TH | EN
TH | EN
หน้าแรกThe MovementNew Product/Serviceการทางพิเศษฯ จับมือ หัวเว่ย วางโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทย

การทางพิเศษฯ จับมือ หัวเว่ย วางโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทย

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมมือในโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะ (Smart Expressway) ของประเทศไทย ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ รองรับแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพทางหลวงไทยอนาคต

เควิน เฉิง ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “หัวเว่ยจะนำเทคโนโลยีระดับแนวหน้า ซึ่งรวมถึงโซลูชันไอซีที คลาวด์ และโซลูชันนวัตกรรมอื่น ๆ ที่เกิดจากการร่วมมือพัฒนากับพาร์ตเนอร์มาประยุกต์ใช้สร้างไอเดียนวัตกรรม หัวเว่ยจะส่งมอบงานวิจัยและการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ และจะร่วมมือกับทาง กทพ. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโมเดลธุรกิจใหม่ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการลงทุน การร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการสอดรับกับพันธกิจของหัวเว่ยในด้านการเติบโตไปกับประเทศไทย พร้อมสนับสนุนประเทศไทย ทั้งยังตอบรับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยบนเส้นทางการมุ่งสู่ศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน”

เควินให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หัวเว่ยและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จะร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับทางพิเศษอัจฉริยะในระดับองค์กร และจะระดมทรัพยากรร่วมกัน เพื่อต่อยอดความร่วมมือและจะทบทวนความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้น ผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้งสองฝ่าย โดยหัวเว่ยจะให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคอย่างเต็มรูปแบบแก่แผนโครงการสร้างทางพิเศษอัจฉริยะในไทย

ด้านสุรเชษฐ์  เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “กทพ. และหัวเว่ย จะนำความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทและโครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาระบบ ITS และการกำกับดูแลบนทางพิเศษในอีก 10 ปีข้างหน้าของกระทรวงคมนาคม Huawei และ กทพ. ให้ความร่วมมือ การสนับสนุนทางด้านเทคนิคอย่างเต็มรูปแบบแก่แผนทางพิเศษอัจฉริยะ (Smart Expressway) 

โดยหัวเว่ยจะนำเทคโนโลยี ICT ที่ล้ำสมัย รวมถึงโซลูชัน ICT โซลูชันคลาวด์ และโซลูชันนวัตกรรมร่วมกันและอื่น ๆ สำหรับแนวคิดด้านนวัตกรรม และจะทำการจัดหาการวิจัยและพัฒนาที่จำเป็นเพื่อส่งมอบนวัตกรรม สำหรับโซลูชัน อีกทั้งยังจะทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมรูปแบบธุรกิจใหม่ ช่วยให้กทพ. เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนโครงการ โดยจะนำเสนอเป็นเทคโนโลยีแบบเปิดเพื่อให้เกิดการแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม และจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรม ในการพัฒนาการให้บริการทางพิเศษ นำนวัตกรรมมาปรับใช้ให้สอดคล้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสถาปัตยกรรมด้านไอซีทีให้ทันสมัยตอบรับกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ