TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyเอไอเอส NEXT หนุนไอเดียเจ๋ง แก้ปัญหาสังคมผ่าน Jump Thailand Hackathon

เอไอเอส NEXT หนุนไอเดียเจ๋ง แก้ปัญหาสังคมผ่าน Jump Thailand Hackathon

NEXT คือ หน่วยงานขับเคลื่อนนวัตกรรมของเอไอเอส มีหลายส่วนงาน ส่วนแรก คือ การเปลี่ยนพนักงานของเอไอเอสลุกขึ้นมาเป็นนวัตกรได้ ส่วนที่สอง คือ จะทำอย่างไรให้พันธมิตรของเอไอเอส หรือคนที่มีไอเดียดี ๆ สามารถมาสร้างนวัตกรรมกับเอไอเอสได้

-30 ปี เอไอเอส เดินหน้าใช้ 5G สร้างความยั่งยืนเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
-“สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ถอดบทเรียนความสำเร็จผ่านหนังสือ “30 ปี เอไอเอส ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา”

อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรม หรือ Novel Engine Execution Team เรียกย่อ ๆ ว่า NEXT ของ AIS กล่าวว่า NEXT มีการบริหารจัดการแบบ venture capital คือ แบ่งช่วงการเจริญเติบโตของนวัตกรรมเป็นเฟส ๆ ตั้งแต่ problem solution fit, product market fit และ product-business fit แต่ละขั้นตอนมีการดูแลที่แตกต่างกัน อาทิ problem solution fit จะดูแลเรื่องการเข้าใจปัญหา ใช้หลักการ design thinking ส่วน product market fit เน้นการทำ product development มีการกำหนดเป้าหมายชัดเจนว่าถึง milestone ไหน ต้อง deliver อะไรบ้าง และสุดท้าย คือ product-business fit คือ ส่วนของการเข้าสู่ตลาดกับเอไอเอส

ปัจจุบันมีนวัตกรรมที่เปิดตัวไปแล้ว ประมาณ​ 10 ผลงาน อาทิ โปรเจกต์ที่เรียกว่า School Van Clever เป็นโปรเจกต์ที่เข้ามาช่วยเหลือปัญหาการลืมเด็กไว้ในรถ ซึ่งตอนนี้เริ่มขายในพื้นที่ภาคใต้แล้ว School Van Clever เหมือนเป็นการทดลองตลาด เพราะพนักงานที่คิดเรื่องนี้อยู่ภาคใต้

ในพอร์ตของเอไอเอสที่กำลังบ่มเพาะอยู่มีอยู่ประมาณ 210 โครงการ มีทั้งเรื่อง AI Platform และ IoT Platform รวมถึงเรื่องที่เกียวข้องกับเทคโนโลยีของเอไอเอสเอง ซึ่งข้างในเอไอเอสเองหากจะพัฒนาเทคโนโลยีอะไรมาใช้เองก็จะเข้าโปรแกรมนี้เช่นกัน เพื่อลดความเสี่ยงของการลงทุนลง NEXT ใช้วิธีการบริหารจัดการแบบสตาร์ตอัพ

กรณีที่บริการนวัตกรรมเปิดตัวไปแล้วแต่ไม่สามารถเข้ามาอยู่ในบริการของเอไอเอสได้ เช่น แบรนด์อาจจะไม่ตรง บุคลิกอาจจะไม่ตรง ก็จะมีการประสานงานกับหน่วยงาน Invent ซึ่งเป็น venture capital ของฝั่ง Intouch ที่จะเอาทีมนี้ spin off ออกไปเป็นธุรกิจใหม่

“เวลาเอไอเอสจะทำนวัตกรรม ไม่ใช่ทำแบบไม่มีทิศทาง แต่มีการวางแผนยุทธศาสตร์ เรากำลังวิเเคราะห์ว่าจริง ๆ แล้ว telco อย่างเราจะบุกธูรกิจไหนบ้าง ปีนี้มีการบุกธุรกิจอยู่ 3 แบบ หนึ่ง คือ smart living, smart city สอง คือ smart logistic และ transportation และสาม คือ smart retail”

พอได้โจทย์นี้มา ทีมงาน NEXT ก็พยายาม scout หานวัตกรรมที่ใกล้เคียง เพื่อจะได้ไม่สร้างนวัตกรรมที่ไม่สอดคล้องกับทิศทางของบริษัท แต่ทีม NEXT ก็สนใจปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเช่นกัน จริง ๆ แล้ว ต้องมีผสมสองอย่าง ต้องมีทั้ง doing well และ doing good ด้วย

“NEXT ก่อตั้งมาประมาณปีครึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหาดั้งเดิมก่อน ต้องยอมรับว่า เอไอเอสก่อตั้งมา 30 ปี การที่ต้องทรานส์ฟอร์มอะไรบางอย่างเพื่อให้หน่วยงาน NEXT สามารถทำงานได้คล่องตัวขึ้น เราต้องใช้เวลาในการเตรียมตัว เรามีการใช้ OKR เพื่อเตรียมกระบวนการ การควบคุมงบประมาณ และการให้รางวัลและผลตอบแทนกับพนักงานที่สร้างผลงานนวัตกรรม ในช่วงปีครึ่งเราทำสำเร็จแล้ว”

ในปี 2021 สิ่งที่ NEXT จะทำ คือ เอาสิ่งที่เป็นแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทดู แล้วจะโฟกัสเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งพันธกิจของ NEXT คือ จะต้องมีสัดส่วนที่สร้างรายได้ที่เกิดจากงานวิจัยของทีม NEXT ให้กับเอไอเอส

จากที่ทำกับเองภายในองค์กร ตอนนี้เอไอเอสพร้อมเปิดรับไอเดียจากสาธารณะ ผ่านงาน hackathon ของ NEXT ที่เรียกว่า Jump Thailand Hackathon

“เอไอเอสมีพนักงานเยอะ และเราสร้างนวัตกรรมกันเองมาประมาณปีครึ่งแล้ว เราอยากรู้ว่าสังคมต้องการอะไรบ้าง เราอยากได้นวัตกรรมที่ตอบโจทย์สังคมและยั่งยืน คือ นวัตกรรมต้องอยู่ได้ด้วยตัวเองด้วย เอไอเอสมีเครื่องมือ มีแพลตฟอร์ม มีกระบวนการ มีรางวัล แทนที่เอไอเอสจะทำเองคิดเองกับพันธมิตร เอไอเอสต้องการเปิดเวทีนี้ให้กับสาธารณชน ให้เขามาช่วยคิด มาร่วมกันทำ สร้างนวัตกรรมด้วยกัน”

คนที่เข้าร่วม Jump Thailand Hackathon นอกจากจะมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการทำงานและเทคโนโลยีของเอไอเอส อาทิ 5G, AI, Blockchain รวมถึง Big Data ในการสร้างนวัตกรรม แล้วเอไอเอสยังมีเงินลงทุนในการสร้างนวัตกรรมร่วมกันด้วย และมีเงินรางวัลในการช่วยโปรโมทเพื่อให้นวัตกรมีกำลังในการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ประเทศไทยก้าวหน้าต่อไป

“ตอนนี้ประเทศไทยขาดความสนุก ขาดความมันส์ เราอยากให้คนไทยลุกขึ้นมา สร้างนวัตกรรมที่รู้สึกว่าทำสิ่งนี้แล้วประเทศไทยเท่สุดยอด อยากให้มีความรู้สึกฮึกเหิมมากกว่านี้ นี่คือ กรอบเขตงานของ hackathon ของเรา”

กำหนดการ Jump Thailand Hackathon คือ จากวันนี้สามารถเข้าไปที่ https://jumpthailand.earth เปิดรับไอเดียจนถึงสิ้นปี 2563 จากนั้นวิเคราะห์ว่าประเทศไทยมีปัญหาอะไรที่เร่งด่วนที่สุด 5-10 อันดับ จะประกาศโจทย์เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จากนั้นรับสมัครทีมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2564

“เดือนเมษายน 2564 จะเปิด hackathon เพื่อให้ pitch แข่งกันว่าไอเดียของใครเจ๋งที่สุด และจะมีรางวัลเป็นหลักแสน ผลงานไหนได้เข้าโครงการไปทำต่อจนกระทั่งออกมาเป็นสินค้า/บริการ เรามีรางวัลให้อีกเป็นล้าน”

หากเขาสามารถเข้าสู่ตลาดร่วมกับเอไอเอสได้ สามารถได้เงินลงทุนจาก VC คือ Invent ได้ และสามารถนำสินค้า/บริการมาขายร่วมกับสินค้าของเอไอเอสได้ จบ hackathon ออกมากลายเป็นพาร์ทเนอร์กันเลย

Jump Thailand Hackathon เน้นแก้ไขปัญหาสังคม NEXT หวังว่าโครงการที่ผ่าน hackathon ของเอไอเอส ส่วนหนึ่งจะไปช่วยแก้ปัญหาสังคมได้ ส่วนหนึ่งช่วยลดรายได้สำคัญของประเทศ เพราะปัญหาสังคมต้องใช้เงินภาษีในการแก้ปัญหาสังคม

“เราสามารถร่วมมือกันได้ เอาปัญหาสังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แล้วใช้แพลตฟอร์มของเอไอเอสและพันธมิตรของเอไอเอส คิดว่าสังคมจะได้ประโยชน์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การลุกขึ้นมากระโดดครั้งนี้ของเอไอเอส จะให้ทุกคนมากระโดดไปด้วยกันกับเอไอเอส”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ