TH | EN
TH | EN
หน้าแรกNewsNIA รุกแพลตฟอร์ม Thailand Innovation Portal ซัพพอร์ตการทำงาน รัฐ - เอกชน

NIA รุกแพลตฟอร์ม Thailand Innovation Portal ซัพพอร์ตการทำงาน รัฐ – เอกชน

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ผนึกกำลังร่วมกับ 4 กระทรวง 11 หน่วยงาน บูรณาการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลดิจิทัล ช่วยยกระดับผู้ประกอบการไทยให้ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม และการนำข้อมูล Big Data ไปใช้ประโยชน์เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

โดย 11 หน่วยงานที่เข้าร่วมในครั้งนี้ได้แก่ 1. สำนักนายกรัฐมนตรี ในการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) 2. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 3) กระทรวงพาณิชย์ ในการดำเนินงานของ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ 4.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  เปิดเผยว่า NIA ให้ความสำคัญกับการผลักดันประเทศไทยไปสู่สังคมและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรมของประเทศ ดังนั้น NIA จึงริเริ่ม “โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มฐานข้อมูลนวัตกรรม” เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางด้านนวัตกรรมที่รวบรวมข้อมูลของผู้ประกอบการ โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม ย่านนวัตกรรม และข้อมูลอื่น เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านนวัตกรรม และให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนผ่านทางเว็บไซต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบกระดานข้อมูลเชิงปฏิสัมพันธ์ และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการฐานข้อมูลนวัตกรรมของประเทศ” ขึ้น เพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับเชื่อมโยงบริการและข้อมูลดิจิทัลด้านนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับผู้ประกอบการไทยให้ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรมผ่านเว็บไซต์ www.thailandinnovationportal.com ภายใต้ความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน มากกว่า 80 หน่วยงาน โดยมีแพลตฟอร์ม Thailand Innovation Portal เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนรูปธรรมตามแนวคิดดังกล่าว

ทั้งนี้ ผู้รับบริการแต่ละภาคส่วนสามารถค้นหานวัตกรรมที่เหมาะสม ตรงจุด และมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยี AI Machine Learning ผ่าน 4 บริการหลัก ได้แก่ 

  • บริการ My Page Innovation บริการพิเศษเฉพาะบุคคล เพื่อเข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลดิจิทัลทางด้านนวัตกรรมได้แบบเฉพาะเจาะจงตามต้องการส่วนบุคคล 
  • บริการ Business Matching บริการจับคู่ธุรกิจเพื่อต่อยอดการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมร่วมกันกับคู่ค้าทางธุรกิจ 
  • บริการ Innovation Synergy Account บัญชีที่ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงบริการทางด้านนวัตกรรมที่หน่วยงานภาครัฐจัดไว้ให้ด้วยบัญชีเดียว
  • Innovation Journey ผู้ช่วยในการวางแผนการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัลและบริการ e-Service ทางด้านนวัตกรรมแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว นอกจากนี้ Thailand Innovation Portal ยังมีจุดเด่นสำหรับผู้ที่สนใจ หรือค้นหานวัตกรรมเพื่อมาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น ผลงานนวัตกรรมที่มากกว่า 420,000 ผลงาน สินค้านวัตกรรมกว่า 1,600 ชิ้น กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน 836 แห่ง บริการทางนวัตกรรมที่จะให้คำปรึกษาหรืออำนวยความสะดวกต่าง ๆ  496 จุด ผู้เชี่ยวชาญจำนวนกว่า 120,000 ราย องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมจาก 330 แหล่ง ซึ่งข้อมูลทั้งหมดรวมจำนวน 554,164 รายการ

“ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การบูรณาการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับผู้ประกอบการไทย ให้ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม โดยการเชื่อมโยงบริการทางอิเล็กทรอนิกส์และการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานภาคีเครือข่าย/สังคมในระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศไทย ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลดิจิทัลที่สามารถตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อให้บรรลุภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐให้เป็นไปอย่างทั่วถึง ไร้รอยต่อ รวมถึงขับเคลื่อนกลไกการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและคุณค่าต่อสังคมอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต” ดร. พันธุ์อาจ กล่าวสรุป

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Meta ชี้ แบรนด์จำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคผ่านเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ

การ์ทเนอร์เผย 3 ปัจจัยมีผลต่อการเติบโต ยอดการใช้จ่ายด้านความปลอดภัย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ