TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyมิว สเปซ เดินหน้าเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติ หลังบีโอไอไฟเขียวอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน

มิว สเปซ เดินหน้าเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติ หลังบีโอไอไฟเขียวอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด บริษัทด้านดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศของไทย ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในชั้น A1 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประเภทกิจการ ผลิตหรือซ่อมอากาศยานหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับอากาศ

มิว สเปซ ได้ใช้การผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมขนาดเล็ก เพื่อยื่นขอการส่งเสริมแผน การลงทุน  ด้วยเป้าหมายที่ต้องการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมอวกาศอย่างจริงจัง แผนการลงทุนของ มิว สเปซ จึงมุ่ง เน้นไปที่  2 ประเด็นหลัก ได้แก่ เครื่องจักร และ การวิจัยและพัฒนา 

มิว สเปซ ยึดวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในเครื่องจักร  คือ เพื่อใช้ในการผลิต โดยรวมถึงวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer / Additive Manufacturing) เครื่องกัดซีเอ็นซี (CNC Machine) แขนกลเชื่อมโลหะ (Robotic Arms) ห้องคลีนรูม ระบบทดสอบการทรงตัว (Attitude Control Test Bed) ซึ่งจะประกอบไปด้วยระบบแบริ่งลม (Air Bearing) ระบบขดลวด เฮล์มโฮลทซ์ (Helmholtz Cage) และระบบการจําลองแสงอาทิตย์ (Sun Simulator) ส่วนการลงทุนเพื่อการวิจัยพัฒนาและออกแบบระบบ วิศวกรรมดาวเทียมนั้น จุดประสงค์เพื่อสร้างและต่อยอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมและอวกาศ

วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า การทำสิ่งใหม่ ๆ ที่รวมทั้งเทคโนโลยีและศิลปะ ใช้ทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และรากฐานทางความคิดที่ทีม มิว สเปซ ได้ลงมือ ปฏิบัติเองอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้ มิว สเปซ จึงสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้องค์กรชั้นนำต่าง ๆ ไว้วางใจร่วมงานและลงทุนกับ มิว สเปซ โดยมองว่าจุดแข็งของ มิว สเปซ คือ การมีบุคลากรที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีขีดความสามารถสูง

นอกจากนี้ ยังได้เปรียบในเรื่องโครงสร้าง พื้นฐานที่ประเทศไทยมี นั่นคือ เป็นฐานในการผลิตรถยนต์และอุตสาหกรรมหนัก อีกทั้งยังมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานที่สำคัญ อีกด้วย

จากการลงมือทำอย่างจริงจังและแผนการลงทุนทำให้ มิว สเปซ ได้รับการอนุมัติสิทธิและประโยชน์ โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล เป็นเวลา 8 ปี โดยไม่กำหนดวงเงิน ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอากรขอนำเข้าเพื่อวิจัย ยกเว้นอากรวัตถุดิบผลิตเพื่อ ส่งออก รวมถึงสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ได้แก่ การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50 เปอร์เซ็นต์เพิ่มเติม 5 ปี ตลอดจนสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษี

สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านี้มีส่วนช่วยในการดำเนินธุรกิจของ มิว สเปซ ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนที่ถูกลงทั้งในเรื่องการนำเข้าวัตถุดิบและการ ยกเว้นภาษี ความรู้ความสามารถที่เกิดขึ้น ศักยภาพที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลต่อโอกาสในการเติบโตของบริษัทฯ นอกจากจะเป็นประโยชน์ทางด้าน ธุรกิจแล้ว การได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอยังสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

โดยอุตสาหกรรมอวกาศนั้นจะสามารถสร้างอาชีพ โดยเฉพาะแรงงานทักษะสูง ซึ่งแผนของเราภายในระยะเวลา 3-5 ปี จะมีการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นหลักพันคนขึ้นไป สามารถสร้างการซื้อขายในสังคมและเพิ่มรายได้ให้คนในแวดวงที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มสูงขึ้น ในที่สุดก็จะกลายเป็นระบบนิเวศธุรกิจของเทค โนโลยีขั้นสูง รวมถึงเพิ่มความตื่นตัวมากขึ้นในเรื่องเทคโนโลยี

กลุ่มลูกค้าหลักของมิว สเปซ คือบริษัทเอกชน เช่น ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ต ภาครัฐ เช่น หน่วยงานเกี่ยวกับอวกาศและ หน่วยงานความมั่นคง หรืออุตสาหกรรมหนัก และบริษัทการบินและอวกาศรายอื่น ๆ

“ในภูมิภาค เราน่าจะเป็นผู้บุกเบิก เรามักจะถูกเปรียบ เทียบกับผู้เล่นทางฝั่งยุโรป  อเมริกา และ ออสเตรเลีย  มั่นใจว่า ในอีก 3-5 ปี ข้างหน้า สิ่งที่ลงทุนลงไปจะเริ่มส่งผลที่เพิ่มสูงขึ้น”

ปัจจุบัน ทีมงาน มิว สเปซ กำลังเร่งพัฒนาดาวเทียมต้นแบบภายในโรงงาน อีกทั้งยังกำลังขยายการปฏิบัติการไปที่โรงงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (ขนาด M) ซึ่งใหญ่กว่าเดิมถึง 10 เท่า สามารถรองรับการผลิตได้มากขึ้น

โดยเร็ว ๆ นี้ทางบริษัทฯ จะเตรียมเปิดตัวดาวเทียมที่ได้ พัฒนาเองจนสำเร็จในงานแสดงเทคโนโลยีของ มิว สเปซ ซึ่งจะทำการทดสอบยิงขึ้นสู่ชั้นอวกาศ และสามารถให้บริการได้ภายในปี 2564

ทั้งนี้ อีกหนึ่งเป้าหมายหลักของ มิว สเปซ คือการผลักดันให้ประเทศไทยสามารถต่อยอดและแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างทัดเทียม โดยอยากดึงขีดความสามารถของคนไทยให้สูงขึ้น ทำให้กลายเป็นพลเมืองโลก (global citizen) เพราะคนรุ่นใหม่ “คิดไกลฝันไกลและทำจริง” 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ