TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyสวทช. ร่วมกับ JAXA จัดแข่งขันเขียนโปรแกรม ควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ เฟ้นหาเยาวชนไทยร่วมชิงแชมป์โลก

สวทช. ร่วมกับ JAXA จัดแข่งขันเขียนโปรแกรม ควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ เฟ้นหาเยาวชนไทยร่วมชิงแชมป์โลก

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ แจ็กซา (JAXA) ประเทศญี่ปุ่น และหน่วยงานพันธมิตร จัดแข่งขัน The 3rd Kibo Robot Programming Challenge ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยในทุกระดับชั้นการศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรีเข้าร่วมการแข่งขัน มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยในด้าน STEM ศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลรองรับนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทยในอนาคต โดยทีมชนะเลิศจะได้เข้าแข่งขันรอบชิงแชมป์โลกทางออนไลน์ร่วมกับเยาวชนจากต่างประเทศในเดือนกันยายน 2565

กุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ทีมที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันต้องมีสมาชิกจำนวน 3 คน และกำลังศึกษาไม่เกินระดับปริญญาตรี โดยสมาชิกในทีมอยู่ต่างสถาบันการศึกษาและระดับชั้นเรียนได้ ทั้งนี้สามารถสมัครทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ โครงการแข่งขัน The 3rd Kibo Robot Programming Challenge ภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2565 ก่อนเวลา 24.00 น.

“ผู้เข้าร่วมต้องพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาจากเทมเพลตที่ทางแจ็กซากำหนด เพื่อควบคุมหุ่นยนต์แอสโตรบี (Astrobee) ในระบบ Simulation ซึ่งจำลองสถานการณ์ฉุกเฉินมีอุกกาบาตพุ่งชนสถานีอวกาศนานาชาติจนได้รับความเสียหาย ผู้เข้าแข่งขันต้องเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JAVA เพื่อสั่งการให้หุ่นยนต์แอสโตรบีเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ที่กำหนด โดยจะต้องเคลื่อนเข้าไปอ่าน QR Code ตามจุดที่กำหนด และยิงเลเซอร์เข้าเป้าหมายเพื่อซ่อมแซมสถานีอวกาศนานาชาติ โดยคะแนนการแข่งขันจะคำนวณจากความแม่นในการยิงเลเซอร์สู่เป้าหมายของหุ่นยนต์แอสโตรบี และเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจ

ขณะนี้ทีมที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันสามารถเข้าไปทดลองประมวลผลโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาในเซิร์ฟเวอร์ของการแข่งขันได้ที่เว็บไซต์ https://jaxa.krpc.jp สำหรับการแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 ทีมชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท และได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์โลกในเดือนกันยายน 2565 ต่อไป

ด้าน ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์  สวทช. กล่าวเสริมว่า สำหรับหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันในครั้งนี้ คือหุ่นยนต์แอสโตรบี พัฒนาโดย NASA Ames Research Center ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและเทคโนโลยีที่ใช้กับยานอวกาศ

“หุ่นยนต์แอสโตรบีคือหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศที่ใช้งานอยู่จริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ คอยสนับสนุนและช่วยเหลือการทำงานของนักบินอวกาศ ซึ่งโครงการ The 3rd Kibo Robot Programming Challenge ในปีนี้จะมีเยาวชนจาก 12 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนปาล นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และไทย เข้าร่วมการแข่งขันในรอบชิงแชมป์โลก โดยมีนักบินอวกาศเป็นผู้ควบคุมการแข่งขันอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติและถ่ายทอดสดลงมาที่พื้นโลกด้วย”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

มิว สเปซ เร่งขยายกำลังการผลิต ผลักดันการสร้าง Space Supply Chain รายใหญ่ใน SEA

ซิสโก้ ตั้งเป้าผู้นำตลาดบริการซอฟท์แวร์ เพิ่มสัดส่วนรายได้จาก subscription แตะ 50% ช่วยธุรกิจไทยทรานฟอร์มสู่โลกดิจิทัล

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ