TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyหัวเว่ย เดินหน้าลงทุนต่อในไทย โฟกัสและขยายผล 5G-คลาวด์-โซลูชัน ดิจิทัล สีเขียว-สร้างระบบนิเวศดิจิทัล

หัวเว่ย เดินหน้าลงทุนต่อในไทย โฟกัสและขยายผล 5G-คลาวด์-โซลูชัน ดิจิทัล สีเขียว-สร้างระบบนิเวศดิจิทัล

ปี 2565 นี้ หัวเว่ยจะครบรอบ 23 ปีของการก่อตั้งบริษัทในประเทศไทย หัวเว่ยเดินหน้าต่อภายใต้พันธกิจ “Grow in Thailand, Contribute to Thailand” 

อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงาน “Meet the Press” ว่า ประเทศไทย คือ หนึ่งในตลาดยุทธศาสตร์ของหัวเว่ย ปีที่ผ่านมาหัวเว่ยได้ลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากและลงทุนต่อเนื่องในปีนี้ ทั้งในรื่องของ 5G คลาวด์ โซลูชันดิจิทัลเพื่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างและขับเคลื่อนระบบนิเวศดิจิทัลในประเทศไทยผ่านโครงการและความร่วมมือต่าง ๆ

ความสำเร็จของหัวเว่ยในไทย ปี 2564

ประเทศไทยถือเป็นตลาดสำคัญของหัวเว่ย และเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุด ตลอด 23 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งหัวเว่ย ประเทศไทยในปี 2542 

หัวเว่ยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย ลูกค้าและพันธมิตร และมีโอกาสร่วมพัฒนา 2G, 3G, 4G และ 5G ในประเทศไทย และภายใต้พันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย

  • หัวเว่ยได้รับรางวัล “Digital International Corporation of the Year” จากนายกรัฐมนตรีของไทยเป็นครั้งแรก และยังเป็นบริษัทข้ามชาติเพียงแห่งเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ในช่วงที่ผ่านมา
  • หัวเว่ยได้รับรางวัล แบรนด์ที่น่าเชื่อถือสูงสุด “Most Admirable Brand” จากผู้บริโภคและได้รับรางวัล “Thailand TOP Company Award” จากองคมนตรี ด้านโครงสร้างพื้นฐานยอดเยี่ยมเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล 
  • อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเลือกให้เป็นสุดยอด CEO ในด้าน ICT Solutions Excellence

สนับสนุนให้ ไทยเป็นผู้นำการใช้ 5G ในภูมิภาคอาเซียน 

หัวเว่ยเป็นผู้จำหน่ายชิ้นส่วนอันดับ 1 ในตลาดผู้ให้บริการ 5G ของประเทศไทย ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการเปิดใช้สถานีฐาน 5G มากกว่า 20,000 แห่ง จำนวนประชากรที่เข้าถึง 5G ครอบคลุมสูงถึง 70% และมีผู้ใช้ 5G ถึง 4.3 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้ใช้ในประเทศอาเซียนอื่น ๆ ถึง 2.5 เท่า อัตราการเข้าถึงเทอร์มินัล 5G และการรับส่งข้อมูล 5G เพิ่มเป็น 10% 

นอกเหนือจากงานโครงสร้างพื้นฐาน หัวเว่ยทำงานร่วมกับรัฐบาลและลูกค้า เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ 5G, ท่าเรือ 5G, และการเกษตร 5G ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด นับเป็นการวางรากฐานสำหรับการขยายตัวในอนาคต 

จำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.67 ล้านคนในปี 2564 อัตราการเข้าถึงเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 60.4% ถือว่าเป็นเครือข่ายที่มั่นคงสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตของผู้คนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

ในฐานะผู้นำเชิงรุกของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ธุรกิจองค์กรของหัวเว่ยมีส่วนร่วมด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม และในภาวะวิถีชีวิตใหม่หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 

หัวเว่ยได้รวมเทคโนโลยีไอซีทีเข้ากับอุตสาหกรรมหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์และโซลูชันสำหรับองค์กรของหัวเว่ยในประเทศไทยได้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 10 แห่งในปีที่ผ่านมา รวมถึงเมืองอัจฉริยะ, การเงิน, พลังงาน, การขนส่ง, การบริการอินเทอร์เน็ต (ISP), การศึกษา, การรักษาพยาบาล และอสังหาริมทรัพย์ ความไว้วางใจและการสนับสนุนจากพันธมิตรคือรากฐานสำคัญของธุรกิจองค์กรของหัวเว่ย 

ในปี 2564 หัวเว่ยมีพันธมิตรด้านการขายกว่า 800 ราย ด้านโซลูชันกว่า 40 ราย และพันธมิตรด้านการดำเนินงานกว่า 40 ราย รวมถึงพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลมากกว่า 30 รายในประเทศไทย

ผลักดันการใช้คลาวด์รากฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล

เมื่อการประมวลผลบนคลาวด์กลายเป็นรากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล หัวเว่ย คลาวด์ ได้เพิ่มการลงทุนในประเทศไทยต่อเนื่องมานานกว่า 3 ปี และได้เสริมศักยภาพให้กับคู่ค้าในท้องถิ่นมากกว่า 300 ราย ในกว่า 15 อุตสาหกรรม รวมถึงภาครัฐ, การศึกษา, และการเงิน 

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 หัวเว่ยได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูล Availability Zone แห่งที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร

หัวเว่ย คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์ระดับสากลรายแรกที่มีศูนย์ข้อมูลถึง 3 แห่งในไทย ด้วยการบริการที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ 

จากรายงานของการ์ทเนอร์ระบุว่า หัวเว่ย คลาวด์ มีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่เป็นอันดับสามในไทย และยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดคลาวด์ 

รายงานการสำรวจจากตัวแทนอิสระในปี 2564 เผยว่าการรับรู้ของสาธารณชนในประเทศไทยเกี่ยวกับ หัวเว่ย คลาวด์ เพิ่มขึ้นถึง 70% ร่วมสนับสนุนประเทศไทยในการสร้างอีโคซิสเต็มสตาร์ตอัพที่กำลังเติบโตและพัฒนาธุรกิจยูนิคอร์น ด้วยการเปิดตัวการแข่งขัน “Spark-Ignite” เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเข้าถึงสตาร์ทอัพกว่า 1,700 รายและมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมถึง 132 ราย

Green Tech

การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดประเด็นหนึ่ง ประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นผู้นำในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางของคาร์บอน

เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ หัวเว่ยจัดตั้งหน่วยธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ ให้บริการในไทยเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา ช่วยพัฒนาพลังงานสะอาดและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคพลังงานเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลจากรายงานของ IHS Markit และ Wood Mackenzie เปิดเผยว่า เซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะของหัวเว่ยครองอันดับ 1 ในตลาดโลกต่อเนื่องกันเป็นเวลา 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2558 และโซลูชันนี้ยังครองส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย 

นอกเหนือจากการสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ หัวเว่ยยังมุ่งมั่นที่จะมอบสิ่งดี ๆ คืนสู่สังคมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนที่เราทำธุรกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หัวเว่ยส่งมอบเทคโนโลยี 5G สำหรับการแพทย์ระยะไกล (telemedicine), อุปกรณ์ของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน, และโซลูชันระบบคลาวด์ให้กับโรงพยาบาลและชุมชนต่าง ๆ ในประเทศไทย และลงนามบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงแรงงานเพื่อส่งเสริมการจ้างงานกลุ่มผู้พิการ และเสริมศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีกว่า 41,000 คนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

กลยุทธ์ ปี 2565 ของหัวเว่ยในไทย

หัวเว่ย วางแผนลงทุนในประเทศไทย 4 ด้านหลัก

  • ประการที่ 1 เติมเต็มการใช้งาน 5G ด้วยการเชื่อมต่อที่แพร่หลาย 
  • ประการที่ 2 สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์ 
  • ประการที่ 3 กระตุ้นการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีชีวิตคาร์บอนต่ำด้วยดิจิทัล พาวเวอร์
  • ประการที่ 4 เสริมศักยภาพผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง 

ขับเคลื่อน 5G

5G กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไอซีที และการคาดการณ์ร่วมกันของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ONDE), Time Consulting และหัวเว่ยว่า ภายในปี พ.ศ. 2578 มูลค่าเศรษฐกิจที่รองรับเทคโนโลยี 5G จะสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท คาดการณ์โดยประมาณคิดเป็น 10% ของมูลค่าจีดีพีทั้งหมด 

หัวเว่ยจึงวางแผนขยายการใช้งาน 5G ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ในปี 2565 หัวเว่ย หวังว่า 5G จะครอบคลุม 70% ของจำนวนประชากร และอัตราการเข้าถึง 5G จะเพิ่มเป็น 20% จาก 10% ในปัจจุบัน ตามอัตราความพร้อมที่สูงถึง 16% ของทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม 

ในการร่วมมือกับลูกค้า หัวเว่ยจะสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวสู่ความผู้นำในภูมิภาคอาเซียนด้านการปรับใช้ 5G ในอุตสาหกรรมแนวดิ่งอย่างต่อเนื่อง 

ในปี 2565 จะเปิดตัวโรงพยาบาล 5G, รถพยาบาล 5G, และโซลูชัน AI ในโรงพยาบาล 20 แห่ง นอกจากนี้จะสร้างมาตรฐานใหม่ 3 ด้านในเมือง 5G (5G City) เพื่อรองรับการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย สอดรับกับนโยบายดิจิทัลของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เราวางแผนติดตั้ง 5G ในโรงงาน 100 แห่งใน EEC รวมถึงโรงงานประกอบรถยนต์ 5G

สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์

ตามรายงานของ Deloitte อัตราส่วนการใช้งานคลาวด์เป็นดัชนีชี้วัดสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล จากปี 2564 ถึงปี 2565 การเติบโตด้านการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ของบริษัทในไทยเพิ่มจาก 59% เป็น 78% และเราภูมิใจที่ หัวเว่ย คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวในประเทศไทยที่มีศูนย์เก็บข้อมูลในพื้นที่ถึง 3 แห่ง และการเปิดตัวศูนย์เก็บข้อมูลแห่งที่สาม Available Zone (AZ) ในเดือนมีนาคมนี้ 

ในปี 2565 หัวเว่ย คลาวด์ วางแผนเปิดตัวบริการด้านซอฟต์แวร์คลาวด์ (SaaS) ใหม่กว่า 80 รายการ เพื่อสนับสนุนธนาคาร, SMEs, และผู้ให้บริการเนื้อหา Over-the-top (OTT) ในการนำระบบคลาวด์มาใช้เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ หัวเว่ยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงดิจิทัล เพื่อต่อยอดความร่วมมือด้านคลาวด์และสนับสนุนความก้าวหน้าของเศรษฐกิจและสังคมไทย เรายังคงสนับสนุนบริการคลาวด์สำหรับภาครัฐ (Government Cloud Service) และยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 

ในปี 2565 หัวเว่ยวางแผนจัดการประชุมสุดยอด “Huawei Cloud and Connect” โดยมีผู้นำในอุตสาหกรรมกว่า 4,000 รายเพื่อรับฟังข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยสร้างสรรค์และจุดประกายทางความคิดร่วมกัน

สู่วิถีชีวิตคาร์บอนต่ำด้วย ดิจิทัล พาวเวอร์

หัวเว่ยมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล พาวเวอร์ อย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในด้านพลังงาน ในทศวรรษหน้า ความเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านพลังงานของประเทศไทยจะทำให้จีดีพีเติบโตขึ้นประมาณ 1% 

ปี 2565 นับเป็นปีสำคัญ เพราะเป็นปีเริ่มต้นของการประกาศแผนงานความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2593 ของประเทศไทย หัวเว่ยให้คำมั่นที่จะสนับสนุนประเทศไทยให้เป็นผู้นำนโยบายคาร์บอนต่ำในภูมิภาคอาเซียน และมั่นใจว่าจะบรรลุเป้าหมายนี้ด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันดิจิทัล พาวเวอร์ของหัวเว่ย ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปีในอุตสาหกรรมพลังงาน พนักงานด้านวิจัยและพัฒนาเฉพาะด้านกว่า 6,000 คน รวมถึงการจัดสรรเงินทุน 20% จากรายได้ทั้งหมดในปีที่ผ่านมา สำหรับด้านการวิจัยและพัฒนา 

ในปี 2564 ได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสำหรับธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ขึ้นที่กรุงเทพมหานคร 

ในปี 2565 ธุรกิจ ดิจิทัล พาวเวอร์ ของหัวเว่ย จะเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ในประเทศไทย เช่น ผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ไฟฟ้าพร้อมโซลาร์เซลล์อัจฉริยะรุ่นใหม่ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น และในช่วงครึ่งปีหลัง

“เราวางแผนเปิดตัวแท่นชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับและแท่นชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงประสิทธิภาพสูงสำหรับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า”

พัฒนาระบบนิเวศดิจิทัล

สิ่งที่เป็นรากฐานของการสร้างสรรค์นวัตกรรม คือ การพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านนวัตกรรมและการพัฒนาศักยภาพผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลรุ่นใหม่ ซึ่งในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีธุรกิจยูนิคอร์นใหม่ 2 แห่ง ซึ่งต่างมีมูลค่าบริษัทรวม 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หัวเว่ยในฐานะผู้นำเชิงรุกในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่มุ่งตอบแทนสังคม

  • หัวเว่ยมุ่งมั่นลงทุนอย่างต่อเนื่องในศูนย์เรียนรู้อีโคซิสเต็มเชิงนวัตกรรม 5G (5G Ecosystem Innovation Center) เพิ่มจำนวนพันธมิตรจาก 70 รายเป็น 120 รายในปีนี้ 
  • การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรของหัวเว่ย คลาวด์จะเติบโตอย่างรวดเร็วและคาดว่าจำนวนพันธมิตรจะเพิ่มขึ้นจาก 300 เป็น 500 ราย 
  • หัวเว่ยมุ่งสานต่อโครงการ Huawei Cloud Spark อย่างต่อเนื่องสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมและสตาร์ทอัพในประเทศไทย ช่วยเสริมศักยภาพนักพัฒนาโปรแกรมมากกว่า 2,000 รายและสตาร์ตอัพจำนวน 300 รายต่อเนื่องทุกปี 
  • สำหรับการสร้างผู้เชี่ยวชาญทางดิจิทัลรุ่นใหม่ มุ่งขยาย Huawei ASEAN Academy, Seeds for the Future Program ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมร่วมกับมหาวิทยาลัย 23 แห่ง เพื่อปลูกฝังการเรียนรู้ให้กับบุคลากรผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลถึง 20,000 คนในปี 2565

“เส้นทางข้างหน้ายังคงยาวไกลและเต็มไปด้วยความท้าทาย เราจะร่วมสร้างอนาคตที่สดใส ผมให้คำมั่นสัญญาว่าเราพร้อมให้บริการลูกค้าและสังคมไทยอย่างต่อเนื่องในการเดินทางสู่ยุคดิจิทัล”

ผลการดำเนินงานหัวเว่ยทั่วโลกปี 2564

แม้ว่าจะมีความกดดันจากปัจจัยภายนอก แต่หัวเว่ยก็ทำกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สถานะทางการเงินของบริษัทมีเสถียรภาพ สามารถลงทุนเพื่ออนาคตและรับมือกับความผันผวนได้อย่างมั่นคง กระแสเงินสดของเราเพิ่มขึ้น 75.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ผลกำไรจากธุรกิจหลักของเราเติบโตขึ้น ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและรับความผันผวนทางธุรกิจได้

หัวเว่ยยังคงลงทุนในด้านนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนา และในปี 2564 การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาคิดเป็น 22.4% ของรายได้ทั้งหมดของหัวเว่ย ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ในปี 2564 หัวเว่ยได้อันดับที่สองของการจัดอันดับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป และภายในสิ้นปี 2564 หัวเว่ยถือครองสิทธิบัตรอยู่มากกว่า 110,000 ฉบับ ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในผลงานที่มากที่สุดในระดับโลก

ในอนาคตข้างหน้านี้ หัวเว่ยได้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างสังคมความเป็นกลางทางคาร์บอนโดยการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านการวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลจากทั่วทุกมุมโลก เพิ่มความเปิดกว้างทางความคิด ต่อยอดนวัตกรรม และสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ๆ จากทั่วโลก หัวเว่ยมุ่งปรับปรุงทฤษฎีพื้นฐาน สถาปัตยกรรม และซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการแข่งขันในระยะกลางและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวพร้อมกัน

เมื่อเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างคาร์บอนต่ำจะเป็นก้าวใหม่สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน 

ที่ผ่านมานับว่าทรัพยากรบุคคล การเงิน และวิถีการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ยมีเสถียรภาพและสามารถรองรับการพัฒนาในอนาคตได้ 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ