TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeเอไอเอส จับมือ กระทรวง พม. ขยายผล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” สู่ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงภัยไซเบอร์ 

เอไอเอส จับมือ กระทรวง พม. ขยายผล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” สู่ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงภัยไซเบอร์ 

ตั้งแต่ปี 2018 ที่เอไอเอสเริ่มต้นทำโครงการอุ่นใจไซเบอร์ ผ่านมา 6 ปี เอไอเอสยกระดับโครงการสู่ “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” ที่สร้างผลกระทบเชิงประจักษ์แล้วในกลุ่มเป้าหมายหลักกลุ่มแรกคือคุณครูและนักเรียน กว่า 320,000 คนทั่วประเทศ ล่าสุดเอไอเอสลงนามความร่วมมือ (MoU) กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อขยายผลโครงการอุ่นใจไซเบอร์ไปที่กลุ่มประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุ 

สมชัยเลิศ สุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ ร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะที่เอไอเอสเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่ให้บริการด้านดิจิทัลให้กับคนไทยกว่า 45 ล้านเลขหมาย สิ่งที่เอไอเอตระหนักอยู่ตลอดเวลานอกจากธุรกิจที่ได้ดำเนินการอยู่ คือการพัฒนาคุณภาพของคนไทย และให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมดิจิทัลที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อคนไทย เอไอเอสได้เริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อสร้างเครือข่ายส่งเสริมทักษะดิจิทัลให้คนไทยให้มีความอุ่นใจในการใช้งานโลกไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นภัยหลอกลวงจาก​ Call Center หรือ SMS เป็นต้น 

เอไอเอสได้แบ่งการทำงานในพันธกิจนี้เป็น 2 ส่วน คือ การนำเทคโนโลยีมาช่วยให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัย อาทิ บริการ Cyber Secure Net และการสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยในรูปแบบเรียนภายใต้หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณาสุขและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ช่วยร่างหลักสูตรโดยอ้างอิงจากมาตรฐานของกรอบการพัฒนาทักษะดิจิทัลทั่วโลก ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเอไอเอสได้นำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ นี้ไปให้นักเรียน คุณครู และบุคลากรในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศได้เรียนรู้ และเพื่อให้หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุด

“ในวันนี้จึงเป็นวาระที่จะขยายผลไปยังประชาชนทุกช่วงวัยที่เป็นเป้าหมายของกระทรวง พม. รวมถึงบุคลากรของกระทรวงที่จะมีทักษะดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจการใช้งานไซเบอร์ การปกป้องความเป็นส่วนตัว การป้องกันภัยไซเบอร์ที่จะมาในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการมีวิธัการปฏิสัมพันธ์กับการใช้งานออนไลนืได้อย่างเหมาะสมผ่านหลักสูตรนี้ และความรู้เกี่ยวกับพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA (Personal Data Protection Act B.E. 2562)”

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอส กรมสุขภาพจิต และ มจธ.​ขับเคลื่อนเป็นคลัสเตอร์ และใช้กลไกของคลัสเตอร์ในการเข้าถึงแง่ปริมาณ แต่ก็มีแกนคุณภาพ และการทำ MoU กับ พม. เป็นการขยายกลุ่มเป้าหมายจากคุณครูและนักเรียน ไปสู่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากกรมกิจการผู้สูงอายุ เพื่อขยายผลไปยังกลุ่มเปราะบางคือกลุ่มผู้สูงอายุ หลังจากนั้นได้ขยายการทำงานร่วมกับ 9 กรมของกระทรวงพม. ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย 

จากหลักสูตร 31 โมดูล สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคุณครูและนักเรียน เอไอเอส กรมสุขภาพจิต และมจธ. ได้พัฒนา หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ แบบเร่งรัดที่มี 4 โมดูลที่ครอบคลุมแกนหลัก คือ 4P 4ป และได้รับการยอมรับทางวิชาการ หลักสูตร 31 โมดูลใช้เวลาเรียน 6-8 ชั่วโมง หลักสูตรเร่งรัดใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมง 

ทั้งนี้ 4P 4ป  คือ 

  • Practice ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • Personality ปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์
  • Protection เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์
  • Participation รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม

โดยกระทรวงพม.จะสร้าง “ครูแม่ไก่” หรือที่เรียกว่า train the trainer ซึ่งตั้งเป้าว่าจะสร้างครูแม่ไก่ได้ประมาณ 11,500 คนที่เป็นเครือข่ายพม.ทั่วประเทศ การเทรนจะทำผ่านแพลตฟอร์มเลิร์นดิ (LearnDi) เทรนและทดสอบ พร้อมออกใบประกาศณียบัตรรับรอง “ครูแม่ไก่” ให้พม.ที่ผ่านการอบรม โดยเอไอเอสจะเป็น “พี่เลี้ยง” ให้ครูแม่ไก่ ในการขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในศูนย์ผู้สูงอายุทั่วประเทศของกระทรวงพม.ที่มีอยู่ราว 175,000 คน ก่อนขยายผลไปยังผู้สูงอายุทั่งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 13 ล้านคน 

ทั้งนี้ ความร่วมมือในครั้งนี้ ได้ปรับเนื้อหาของ หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ให้สอดคล้องกับทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่มให้เหมาะสม เช่น การเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในหลักสูตรสำหรับผู้ปฏิบัติงานในองค์กร

ย้อนเส้นทาง 6 ปีอุ่นใจไซเบอร์ 

สายชล กล่าวว่า เอไอเอสลุกขึ้นมาทำโครงการอุ่นใจไซเบอร์ เพราะตระหนักรู้แล้วว่าผู้คนเริ่มเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ประโยชน์มีมหาศาลแต่ความท้าทายก็มีมากมายตามไปด้วย ความท้าทายที่เมื่อคนท่องในโลกอินเทอร์เน็ต โอกาสที่คนเราจะพบข้อมูลที่เชื่อโดยไม่เฉลียวใจใด ๆ 

เอไอเอสจึงเริ่มโครงการอุ่นใจไซเบอร์ใน 2 แกน คือ การทำงานกับ Google ติดตั้งซอฟต์แวร์ Google Link เครื่องมือที่ให้ผู้ใช้มอนิเตอร์การท่องโลกอินเทอร์เน็ตของลูกหลานว่าเสพเนื้อหาที่ดีหรือไม่อย่างไร แกนที่สองเอไอเอสพัฒนาแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Secure Net ลูกค้าเปิดเบอร์ให้ดาวน์โหลดแอปนี้เพื่อปกป้องซิม 

เอไอเอสมองว่าเรื่องเทคโนโลยีอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ต้องเสริมเรื่ององค์ความรู้ด้วย ตั้งแต่ปี 2018 นำหลักสูตรความฉลาดทางดิจิทัล (DQ) ของสิงคโปร์เข้ามาสอน ใช้วิธีเดินสายขับเคลื่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งหลักสูตร DQ มีกรอบของหลักสูตรในการให้ความรู้ดีมากแต่ทว่ารายละเอียดของเนื้อหาและวิธีการสอนไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย เอไอเอสจึงคิดสร้างหลักสูตรโดยให้องค์ความรู้ผูกโยงกับบริบทของคนไทย

เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมโครงข่ายและให้บริการดิจิทัลต่าง ๆ แต่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ จึงได้ชวนกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มาร่วมพัฒนาหลักสูตร โดยใช้กรอบหลักสูตรที่เป็นสากล หลักสูตรคิดอยู่บนกรอบวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล พัฒนาเป็นหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ทำการทดสอลหลักสูตรกับนักวิชาการหลากหลายสาขา และปรับแก้ไขจนออกมาเป็นหลักสูตรและไปยื่นขอรับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้น หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองทางวิชาการ 

เมื่อได้หลักสูตรแล้ว ก็คิดต่อว่าจะขับเคลื่อนอย่างไรให้ได้ผลกระทบในวงกว้าง จากประสบการณ์ที่เคยนำหลักสูตรจากต่างประเทศเข้ามขับคลื่อนด้วยการเดินสายไปตามโรงเรียนต่าง ๆ ก็พบว่าหากต้องการขับเคลื่อนให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ในการขยายหลักสูตรไปยังโรงเรียน นักเรียน และประชาชนจำนวนมากได้ ไม่สามารถใช้วิธีเดิมได้ จึงได้ร่วมทำงานกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีโรงเรียนในสังกัด 20,000 กว่าโรงเรียนทั่วประเทศ ในการขับเคลื่อนหลักกสูตรนี้เข้าโรงเรียนทั่วประเทศเพื่อเปิดโอกาสให้คุณครูและนักเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน

การจะให้คนจำนวนมากเข้าถึงหลํกสูตรได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เอไอเอสจึงนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ขึ้ไนปอยู่บนแพลตฟอร์มเลิร์นดิ (LearnDi) ทำให้ทุกคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงหลักสูตรนี้ได้ ทุกที่ ทุกเวลา 24 ชั่วโมง ที่สำคัญจะเข้าผ่านเครือข่ายไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าเอไอเอส ปัจจุบันมีนักเรียนมากกว่า 320,000 คนเข้าถึงหลักสูตรนี้ นอกจากนี้ ยังมีความร่วมกับกรุงเทพมหานครในการนำหลักสูตรนี้เข้าถึงคุณครูและนักเรียนในโรงเรียนที่สังกัดกทม.อีกกว่า 437 โรงเรียน ที่มีคุณครูและนักเรียนรวมกันราว 250,000 คน

พม.พร้อมขยายผลสู่ผู้สูงอายุ 13 ล้านคน

จากสถิติที่พบจำนวนผู้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น ในปี 2566 ผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อจากการหลอกลวงผ่านสื่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดิม 22.40% ถูกหลอกให้ซื้อของที่ไม่ได้คุณภาพ 70.53% ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 14.06%  

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.)  ได้ดำเนินการทดลองนำร่องการอบรมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองดิจิทัล หลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ในกลุ่มบุคลากรของ ผส. และกลุ่มผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ความร่วมมือใสครั้งนี้เป็นการขยายผลองค์ความรู้ไปยังประชาชนกลุ่มเป้าหมายคนทุกช่วงวัย เช่น เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในโลกออนไลน์

“วันนี้มิจฉาชีพมีการเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ดังนั้น การมีโครงการเช่นนี้ จะช่วยสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับด้านสุขภาพและด้านดิจิทัลที่ดีให้กับพี่น้องประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือแม้แต่คนวัยทำงานทั่วไป เพราะว่าวันนี้มิจฉาชีพนั้นมีอยู่ทั่วทุกแห่ง และจะมีเทคนิคใหม่ ๆ ในการที่จะหลอกเอาเงินจากบัญชีของพวกเรา  โครงการนี้จะช่วยสร้างเกราะป้องกันให้กับพี่น้องประชาชนในการต่อกรกับมิจฉาชีพทั้งในรูปแบบออนไลน์และคอลเซ็นเตอร์ และเนื่องจากสถานการณ์ทั่วโลกในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นสงครามในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ทำให้เศรษฐกิจไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ จึงจะทำให้เกิดมิจฉาชีพขึ้นมา”

หากประชาชนท่านใดประสบปัญหาตกเป็นผู้เสียหายจากการหลอกลวงผ่านสื่อต่าง ๆ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือมายังศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ผ่านช่องทาง ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. 1300 และ Line OA “ESS Help Me” ที่พร้อมให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งโครงการนี้จะสามารถเข้าถึงพี่น้องประชาชนได้ถึงในระดับรากหญ้า และขณะเดียวกันเพื่อนข้าราชการกระทรวง พม. ทุกกรม โดยเฉพาะ ผส. สามารถต่อยอดไปยัง อพม. ในทุกพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศกว่า 350,000 คน ที่จะไปช่วยกันขยายความรู้และป้องกันไม่ให้พี่น้องประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ผู้เรียนสามารถเข้าไปเรียนรู้หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ได้ที่ www.learndiaunjaicyber.ais.co.th, แอปพลิเคชัน อุ่นใจ CYBER, www.m-society.go.thwww.dop.go.th และแอปพลิเคชัน Gold by DOP 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ