TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistลงทุนอะไร ในวันที่เงินเฟ้อคุมไม่อยู่

ลงทุนอะไร ในวันที่เงินเฟ้อคุมไม่อยู่

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับครึ่งแรกของปี 2565 ถ้าจะพูดว่าเป็นครึ่งแรกที่ท้าทายสำหรับนักลงทุนก็คงไม่ผิดนัก เพราะตลาดหุ้นทั่วโลกเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนจากความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง หลังราคาพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์และอาหารปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผลของสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ประกอบกับปัญหาอุปทานตึงตัว (Supply Shortage) ซึ่งเป็นผลจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ธนาคารกลางหลายประเทศจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นจนนักลงทุนเกรงว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession)

“เงินเฟ้อพุ่ง” เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด ณ เวลานี้ โดยครั้งนี้เงินเฟ้อสูงเกิดจาก 2 สาเหตุ ทั้งประชาชนที่ต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (demand-pull) และต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น (cost-push) ซึ่งการที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ Fed มีท่าทีรีบเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ประจำวันที่ 14 – 15 มิ.ย. 2565 ได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 เพื่อแสดงความจริงจังในการสกัดเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ Fed ยังวางแผนที่จะขึ้นดอกเบี้ยไปจนถึง 3.5% ภายในสิ้นปี หมายความว่าการประชุมที่เหลืออีก 4 ครั้ง จะต้องขึ้นดอกเบี้ยอีก 1.5% ขณะเดียวกัน การปรับขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายก็ส่งผลให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับตัวขึ้นเช่นกัน ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจห้างร้านต่าง ๆ ทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น กระทบต่อกำไรให้ลดน้อยถอยลง ส่วนด้านของประชาชนก็ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ยบัตรเครดิต ทำให้การบริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลง ท้ายที่สุดก็นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่เว้นแม้กระทั่งในไทย

ดังนั้น การลงทุนสำหรับช่วงครึ่งหลังของปีอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น โดยทีม BLS Mutual Funds แนะนำให้กระจายการลงทุนใปยังสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ต ดังนี้

  1. ตราสารหนี้ อย่างที่เราทราบกันดีว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะทำให้ราคาตราสารหนี้ลดลง ยิ่งเป็นตราสารหนี้ที่อายุยาว ราคาตราสารหนี้ยิ่งลดลงมาก ดังนั้นเราจึงแนะนำว่า ในระยะสั้น-กลางควรลงทุนเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยง นอกเหนือจากตราสารหนี้ปกติแล้ว ยังมีตราสารหนี้อีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ตราสารหนี้ซึ่งให้ดอกเบี้ยแปรผันตามเงินเฟ้อ หรือ Inflation Link Bond เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีพันธบัตรประเภทนี้อยู่ในตลาดเพียงรุ่นเดียว คือ ILB283A ซึ่งอาจจะเข้าถึงยากและต้องใช้เงินลงทุนสูง แนะนำลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนใน ILB283A เพื่อความสะดวก
  2. หุ้น แม้จะบอกว่าเงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ส่งผลเสียต่อกำไรของบริษัทด้วยซ้ำ แต่ทำไมถึงยังเลือกลงทุนในหุ้น ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่หุ้นทุกกลุ่มที่เสียประโยชน์ มันยังมีหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ พลังงาน หุ้นที่แข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดดี สามารถส่งต่อต้นทุนไปที่ผู้บริโภคได้ แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรกระจายการลงทุนในยังหุ้นภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย
  3. กองทุนอสังหาริมทรัพย์ REITs & Property Fund โดยทั่วไปจะให้ผลดีตามเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เนื่องจากองทุนเหล่านี้มักมีรายได้ในรูปแบบค่าเช่าที่ค่อนข้างแน่นอน และจ่ายเงินปันผลค่อนข้างสูง เมื่อเงินเฟ้อมาราคาอสังหาริมทรัพย์และค่าเช่าก็มักจะขึ้นได้ตาม

การที่จะกระจายลงทุนในสินทรัพย์ข้างต้นให้ครบถ้วนนั้นอาจจะต้องใช้เวลาหรือเงินลงทุนจำนวนมาก ไม่นับรวมการคำนวณสัดส่วนที่เหมาะสม ต้องติดตามสถานการณ์ ปรับพอร์ตสม่ำเสมอ ทางออกที่ง่ายที่สุดคือ การลงทุนผ่านกองทุนรวม โดยรายงาน BLS Top Funds ได้เลือกกองทุนตัวท็อปเหมาะสำหรับลงทุนในระยะยาวคือ “กองทุน BCAP Global wealth” ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนผ่าน Passive Fund ลงทุนทั่วโลก ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ อสังหาฯ และสินทรัพย์ทางเลือก ผ่านกองทุน ETF ที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ โดยมีกองทุนให้เลือก 5 ระดับความเสี่ยง ตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกประเภท ดังนี้

  1. BCAP-GW 10 ระดับความเสี่ยง 5 เน้นลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยง (ตราสารทุน, ทรัพย์สินทางเลือก) ไม่เกิน 10% ส่วนที่เหลือเป็นทรัพย์สินมั่นคง (ตราสารหนี้)
  2. BCAP-GW 25 ระดับความเสี่ยง 5 เน้นลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยง (ตราสารทุน, ทรัพย์สินทางเลือก) ไม่เกิน 25% ส่วนที่เหลือเป็นทรัพย์สินมั่นคง (ตราสารหนี้)
  3. BCAP-GW 50 ระดับความเสี่ยง 5 เน้นลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยง (ตราสารทุน, ทรัพย์สินทางเลือก) ไม่เกิน 50% ส่วนที่เหลือเป็นทรัพย์สินมั่นคง (ตราสารหนี้)
  4. BCAP-GW75 ระดับความเสี่ยง 5 เน้นลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยง (ตราสารทุน, ทรัพย์สินทางเลือก) ไม่เกิน 75% ส่วนที่เหลือเป็นทรัพย์สินมั่นคง (ตราสารหนี้)
  5. BCAP-GW 90 ระดับความเสี่ยง 6 เน้นลงทุนในทรัพย์สินเสี่ยง (ตราสารทุน, ทรัพย์สินทางเลือก) ไม่เกิน 90% ส่วนที่เหลือเป็นทรัพย์สินมั่นคง (ตราสารหนี้)

กองทุน BCAP-GW เป็นกองทุนที่มีทั้งหุ้น ตราสารหนี้ ตราสารทุน และกองทุนทางเลือก โดยจะลงทุนตราสารทุนทั่วโลกที่มีมากกว่า 40 ประเทศ มากกว่า 2,000 บริษัท, ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกกว่า 80 ประเทศ, ลงทุนหุ้นกู้บริษัทเอกชนทั่วโลกมากกว่า 1,500 บริษัท และลงทุนใน REITs ทั่วโลกมากกว่า 300 กอง

สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถซื้อกองทุน BCAP Global Wealth ผ่านหลักทรัพย์บัวหลวง พร้อมรับรายงาน BLS Top Funds เกาะติดสถานการณ์พร้อมอัปเดตกองทุนที่น่าสนใจโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ศึกษาขั้นตอนการเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวมกับหลักทรัพย์บัวหลวงได้ที่ https://bls.tips/omnibus หรือโทร. 0-2618-1111 อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ประมาณการการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ

ที่มา : Bloomberg

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ