TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeGoogle News Initiative ร่วมกับโคแฟค (ประเทศไทย) จัดงาน “Trusted Media Summit APAC 2022” ถกความเชื่อมั่นสื่อ

Google News Initiative ร่วมกับโคแฟค (ประเทศไทย) จัดงาน “Trusted Media Summit APAC 2022” ถกความเชื่อมั่นสื่อ

เมื่อเร็วๆ นี้ Google News Initiative ได้ร่วมมือกับโคแฟค (ประเทศไทย) จัดงาน “Trusted Media Summit APAC 2022” เป็นงานที่รวมตัวของบุคคลากรที่ทำงานด้านสื่อมาร่วมปาฐกถาและเสวนาในหัวข้อต่าง ๆ ทั้งแนวคิดในการหาความจริงร่วมกันในยุคดิจิทัล การตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร การต่อสู้กับข้อมูลเท็จ และการสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชน อาทิ “ทำไมต้องมีสื่อที่สังคมเชื่อใจได้ในโลกที่ไม่น่าไว้ใจ” “เทคโนโลยีกับการเข้าถึงวารสารศาสตร์แห่งความจริง” “การกำกับสื่อร่วมสมัย ควรเป็นเช่นไร” “ต้นทุนและทักษะในการนำเสนอข่าวที่น่าเชื่อถือ” “สื่อที่สังคมเชื่อใจในวิกฤติสังคมไทย ทบทวนและทางออก” รวมไปถึง “เสียงสะท้อนจากภาคสังคมในการแสวงหาความจริงร่วมกัน”

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย “เพราะในสังคมปัจจุบันมีการปล่อยข้อมูลข่าวสารเท็จมากกว่าในอดีต ทั้งการปล่อยเพื่อนัยยะและเพื่อมุ่งโจมตี  ดังนั้น การสร้างความน่าเชื่อถือจึงต้องดำเนินการแบบครบวงจร ตรวจสอบและผลิตด้วยข้อมูลรอบด้านอย่างน่าเชื่อถือ ส่วนในการตรวจสอบข่าวปลอมเทคโนโลยีสามารถช่วยได้เพียงบางส่วน เช่น การตรวจสอบข้อมูลระหว่างส่ง แต่หากเป็นข่าวปลอมตั้งแต่ต้น อัลกอริทึมไม่สามารถช่วยได้  จึงยังต้องใช้มนุษย์ ใช้ความเชื่อใจ”

กระบวนการในการสร้างความไว้วางใจในสังคมไม่ได้มีแต่การใช้เทคโนโลยีเพียงวิธีเดียว แต่สามารถทำได้ผ่านกลไกทั้งของภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ขณะที่การสร้างสื่อที่เชื่อถือได้ (Trusted Media) ก็เป็นสิ่งจำเป็นและสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแม้กระทั่งโลกออนไลน์ที่ถูกมองว่าหาความน่าเชื่อถือไมได้ก็ยังมีสื่อออนไลน์ที่น่าเชื่อถืออยู่ รวมถึงองค์กรอย่างโคแฟคที่ตรวจสอบข้อมูลจริง-เท็จ 

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ร่วมก่อตั้ง ZTRUS กล่าวว่า “เพราะการนำเสนอข่าวไม่ได้มีความจริงพื้นฐานที่วัดได้ ดังนั้น เราจึงสร้างขึ้นมาเองโดยใช้กระบวนการและเทคโนโลยี โดยมีการเก็บข้อมูล ตรวจสอบ จัดเรียง และตรวจสอบอีกครั้ง กล่าวคือความเป็นจริงที่พูดถึงจึงอยู่ที่เราและขึ้นอยู่กับคนที่เราจะส่งให้”

Fact-Checking ในปัจจุบันมีปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยตรวจสอบการปลอมแปลงคลิปวีดีโอ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อตรวจจับเทคโนโลยี Deep Fake หรือ AI ที่ทำคลิปวีดีโอปลอม ไปจนถึงตรวจสอบว่าบทความที่เผยแพร่มีการลอกเลียนผลงานอันเป็นการละเมิดหรือไม่ หรือ Robo-Reporting เทคโนโลยีที่ช่วยเรียบเรียงประเด็นเมื่อผู้สื่อข่าวต้องการเขียนบทความ เพื่อให้บทความที่ออกมาน่าสนใจและตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร

นอกจากนั้น ยังมีเทคโนโลยีที่ช่วยตรวจการสะกดคำผิด-ถูก เป็นต้น และเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรที่มีความแม่นยำ100% ดังนั้นแล้วจึงกลับมาที่คำถามว่ามนุษย์จะยอมรับความไม่แม่นยำได้มากน้อยเพียงใด

ความท้าทายสำคัญอีกประการของสื่อ คือ สื่ออยู่ได้ด้วยระบบเรตติ้ง ซึ่งหากยิ่งมีคนติดตามมากรายได้จากโฆษณาก็เข้ามามาก ซึ่งนำมาสู่การเผยแพร่เนื้อหาที่หมิ่นเหม่

ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า “ที่ผ่านมา กสทช. ได้มีการพูดคุยกับองค์กรวิชาชีพสื่อในแนวทางร่วมกันกำกับดูแลมากขึ้น พยายามลดช่องว่างระหว่างกัน และเร็วๆ นี้ กสทช. จะมีการประกาศฉบับใหม่ ว่าด้วยการส่งเสริมเนื้อหาที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ก็ต้องถามว่าสื่อไทยให้คำนิยามของคุณค่าผ่านเนื้อหาที่จะส่งไปสู่ประชาชนอย่างไร นิยามของคุณค่าสื่อคืออะไร ซึ่ง กสทช. พร้อมจะทำงานกำกับดูแลร่วมกันซึ่งเป็นโมเดลที่เรามองไว้”

กิตติ สิงหาปัด ผู้ประกาศข่าว รายการข่าว 3 มิติ กล่าวว่า “การนำเสนอข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือทำให้เราสูญเสียทรัพยากรนักข่าวโดยไม่สร้างสรรค์ ซึ่งการจะเป็นนักข่าวและนำเสนอข่าวที่น่าเชื่อถือได้นั้นต้องเริ่มจากนักข่าว ซึ่งมีต้นทุนสำคัญมาจากจิตวิญญาณของคนที่ทำอาชีพนี้”

ภายในงานนอกจากสื่อมวลชนจากสำนักข่าวหลักต่างๆ อาทิ Thai PBS และ สำนักข่าวไทย อสมท. (MCOT) รวมถึงนักวิชาการจากภาคส่วนต่างๆ แล้ว ยังมีเสียงสะท้อนจากสื่อมวลชนท้องถิ่นและภาคสังคมมาร่วมพูดคุยในการแสวงหาความจริงร่วมกันอีกด้วย อาทิ ชุมชนหนองหญ้าไซ มูลนิธิสถาบันการจัดการวิถีพุทธเพื่อสุขและสันติ (สกพ.) เครือข่ายสื่อมุสลิม สถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดพะเยา

อนึ่ง เพื่อการพัฒนาการรายงานข่าวและนำเสนอข่าวสารให้ดียิ่งขึ้น Google News Initiative มีหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับจัดอบรมหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดให้กับผู้สื่อข่าวและบุคลากรในสำนักข่าวโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีรายละเอียดหลักสูตรดังนี้

1) หลักสูตรการใช้เครื่องมือดิจิทัล (Digital Tools for Journalism): การใช้เครื่องมือ Google ในการค้นหาข้อมูลขั้นสูง สำหรับใช้ในการค้นหาข้อมูลประกอบการรายงานข่าว อาทิ Google Advanced Search, Pinpoint, Google Drive, Google Maps และ Google Earth

2) หลักสูตรการตรวจสอบยืนยันข้อเท็จจริง (Verification): การใช้เครื่องมือดิจิทัลสำหรับการตรวจสอบ และยืนยันที่มาของข้อมูล อาทิ การยืนยันข้อมูลจากสื่อโซเชียล การตรวจสอบตัวตนของแหล่งข่าว การใช้เครื่องมือตรวจสอบที่มาของภาพ คลิปวีดีโอ การยืนยันเวลาและสถานที่เกิดเหตุจากภาพและคลิปวีดีโอ

3) หลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูลบน Google Trends: วิเคราะห์ความนิยมในการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้งาน Google ว่านิยมค้นหาอะไร นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อใช้เป็นประเด็นในการนำเสนอข่าว และตรวจสอบความนิยมต่อประเด็น หรือบุคคลที่ประชาชนสนใจในช่วงเวลาต่าง ๆ 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ