ ที่อาจจะตามมา”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านผลการศึกษาฉบับเต็มผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/business/m/sync-southeast-asia

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ