TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBangkok Storyเริ่มเก็บค่าธรรมเนียม รักษาบัตร Easy Pass ดีเดย์ 1 ตุลาคม 2565

เริ่มเก็บค่าธรรมเนียม รักษาบัตร Easy Pass ดีเดย์ 1 ตุลาคม 2565

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดอัตราธรรมเนียมการรักษาบัญชีสำรองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass พ.ศ. 2565 ใจความว่า ด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติและส่งมอบบัตร Easy Pass พร้อมอุปกรณ์ให้ผู้ใช้บริการ โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าประกันบัตรในการสมัครใช้บริการ

เนื่องจากมีผู้ใช้บริการจานวนหนึ่งที่ไม่นาบัตร Easy Pass ไปใช้ผ่านทางพิเศษหรือหยุดการใช้งานต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี และไม่มีการติดต่อเพื่อยกเลิกการใช้งานบัตร Easy Pass ส่งผลให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีต้นทุนในการจัดหาบัตร Easy Pass เพิ่มสูงขึ้น และเกิดค่าใช้จ่ายในการจัดการและดูแลรักษาบัญชีเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass ท่ีไม่มีการเคลื่อนไหว

ดังน้ัน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียม การรักษาบัญชีเงินสารองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 มาตรา 10 (3) แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550 ประกอบกับเงื่อนไขข้อตกลงการใช้ “ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษ อัตโนมัติ” ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass พ.ศ. 2565”

ข้อ 2 ประกาศการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่1ตุลาคมพ.ศ.2565 เป็นต้นไป

ข้อ 3 ในประกาศน้ี
“บัตร Easy Pass” หมายความว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งในรถยนต์เพื่อใช้สื่อสาร
ในการชำระค่าผ่านทางพิเศษ รวมถึงบัตร Smart Card สำหรับเติมเงินเข้าบัญชีเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษ ล่วงหน้า
“บัญชีเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass” หมายความว่า บัญชีเงินสาำรองค่าผ่าน ทางพิเศษล่วงหน้า สำหรับชาระค่าผ่านทางพิเศษของผู้ใช้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ
“การเคลื่อนไหวทางบัญชี” หมายความว่า การหักชำระค่าผ่านทางพิเศษ หรือการเพิ่มเงินในบัญชีเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass

ข้อ 4 ผู้ใช้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติที่ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนี้ใช้บังคับ ต้องชำระค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชี เงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass ในอัตราเดือนละ 25 บาท หรือไม่เกินมูลค่าคงเหลือ ในบัญชีเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะทำการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการรักษาบัญชีเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass โดยหักเงิน ในบัญชีเงินสารองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass ทุกเดือน

ข้อ 5 เมื่อจานวนเงินในบัญชีเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษในบัตร Easy Pass ของผู้ใช้บริการถูกหักค่าธรรมเนียมตามข้อ 4 จนไม่มีจำนวนเงินคงเหลือในบัญชีเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษ ในบัตร Easy Pass บัญชีดังกล่าวของผู้ใช้บริการจะถูกปิดและยุติการใช้งานบัตร Easy Pass ทันที

ประกาศ ณ วันท่ี 15 กันยายน พ.ศ. 2565 ลงนามโดย สุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

เกี่ยวกับ EASY PASS 

EASY PASS  คือ ชื่อบัตรที่ใช้ในระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection System: ETC) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษที่ทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) นำมาใช้ในการแก้ปัญหารถติดบริเวณหน้าด่าน โดยผู้ใช้บริการสามารถขับรถผ่านช่องทางพิเศษที่มีป้ายแสดงคำว่า Easy Pass ได้ทันที ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ใช้บริการทางพิเศษ

ระบบ ETC มีรูปแบบในการเก็บค่าผ่านทางพิเศษซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบเปิดและระบบปิด โดยระบบเปิด คือ การเก็บเงินอัตราเดียวที่ด่านทางเข้า และระบบปิด คือ การเก็บเงินตามระยะทางที่ด่านขาออก โดยการเก็บเงินนี้จะไม่ใช้พนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ สำหรับผู้ที่จะใช้บริการนี้ต้องเปิดบัญชีและเติมเงินเพื่อเป็นเงินสำรองค่าผ่านทางล่วงหน้า ตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไป และยกเลิกค่าประกันความเสียหายของบัตร Easy Pass และบัตรเติมเงิน (Smart Card) ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป

ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้รับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำคัญ 2 อย่างคือ

1. บัตร Easy Pass (OBU หรือ Tag) ประกอบด้วยหมายเลข 19 หลัก สำหรับติดกระจกหน้ารถซึ่งเมื่อรถของผู้ใช้บริการผ่านช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ บัตร Easy Pass จะทำหน้าที่สื่อสารกับเสาอากาศในช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติเพื่ออ่านค่าพร้อมตัดยอดเงินในบัญชีของผู้ใช้บริการตามอัตราค่าผ่านทาง

2. บัตร Smart Card ประกอบด้วยหมายเลข 10 หลั หรือเรียกว่า หมายเลข S/N ใช้สำหรับการเติมเงินสำรองค่าผ่านทางฯ ในบัญชีของผู้ใช้บริการ 

ปัจจุบัน ช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติโดยใช้บัตร Easy Pass ครอบคลุมทางพิเศษทุกสายทางที่เปิดให้บริการจำนวนร้อยละ 50 ของช่องเก็บค่าผ่านทางทั้งหมด โดยมีผู้สมัครใช้บัตร Easy Pass กว่า 2 ล้านราย​

Easy Pass เป็น Easy Pass Plus เชื่อม M-Flow

นอกจากนี้บัตร Easy Pass ยังเชื่อม M-Flow ได้ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา เมื่อกทพ. เปิดให้ลงทะเบียนปรับปรุงข้อมูลบัตร Easy Pass เป็น Easy Pass Plus เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบ M-Flow พร้อมรับสิทธิ์และรางวัลเป็นของขวัญรับเทศกาลปีใหม่ 2566​

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม เปิดให้ผู้ใช้บริการบัตร Easy Pass ลงทะเบียนปรับปรุงข้อมูลด้วยตนเองทาง EXAT Portal Application หรือ www.thaieasypass.com เพื่อยกระดับบัตร Easy Pass เป็น Easy Pass Plus เตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พร้อมรับสิทธิ์และรางวัลเป็นของขวัญรับเทศกาลปีใหม่ 2566 ในกิจกรรมส่งเสริมการตลาด​

กทพ. ได้เปิดให้ผู้ใช้บริการบัตร Easy Pass ลงทะเบียนปรับปรุงข้อมูลในระบบด้วยตนเองผ่าน EXAT Portal Application หรือ www.thaieasypass.com โดยกรอกรายละเอียด ตรวจสอบหรือแก้ไข ข้อมูล ชื่อ-นามสกุล บัตรประชาชน ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หมายเลขบัตร OBU หรือ เลขสมาร์ทการ์ด (S/N) อีเมล และทะเบียนรถ แล้วเลือกรายการบัตร Easy Pass เพื่อใช้งาน M-Flow กดสมัคร Easy Pass Plus พร้อมให้ความยินยอมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล และยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP จากหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนในระบบ

จากนั้นระบบจะแจ้งสถานะการสมัครเป็น Easy Pass Plus เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ กทพ. จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและแจ้งผลในภายหลังไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนในระบบเมื่อสามารถเชื่อมต่อกับระบบ M-Flow แล้ว

ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ใช้บริการบัตร Easy Pass ที่ปรับปรุงข้อมูลในระบบเป็น Easy Pass Plus แล้วจะได้รับในอนาคต คือ สามารถเข้าใช้ช่อง M-Flow โดยตัดเงินในบัญชีบัตร Easy Pass ได้ทันที โดยไม่ต้องสมัครเป็นสมาชิก M-Flow ใหม่ และยังสามารถเข้าใช้บริการในช่อง Easy Pass/M-Pass ได้ตามปกติเหมือนเดิม (ปัจจุบัน กรมทางหลวงเปิดให้บริการระบบ M-Flow บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ด่านธัญบุรี 1 ด่านธัญบุรี 2 ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2)​

นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการบัตร Easy Pass ที่ลงทะเบียนปรับปรุงข้อมูลในระบบเป็น Easy Pass Plus เรียบร้อยแล้ว จะได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เพื่อรับสิทธิ์และรางวัลเป็นของขวัญรับเทศกาลปีใหม่ 2566 ที่ กทพ. จัดเตรียมไว้ให้เฉพาะผู้เข้าร่วมโครงการเท่านั้น

ผู้ใช้บริการสามารถติดตามข่าวสารของ กทพ. ได้ทาง www.exat.co.th/FB:การทางพิเศษแห่งประเทศไทย/FB:exatsociety/Line@exatsocity/EXAT Portal Application หรือติดต่อสอบถามที่ ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (EXAT Call Center) โทร.1543 (ตลอด 24 ชั่วโมง) หรือจุดแนะนำการลงทะเบียน Easy Pass Plus ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการลงทะเบียนปรับปรุงข้อมูลในระบบเป็น Easy Pass Plus ที่ ศูนย์บริการที่เดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center) อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. เลขที่ 111 ถนนริมคลองบางกะปิ (ถนนเพชรอุทัย) แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ในวันทำการ (จันทร์-ศุกร์ เวลา o9.00 น. – 14.30 น.)

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ