TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistCase study: เลือดนักสู้ของ startup ในยุคโควิด-19

Case study: เลือดนักสู้ของ startup ในยุคโควิด-19

โควิด-19 อยู่กับเรามาร่วม 3 ปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกธุรกิจและทุกคนได้รับผลกระทบ มาก-น้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละบทบาทและบริบท บางองค์กรมีการวางแผน Business Continuity Planning (BCP) อย่างเป็นระบบ บางองค์กรใช้ประสบการณ์ที่มาพร้อมกับสัญชาตญาณแก้ปัญหา

โควิด-19 นอกจากจะเป็นตัวเร่งการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ยังเป็นสถานการณ์ที่ช่วยคัดกรอง

ตัวจริงเท่านั้นที่จะได้ไปต่อ

Startup หลายรายล้มหายตายจากไปในช่วงโควิด-19 แต่ก็มีอีกหลายรายที่ไม่ใช่แค่อยู่รอด แต่ยังรอดแบบเติบโตอย่างก้าวกระโดด เช่น SHIPPOP, Flowaccount, QueQ และ SkillLane เป็นต้น

3 มิติที่ทำให้ startup เหล่านั้นผ่านช่วงวิกฤติโควิด-19 มาได้ คือ มิติด้านการปรับตัว, มิติด้านการเงิน, และมิติด้านแผนธุรกิจและการพัฒนาภายใน

มิติด้านการปรับตัว

  • ธรรมชาติของ startup มีความรวดเร็ว และ ลุยอยู่แล้ว
  • Can do attitude สำคัญมาก
  • No problem. There is only a challenge to overcome.
  • Startup เติบโตมากับการแก้ปัญหา อยู่กับความยากลำบากตั้งแต่เริ่มต้น เขาฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหามาอยู่ตลอด 
  • รู้ตัวเร็ว ปรับตัวไว และเคยผ่านกระบวนการ pivot มาก่อน
  • ทุ่มเทให้กับการเติบโตของธุรกิจ และ ใส่ใจเพื่อนร่วมทางที่จะไปด้วยกัน
  • รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น ส่งเสริมให้ปรับไปสู่การ work from home ได้ไม่ยากนัก

มิติด้านการเงิน

  • ข้อจำกัดทางการเงิน ทำให้ startup อยู่กับการบริหาร cash flow เพื่อให้อยู่รอดมาตลอดเวลา
  • Startup ที่จะรอด คือผู้ที่ทำ financial matrix สม่ำเสมอ คาดการ worst case scenario ว่ารายได้ลดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ในอัตราเร่งเท่าไหร่ จะทำให้เราอยู่ได้อย่างไร ในระยะเวลานานแค่ไหน
  • Startup เรียนรู้การตัด fix cost และมีการการตรวจสอบรายจ่ายเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา

มิติด้านแผนธุรกิจและการพัฒนาภายใน

  • Business model ที่เก็บเป็นรายปี ช่วยรักษาฐานลูกค้าใน platform ได้ก่อนที่โควิด-19 จะระบาด
  • มีแผนระยะสั้นที่จะรักษาลูกค้าให้อยู่ใน platform ให้มากที่สุด และ นานที่สุด
  • ในช่วงเริ่มต้น บาง startup ใช้วิธี Make everyone sales ให้พนักทุกคนสามารถเป็น sale representative ของบริษัทได้ เพื่อทดแทนส่วนแบ่งตลาดที่หายไป
  • Growth mindset เปิดเกมส์เชิงลุก แบ่งสัดส่วน resource บางส่วนไปทำ recovering plan แบ่งทีมไปทำ new product development เพื่อวันที่ตลาดกลับมาจะมีบริการที่ดีให้กับลูกค้าได้

ประเทศไทย กำลังเตรียมพร้อมเข้าสู่ช่วงเวลาที่ โควิด-19 กำลังจะเป็นโรคประจำถิ่น ในเวลานั้น ตลาดจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด เป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่นักธุรกิจต้องคิดวิเคราะห์ เพื่อเตรียมพร้อม และคนที่เตรียมพร้อมในการปรับตัว ก็คือคนที่ได้ไปต่อ

ผู้ประกอบการด้านดิจิทัลรุ่นใหม่ที่สนใจร่วมเป็นพันธมิตรกับ AIS สามารถส่งแผนงานเพื่อพิจารณามาได้ที่ www.ais.co.th/thestartup

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ