TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2564

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2564

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2564 ชี้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ค้าปลีก เปราะบางสุด

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ยังคงจีดีพีปี 2564 ไว้ที่ 2.6% โดยยังมีหลายประเด็นที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าตามหลังประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวที่สูงกว่า ขณะที่ยังต้องติดตามการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนการกระจายวัคซีนในประชากรหมู่มากจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดแนวทางการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ขณะนี้มองไว้ว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2564

กว่าเศรษฐกิจจะกลับไปที่ระดับก่อนโควิดได้คงใช้เวลาจนถึงปี 2565-2566 เพราะปัญหาจากโควิดในรอบนี้ กระทบภาคธุรกิจจริงตรง ๆ

ต่างจากปี 2540 ที่มีจุดกำเนิดจากธุรกิจการเงิน อีกทั้งการฟื้นตัวของธุรกิจหลังผ่านพ้นช่วงโควิดคงไม่ทั่วถึง และยังมีโจทย์เชิงโครงสร้างรออยู่อีกทั้งสังคมสูงอายุ ตลาดผู้บริโภคเล็กลง ปัญหาหนี้ครัวเรือน และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ เป็นต้น

เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ภาคท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมในจังหวัดที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก ปัญหาโควิดในครั้งนี้คงทำให้โรงแรม 30-40% อาจต้องออกจากตลาดไป เน้นไปที่โรงแรมในกลุ่มราคาประหยัด (Budget) หรือราคาระดับกลาง (Midscale)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองกรอบจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกรณีพื้นฐานไว้ที่ประมาณ 2 ล้านคน

นอกจากนี้ ก็ยังห่วงธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะร้านค้าเอสเอ็มอีในห้างที่มีจำนวน 30% ของเอสเอ็มอีภาคการค้าทั่วประเทศ สำหรับประเด็นเรื่อง Vaccine Passport ยังไม่อาจคาดหวังได้มากในขณะนี้ เพราะยังไม่มีหลักฐานการศึกษาว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะไม่ติดเชื้อหรือแพร่เชื้ออีกครั้ง ประโยชน์ในเรื่องนี้คงเกิดกับเฉพาะบางประเทศที่รับความเสี่ยงได้ มากกว่าจะเป็นประโยชน์ในระดับโลก

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า โจทย์เฉพาะหน้า คือ การดูแลปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจและครัวเรือน ดังจะเห็นได้จากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินที่คงไต่ระดับขึ้นจากปลายปี 2563 ที่ 27.6% และ 14.7% ของสินเชื่อสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคลรายย่อยตามลำดับ แม้ว่าตัวเลขเอ็นพีแอลจะยังไม่สะท้อนมาก เพราะยังอยู่ในช่วงมาตรการผ่อนปรนการจัดชั้นหนี้ของธปท.ก็ตาม

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางนั้น ภาครัฐคงมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม อาทิ Asset Warehousing เพียงแต่อาจไม่เร็ว เพราะยังต้องรอรายละเอียดในหลายประเด็น ขณะที่หากมีสัญญาณปัญหาการชำระหนี้ แนะนำให้รีบคุยกับสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องรอให้เป็นเอ็นพีแอล

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ