TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyInspiring Thailand ใช้เทคโนโลยี อยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมในเมตาเวิร์ส

Inspiring Thailand ใช้เทคโนโลยี อยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมในเมตาเวิร์ส

ปัจจุบัน ชาวไทยกำลังเติบโตในเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ครีเอเตอร์ ผู้สนับสนุนชุมชน และผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ อีกมากมายที่ใช้เทคโนโลยีโซเชียลมีเดียในแต่ละวัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาเอง รวมถึงชีวิตของคนในครอบครัวและคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น ตลอดช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ผ่านมาเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียช่วยให้ได้เชื่อมต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูง อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะและงานอดิเรกใหม่ ๆ รวมถึงการสำรวจโอกาสเชิงเศรษฐกิจเพิ่มเติม 

ไมเคิล บัค หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta และมีความมุ่งมั่นในการสร้างอนาคตแห่งการเชื่อมต่อผ่านโซเชียลมีเดียผ่าน “เมตาเวิร์ส” เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าภารกิจสูงสุดของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน และเชื่อมต่อให้พวกเขาใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มในเครือของ Meta ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Messenger และ WhatsApp ล้วนช่วยให้ผู้คนเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลก นอกจากนี้ ชาวไทยยังเป็นส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อชุมชนระดับโลกของเรา โดยช่วยกำหนดทิศทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ่านการบุกเบิกวิธีการใช้งานเทคโนโลยีของเราอย่างสร้างสรรค์

“เมตาเวิร์สคือก้าวต่อไปของการเชื่อมต่อผ่านโซเชียลมีเดีย โดยความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของชาวไทยจะยังคงโดดเด่นอยู่ในแถวหน้าอีกครั้ง”

เช่นเดียวกับอีกหลายบริษัท รวมถึงนักพัฒนา ครีเอเตอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์อีกหลายคน Meta กำลังเดินหน้าสู่การพัฒนาเมตาเวิร์สด้วยการให้ความสำคัญกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังอนาคตของเทคโนโลยีโซเชียลมีเดีย Meta กำลังอยู่ที่จุดเริ่มต้นของเส้นทางสู่เมตาเวิร์ส และชาวไทยจากหลากหลายอุตสาหกรรมในสังคมได้เริ่มพัฒนาและทดลองแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเตรียมตัวสู่อนาคตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  

นอกจากนี้ Meta ยังเชื่อว่าชุมชนในประเทศไทยจะยังคงเติบโตในยุคต่อไปของยุคดิจิทัล ในขณะที่ไม่มีสิ่งใดดีกว่าการได้พบหน้าหรือเจอตัวกันจริง ๆ แต่ประสบการณ์ร่วมกันตลอดช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีอย่างเมตาเวิร์สจะสามารถช่วยให้คนเชื่อมต่อกันได้ และสร้างความรู้สึกของการอยู่ร่วมกันอย่างแท้จริง อีกทั้งยังนำเสนอโอกาสสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

“ระหว่างที่ Meta กำลังดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเมตาเวิร์ส การรับฟังทุกความคิดเห็นนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง อีกทั้งเรายังยินดีที่จะรับฟังความต้องการของทุกชุมชน โดยมุมมองที่หลากหลายและการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมยังจะช่วยขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโต ใครก็ตามที่กำลังออกแบบและสร้างแนวทางความปลอดภัยในการใช้งานเมตาเวิร์สในอนาคตจำเป็นต้องลงทุนในชุมชนที่หลากหลายของเรา สำรวจความคิดเห็นที่หลากหลายของชุมชนในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และต้องแน่ใจว่าไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ไมเคิลกล่าว

การให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก

Meta ไม่ได้เป็นผู้สร้างหรือดูแลเมตาเวิร์สเพียงลำพัง และไม่มีบริษัทใดที่ควรทำเช่นนั้น การสร้างสรรค์เมตาเวิร์สจำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ข้อมูลเชิงลึก การสร้างสรรค์ด้วยจินตนาการ และแรงบันดาลใจจากชุมชนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบริษัท นักพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญ ประชาสังคม ผู้สนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการ และผู้วางนโยบายของรัฐ Meta จำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่ากลุ่มคนที่มักถูกมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้หญิง กลุ่มผู้พิการ กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ชนกลุ่มน้อยทางด้านศาสนาและเผ่าพันธุ์ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงกลุ่มคนอีกจำนวนมากที่มักไม่ได้ถูกคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ต้องได้รับการยอมรับและรับฟังความคิดเห็นของพวกเขา

“เราต้องการความคิดเห็นที่หลากหลายเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาของเราในอนาคต และนั่นคือเหตุผลที่เรากำลังเดินหน้าลงทุนในโครงการต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างทักษะ พัฒนาการเชื่อมต่อ และสร้างพลังให้กับชุมชนที่หลากหลายทั่วประเทศ”

ไมเคิลกล่าววว่า ตั้งแต่ Meta เปิดสำนักงานของเราในประเทศไทยเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เราได้รับโอกาสที่ยอดเยี่ยมในการร่วมงานกับชุมชนที่มีความหลากหลายเป็นอย่างยิ่งจากทั่วประเทศไทย จากชุมชนล้านนาสู่ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ใต้สุดของประเทศ จากชุมชนในภาคอีสานสู่ชุมชนที่อาศัยอยู่บนภูเขาในภาคตะวันตก เพื่อให้เมตาเวิร์สสร้างคุณค่าให้กับทุกคน เราจำเป็นต้องรวบรวมความคิดเห็นจากคนทุกกลุ่มในการพัฒนาเทคโนโลยีครั้งนี้ โดยความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัลของชาวไทยยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในอนาคตแห่งเมตาเวิร์สได้เรียนรู้ประสบการณ์ ภาษา และมีความมั่นใจในการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

“ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด Meta ยังได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับโควิด-19 และสนับสนุนโยบานการฉีดวัคซีนระดับประเทศผ่านการเปิดตัวประสบการณ์การแชทแบบอัตโนมัติที่มีชื่อว่า “แชทชัวร์” ซึ่งเข้าถึงคนไทยราว 10 ล้านคน และหวังว่าประสบการณ์เสมือนจริงใหม่ ๆ จะได้รับการตอบรับที่ดีและรวดเร็วจากชาวไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปใช้ตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคตเพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือแก่ผู้ที่กำลังเผชิญความยากลำบาก การสร้างพื้นที่ให้กับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายในการจัดแสดงผลงานศิลปะ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม หรือการพัฒนาธุรกิจสตาร์ตอัพที่มาพร้อมกับนวัตกรรมแห่งยุคต่อไปในอนาคต” 

ความร่วมมือระหว่าง Meta และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยังได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกโดยชุมชนที่มาจากเทคโนโลยี เมื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนกว่าร้อยรายที่มาจากเครือข่ายซัพพลายเชนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เข้าร่วมการฝึกอบรมในโครงการ “Boost with Facebook” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการใช้งานเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ 

ลงทุนในผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีร่วมกันสำหรับอนาคต

Meta ไม่ได้สร้างเมตาเวิร์สขึ้นมาสำหรับตัวเองเท่านั้น แต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้สร้างสรรค์อนาคตที่กำลังขยายตัวด้วย บทบาทของ Meta คือช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานอย่างรวดเร็ว และสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นแรงบันดาลใจที่เอื้อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับความพยายามนี้ก็คือการแน่ใจว่าเทคโนโลยีของวันพรุ่งนี้ถูกสร้างขึ้นบนความถูกต้อง การแก้ปัญหาคอนเทนต์ที่เป็นอันตราย ความมั่นใจได้ในความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และการส่งเสริมความปลอดภัย

ความเสมอภาคและการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมไม่เพียงแต่เป็นมาตรการที่ทำให้เรารู้สึกดีเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต่อการสร้างความมั่นใจว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้เราทุกคนปลอดภัยและสามารถเข้าถึงประโยชน์ของมันได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องลงทุนสร้างทักษะและความถนัดให้กับผู้ที่ตระหนักถึงพรมแดนใหม่ของเทคโนโลยีกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ในตอนนี้

Meta ได้ลงทุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการรู้เท่าทันทางด้านดิจิทัล รวมถึงลงทุนทรัพยากรและเครื่องมือด้านความปลอดภัยมาเป็นเวลานานกว่าทศวรรษ โดยมีจุดโฟกัสหลักสำหรับประเทศไทย คือ การสร้างโอกาสให้แก่คนทุกกลุ่มในสังคม ในทุก ๆ ส่วนของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมีประสบการณ์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันอย่างมาก เราทำภารกิจนี้โดยร่วมงานกับพาร์ตเนอร์ในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐบาล ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน รวมถึงการจับมือกับสถาบันวิทยาลัยชุมชนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พัฒนาหลักสูตร Digital Citizenship ขึ้น เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนด้าน ‘Digital Technology’ ให้กับสถาบัน โดยได้เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งจำนวน 3,000 คน ในวิทยาลัยชุมชน 20 แห่ง ทั่วประเทศไทยในแต่ละปี โดยวิทยาลัยเหล่านี้จะเชิญให้ชุมชนที่อยู่โดยรอบเข้าร่วมเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และยกระดับความสามารถใหม่ให้เชี่ยวชาญยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิธีอันยอดเยี่ยมในการส่งต่อสิ่งดี ๆ โดยสถาบันนั่นเอง

อีกตัวอย่างหนึ่งของการลงทุนสำหรับอนาคคือการร่วมมือกับเครือข่ายชุมชนที่หลากหลาย แคมเปญ We Think Digital Thailand ได้นำความเป็นพลเมืองดิจิทัล (digital citizenship) และทักษะความเชี่ยวชาญมาสู่ชุมชนคนชายขอบ ทำให้พวกเขาได้เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งเป็นวาทกรรมที่ใหญ่กว่า จากการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยกว่า 40 หน่วยงาน ทั้งองค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGOs) กลุ่มประชาสังคม และหน่วยงานภาครัฐ We Think Digital ได้นำโมดูลการเรียนรู้และคอนเทนต์เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัลเข้ามาช่วยเหลือชุมชนผู้ประกอบการและผู้นำชุมชน ให้สามารถสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมอย่างรับผิดชอบในโลกดิจิทัลได้ นอกจากนี้ ยังได้ติดอาวุธให้กับผู้นำ SME ไทยกว่า 4,000 ราย ครูกว่า 1,500 คน ตลอดจนถึงนักเรียน และพลเมืองอาวุโส โดยช่วยให้คนเหล่านี้มีทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นและมีทักษะความเชี่ยวชาญมากขึ้นผ่านการร่วมมือกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย

ไมเคิลกล่าวว่า “สำหรับในปี 2565 เราคาดหวังว่าจะได้ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ด้วยการร่วมมือกับกระทรวงฯ เราสามารถนำเครื่องมือที่มีนวัตกรรมมาใช้กับชุมชนที่หลากหลายได้มากขึ้น ซึ่งรวมถึงกลุ่มคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน และกลุ่มผู้พิการ โดยช่วยเพิ่มทรัพยากรและทักษะการรู้เท่าทันทางด้านดิจิทัลให้กับคนเหล่านี้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตและมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและมีความหมาย”

#UnknownTogether เป็นแคมเปญที่เรานำเทคโนโลยีทางสังคมมาใช้แก้ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต และส่งเสริมมาตรการเชิงรุกที่นำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี และมีความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ป่วยด้วยปัญหาสุขภาพจิต ผ่านการร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไรคือ Knowing Mind กลุ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่าง LoveFrankie และองค์การสหประชาชาติในประเทศไทย แคมเปญนี้เข้าถึงคนไทยนับล้าน ๆ คน ผ่านเวิร์คช็อปการฝึกอบรมอย่างสร้างสรรค์ ศิลปะเชิงประสบการณ์ และทรัพยากรที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านทุก ๆ จุดสัมผัสบนโลกเสมือนรวมถึง Instagram, Facebook และ FB Live

“เรามองสิ่งเหล่านี้ในแง่การลงทุนระยะยาวในคนและชุมชนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เสียงของคนเหล่านี้ รวมถึงประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าเมตาเวิร์สจะสร้างโอกาสให้กับทุกคนได้อย่างแท้จริง

พันธกิจเพื่อส่งเสริมความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมบนเมตาเวิร์ส

ไมเคิลบอกว่า เขามั่นใจว่าเมตาเวิร์สสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับทุกคนได้ต่อเมื่อรวมเอาความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านประสบการณ์การใช้ชีวิต คุณสมบัติของมนุษย์โดยกำเนิด ความเชี่ยวชาญ และจินตนาการ เข้าไว้ด้วยกัน

ไม่มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งสามารถสร้างหรือควรเป็นผู้สร้างเมตาเวิร์สขึ้น เราจะแน่ใจว่าเมตาเวิร์สสร้างขึ้นมาสำหรับทุกคนก็ต่อเมื่อเราได้ลงทุนในวิธีการแบบองค์รวมต่าง ๆ เพื่อสร้างทักษะความสามารถให้กับชุมชนอันหลากหลายที่มีอยู่ในปัจจุบัน เราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ลงทุนในชุมชนต่างๆ ในประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายปี และเราก็อยากติดตามผลของสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้ทำต่อไปในอนาคต และบนโลกเมตาเวิร์สและเรายังอยากเห็นองค์กรอื่น ๆ ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาสังคม ทำแบบเดียวกันอีกด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ESRI ชู 3 โซลูชันด้าน GIS รับกระแสโลกเสมือนจริง กับเทคโนโลยี Location Intelligence

กสทช. เปิดประมูลคลื่นวิทยุระบบ FM ครั้งแรกของประเทศไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ