TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyแชฟฟ์เลอร์ - ม.บูรพา ขับเคลื่อน EEC Automation Park ผ่านศูนย์การเรียนรู้/ฝึกอบรมอุตสาหกรรม 4.0 และ 5G

แชฟฟ์เลอร์ – ม.บูรพา ขับเคลื่อน EEC Automation Park ผ่านศูนย์การเรียนรู้/ฝึกอบรมอุตสาหกรรม 4.0 และ 5G

แชฟฟ์เลอร์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภาคธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมระดับโลก ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยบูรพา ขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค (EEC Automation Park) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษาและทักษะส่วนบุคคลเกี่ยวกับระบบโรงงานอัตโนมัติ รวมทั้งเสริมความแข็งแกร่งให้กับเทคโนโลยีตรวจสอบสภาพตลับลูกปืนในประเทศไทย 

ความร่วมมือครั้งนี้ระหว่างบริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) และมหาวิทยาลัยบูรพา มุ่งเน้นการพัฒนากรอบความร่วมมือทางด้านวิชาการร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะและการปรับทักษะใหม่สำหรับวิศวกร คนทำงาน และผู้สำเร็จการศึกษาผ่านหลักสูตรโปรแกรมการเรียนรู้ และการฝึกอบรมทางเทคนิคที่ดำเนินการที่ศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค ของมหาวิทยาลัยบูรพา นอกจากนี้ นักศึกษายังสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการตรวจสอบสภาพตลับลูกปืนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของแชฟฟ์เลอร์ได้โดยตรง ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี Smartcheck และ OPTIME 

Smartcheck Optime Solutions และ Prolink เป็นอุปกรณ์ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานร่วมกับระบบของมิตซูบิชิเพื่อให้เหมาะสมกับการติดตั้งเพื่อตรวจติดตามสภาพเครื่องจักรและสภาพการทำงานอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับงานบำรุงรักษาสมัยใหม่ที่เครื่องจักรมีรายละเอียด และมูลค่าสูง รวมถึงสอดคล้องกับเทคโนโลยีของระบบโรงงานที่มีอยู่แบบ wire และ wireless (ไร้สาย) มีการเชื่อมต่อข้อมูลสภาพการทำงานเครื่องจักร และสภาพของตลับลูกปืน สามารถเชื่อมต่อสัญญาณผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ หรือเชื่อมผ่านระบบไวไฟเชื่อมต่อข้อมูลและประมูลผลร่วมกับ PLC ผ่าน OPC-UA  หรือตรวจสอบผ่านเว็บบราวเซอร์และเชื่อมต่อวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ได้ การตรวจสอบสภาพเครื่องจักร Condition Monitoring จะทำให้ระบบในการผลิตสามารถประเมินประสิทธิภาพการผลิตได้ทันทีและคาดการณ์ หากเครื่องจักรเริ่มมีปัญหาช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เดวิด เนวิน ประธานอุตสาหกรรม บริษัท แชฟฟ์เลอร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ประเทศไทยกำลังเตรียมพร้อมที่จะเป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมต่อไปในภูมิภาคนี้ เนื่องจากต้องการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผ่านความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์ของ Thailand 4.0 ความร่วมมือของแชฟฟ์เลอร์และมหาวิทยาลัยบูรพาจะช่วยให้เราสามารถปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีและโซลูชันการตรวจสอบสภาพตลับลูกปืนของเรา ในขณะเดียวกันก็ให้ทรัพยากรที่จำเป็นในการหล่อเลี้ยงแรงงานรุ่นต่อไปเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมตามมาตรฐานอุตสาหกรรม” 

ขับเคลื่อนอนาคตที่ดีกว่าด้วยการทำงานร่วมกัน 

ศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค (EEC Automation Park) ตั้งอยู่บนทำเลยุทธศาสตร์ที่เป็นฐานเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นศูนย์พัฒนาทักษะและถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้จะรวมเครือข่ายพันธมิตรที่สนับสนุนการขับเคลื่อนของประเทศไทยในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม โดยได้ร่วมมือกับ Mitsubishi Electric และ Japan External Trade Organisation เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในพื้นที่ด้วย 

ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค และหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า “ในขณะที่ประเทศไทยมีการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ความร่วมมือของเรากับแชฟฟ์เลอร์ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรที่มีความสามารถที่จำเป็นเพื่อเชื่อมช่องว่างของการใช้ข้อมูลระหว่างเทคโนโลยีระดับปฏิบัติการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยแนวทางปฏิบัติจริงและการจัดหาแพลตฟอร์มสำหรับนำเทคโนโลยีไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้น ศูนย์การเรียนรู้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค จึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ดีกว่าผ่านระบบดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ” 

และเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนากำลังคนด้านออโตเมชั่น และหุ่นยนต์เสริมสร้างทักษะเพื่อยกระดับเทคโนโลยีการผลิตในประเทศไทยก้าวสู่ Industry 
4.0 อย่างเป็นทางการ พร้อมผู้แทนจากเครือข่ายพันธมิตรและบริษัท แชฟฟ์เลอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 

มุ่งมั่นเรียนรู้ตลอดชีวิต 

การเข้าถึงผู้มีความรู้ความสามารถที่มีคุณสมบัติสูงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญสำหรับบริษัทต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน ตามรายงานของ Future of Jobs โดย World Economic Forum เปิดเผยว่า กว่า 47% ของพนักงานทั้งหมดทั่วโลกจะต้องได้รับการฝึกฝนใหม่จนถึงปี พ.ศ.2568 นอกจากนี้ การวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าครึ่งชีวิตของทักษะที่เรียนรู้นั้นคาดว่าจะอยู่ที่ห้าปีและสั้นกว่านั้นสำหรับทักษะทางเทคนิค ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่มืออาชีพทุกคนจะต้องทุ่มเทให้กับการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

ลอรา ฮับกา ผู้จัดการของแชฟฟ์เลอร์ อคาเดมี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า วัฏจักรนวัตกรรมที่สั้นลง รวมทั้งความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี นั่นหมายความว่าความรู้จะล้าสมัยได้อย่างรวดเร็ว แชฟฟ์เลอร์พร้อมที่จะลงทุนและร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อนำความรู้มาสู่ผู้บุกเบิก เพื่อช่วยกำหนดอนาคตของการขับเคลื่อนเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าต่อไป

แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป – We pioneer motion 

ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภาคธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมระดับโลก แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับภาคอุตสาหกรรมและยานยนต์มามากกว่า 70 ปี ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบริการที่ทันสมัย ในด้านการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมดิจิตอล 4.0 และพลังงานหมุนเวียน ทำให้แชฟฟ์เลอร์เป็นหุ้นส่วนธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือในด้านการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการด้านอุตสาหกรรมและยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด และยั่งยืน เราผลิตชิ้นส่วนและระบบที่มีความแม่นยำสูงสำหรับระบบขับเคลื่อน (drive train) และระบบช่วงล่าง (แชสซี) รวมถึง ตลับลูกปืนหลายชนิด เหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป มียอดขายประมาณ 1.26 หมื่นล้านยูโรในปี พ.ศ. 2563 โดยเป็นหนึ่งในบริษัทครอบครัวที่ใหญ่สุดในโลก ด้วยจำนวนพนักงานมากถึง 83,300 อีกทั้งจากข้อมูลของ DPMA (สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าเยอรมนี) แชฟฟ์เลอร์เป็นบริษัทที่มีการพัฒนานวัตกรรมมากสุดเป็นอันดับสอง โดยมีการยื่นขอจดสิทธิบัตรไปมากกว่า 1,900 รายการในปี พ.ศ. 2563   

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

NUSA ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ลดสัดส่วนอสังหาฯ มุ่งลงทุนด้านสุขภาพและพืชสีเขียว

SkinX แอปฯหาหมอผิวหนังออนไลน์รายแรกของไทย รวมแพทย์ดังกว่า 200 คน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ