TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyสตรีมผ่านสมาร์ทโฟนเข้าสู่กระแสหลัก โอกาสสำหรับการโฆษณา

สตรีมผ่านสมาร์ทโฟนเข้าสู่กระแสหลัก โอกาสสำหรับการโฆษณา

รายงานใหม่ล่าสุดของ Adjust เรื่องการสตรีมผ่านสมาร์ทโฟน ระบุว่า นับแต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว 52.5% ของผู้บริโภคทั่วโลกใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการสตรีมคอนเทนต์วิดีโอมากขึ้น

การสตรีม Over The Top (OTT) กำลังบูมในช่วงของการระบาดทั่วโลกของไวรัสโควิด-19 ตามรายงานล่าสุด ซึ่งเพิ่งจะเผยแพร่วันนี้ โดย Adjust แพลตฟอร์มวิเคราะห์การตลาดแอประดับโลก ทั้งยังแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการบริโภคผ่านสมาร์ทโฟนกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งยังทำลายมายาคติที่เชื่อกันว่าการสตรีมส่วนใหญ่จะเกิดระหว่างการเดินทางไปหรือกลับจากที่ทำงาน 84% ของผู้บริโภคในประเทศที่เป็นเป้าหมายของการวิจัย บอกว่าในช่วงของการระบาดนั้น เขาใช้สมาร์ทโฟนเพื่อสตรีมคอนเทนต์มากกว่าเดิมหรืออย่างน้อยก็ไม่ได้ลดน้อยลงเลย

-เทลสกอร์ เผยตลาดอินฟลูเอนเซอร์ไทยโตทะลุ 2 พันล้านบาท ตั้งเป้าพัฒนาระบบโฆษณาดิจิทัล
-โซเชียล โทเคน (Social Token) เทรนด์เปลี่ยนโลกบันเทิง-โฆษณา-สื่อ

โดยเฉลี่ยแล้ว กว่าครึ่งของผู้บริโภคที่เราสอบถาม (52.5%) บอกว่าสตรีมคอนเทนต์วิดีโอมากขึ้นตั้งแต่มีการล๊อกดาวน์ มีเพียง 12% ของผู้บริโภคเท่านั้นที่สตรีมน้อยลง ซึ่งหมายความว่าผู้บริโภคมากกว่าคนเหล่านั้นสี่เท่าตัวกำลังใช้สมาร์ทโฟนสตรีมคอนเทนต์วิดีโออยู่

งานวิจัยนี้รวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 8,000 คนจากประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ตุรกี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีและประเทศจีน รายงานปี 2021 เรื่องการสตรีมผ่านสมาร์ทโฟนฉบับนี้ ยังพบว่าในประเทศที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อผ่านสมาร์ทโฟน คนทุกช่วงวัยใช้สมาร์ทโฟนในการสตรีมชนิดติดหนึบจนเป็นนิสัย กล่าวโดยรวม 90% ของ user อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ในประเทศจีน (89.8%) และตุรกี (88.9%) บอกว่าสตรีมผ่านสมาร์ทโฟนทุกวันหรืออย่างต่ำก็สัปดาห์ละครั้ง

“ความเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือของกิจวัตรการสตรีมผ่านสมาร์ทโฟนซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกและเกิดในทุกช่วงวัย สร้างโอกาสอันมหาศาลในเรื่องการโฆษณา และบทบาทใหม่ ๆ ของการวิเคราะห์กิจกรรมในสมาร์ทโฟน” คือคำกล่าวของ นายพอล เอช. มุลเลอร์, ผู้ร่วมก่อตั้งและ CTO ของ Adjust. “เมื่อเราเข้าใจเหตุผลและเวลาที่ผู้บริโภคเลือกจะสตรีม และรู้ว่าช่องทางกับแคมเปญไหนที่ส่งผลกระทบทางการตลาดสูงสุด เราก็จะมีศักยภาพชนิดที่ไร้ขีดจำกัด ในการสร้างฐาน user ซึ่งภักดีพร้อมด้วยมูลค่าตลอดชีพสูง”

หัวข้อน่าสนใจอื่น ๆ จากรายงานนี้ได้แก่

1.ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนสตรีมคอนเทนต์อย่างน้อยวันละครั้ง User ในประเทศจีน (93.8%) และตุรกี (91.9%) สตรีมบ่อยที่สุด คือตั้งแต่วันละครั้งหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เทียบกับสหรัฐอเมริกา 69.4%, ญี่ปุ่น 57.2% และสหราชอาณาจกร 45.7%

2.User ทุกช่วงวัยและทุกพื้นที่ใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงต่อการสตรีมแต่ละครั้ง พิสูจน์ให้เห็นว่าผู้ชมไม่ได้แค่แวะแทะเล็มคอนเทนต์ชิ้นสั้น ๆ เล็ก ๆ แต่ดูต่อเนื่องกันหลายตอนและดูหนังเป็นเรื่อง ๆ

-มิลเลนเนียลซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดที่สตรีมผ่านสมาร์ทโฟน ยังดูคอนเทนต์เป็นเวลานานกว่ากลุ่มอื่น ๆ ด้วย ระยะเวลาโดยเฉลี่ยคือเกิน 90 นาทีเล็กน้อย (94.2) ตามมาติด ๆ ด้วยเจ็นซี คือต่ำกว่า 90 นาทีเล็กน้อย (87.6)
-แม้ user อายุอย่างน้อย 55 ปีจะรั้งท้ายในข้อมูลชุดนี้ แต่ระยะเวลาเฉลี่ย 65 นาทีต่อครั้งสื่อว่าคนกลุ่มนี้กำลังอุ่นเครื่อง คือพร้อมจะตามกลุ่มอื่น ๆ มาติด ๆ

3.ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินไม่น้อยกับสตรีมมิ่งและบริการความบันเทิงชนิดออนดีมานด์อื่น ๆ เกาหลีนำลิ่วที่เดือนละ $42.68 เทียบกับสหรัฐอเมริกาที่ $33.58 และสหราชอาณาจักรที่ $34.82

ทีวีผ่านสตรีมมิ่งยังปลดล็อกโอกาสสำคัญเกี่ยวกับการใช้งานจอที่สองอีกด้วย

งานวิจัยของ Adjust ยังให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความแพร่หลายของการใช้งานจอที่สอง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วไป พร้อมกับการบูมของทีวีผ่านสตรีมมิ่ง (CTV) โดยเฉลี่ยแล้ว มากกว่าสามในสี่ (76%) ของผู้ตอบบอกว่าใช้สมาร์ทโฟนไปด้วยระหว่างดูทีวี พฤติกรรมการดูแบบนี้ชัดเจนขึ้นในสิงค์โปร์และประเทศจีน (85% ทั้งสองประเทศ) สหรัฐอเมริกาตามมาติด ๆ (83%)

ทางเลือกอันดับแรกของคนที่ใช้งานจอที่สองคือแอปโซเชียล ที่ 65.4% โดยเฉลี่ย ตามด้วยแอปธนาคาร (54.9%) และแอปเกม (44.9%) คนที่ใช้งานจอที่สองในประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิกมักหิวและสั่งอาหารเดลิเวอรี ประเทศจีนหิวมากกว่าประเทศอื่น (65.2%) เกาหลี (36.6%) และสิงคโปร์ (48.2%)

ผู้ลงโฆษณาสามารถใช้ประโยชน์จากเทรนด์การใช้งานจอที่สองนี้ได้ โดยใส่ call-to-action ลงในโฆษณาของตน เช่นให้ดาวน์โหลดแอปสมาร์ทโฟนผ่านทางคิวอาร์โค้ด สิ่งนี้มีศักยภาพในการสร้างประสบการณ์ที่ทั้งใหม่และมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ โดยข้ามสองดีไวส์พร้อมกัน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ