TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistตลาดสบู่ ลื่นไถลไปไกล เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ตลาดสบู่ ลื่นไถลไปไกล เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ทำให้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการฆ่าเชื้อ เรื่องความสะอาด รวมทั้งผลิตภัณฑ์ Personal Care เติบโตสว่างไสว

โดยเฉพาะสบู่ ในปี 2563 มูลค่าตลาดรวมของสบู่ประมาณ 16,000 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นสบู่ก้อน 9,000 ล้านบาท การเติบโตของกลุ่มสบู่เหลว มีมูลค่าทางการตลาดรวมประมาณ 7,400 ล้านบาท   

ทั้งนี้สบู่ก้อนและสบู่เหลว ถูกแบ่งออกเป็น 4 เซกเม้นท์ ใหญ่ ๆ คือ

  • สบู่แอนตี้แบคทีเรีย มีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 35  
  • สบู่สมุนไพร เป็นอีกประเภทที่เติบโตสูงมากกว่าร้อยละ 40 โดยเฉพาะสบู่สมุนไพรแบรนด์ไทย 
  • สบู่เด็ก สัดส่วนประมาณร้อยละ 15
  • สบู่อื่น ๆ ประมาณร้อยละ 10 

ก่อนหน้านี้มีเซกเม้นท์ สบู่เพื่อความงาม แต่ปัจจุบันถูกกระจาย บางส่วนนำมารวมในสบู่สุมนไพร และบางส่วนอยู่ในสบู่อื่น ๆ เนื่องจากมีการแบ่งตามวัตถุดิบที่ผสมในสบู่ ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก  

ที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีแบรนด์สบู่จากในประเทศและต่างประเทศมากมาย แต่ปัจจุบันมีการแบรนด์จำนวนน้อยลง บางแบรนด์หายไปจากตลาด สบู่ก้อนแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2490 คือ นกแก้ว จากนั้นมีบริษัทต่าง ๆ นำเข้าสบู่มาจำหน่าย เช่น ผลิตภัณฑ์เริ่มแรกของของพีแอนด์จี อย่างสบู่ไอเวอรี่  สบู่โดรฟ สบู่ลัก สบู่แคร์ สบู่วาสลีน ฯลฯ

ในส่วนเซกเม้นท์ แอนตี้แบคทีเรียมี 2 ค่ายใหญ่ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด คือ แดทตอลและโพรเทคส์  มีแบรนด์เล็ก ๆ อย่าง เซฟการ์ด  อาเซปโซ ด้วย แต่เมื่อต้นปี 2563 สบู่ไลฟ์บอย ของค่ายยูนิลีเวอร์ ที่ห่างหายไป 40 ปี  ได้กลับมาบุกตลาดอีกครั้งด้วย เซกเม้นท์ สบู่แอนตี้แบคทีเรีย นี้เช่นกัน เพื่อเข้ามาตอบโจทย์คนที่รักความสะอาด ในภาวการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโรค ซึ่งต้องจับตาดูว่าจะสามารถแจ้งเกิดในประเทสไทยได้อีกครั้งหรือไม่

เซกเม้นท์ที่น่าสนใจ คือ สบู่สมุนไพร เป็นสบู่แบรนด์ไทยที่ แบรนด์อินเดอร์ แทบจะไม่มีส่วนแบ่งทางการตลาดในเซกเม้นท์นี้เลย  แม้จะมีความพยายามในการทำสบู่ผสมสมุนไพรออกมาบ้าง แต่ไม่สามารถเข้ามาในตลาดนี้ได้ ในส่วนของแบรนด์ไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในตลาด มีจำนวนมาก ทั้งสบู่เบนเนท  ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท พาภิญโญ กรุ๊ป จำกัด  สบู่อิงอร  ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ดีเอฟที (ประเทศไทย) จำกัด  สบู่วิภาดา ผลิตภัณฑ์ของ  บริษัท วีเอส 09 ออริจินอล เฮิร์บ จำกัด นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายแบรนด์ เช่น สบู่รอว์ร่า ตราคนใส่แว่น สบูมาดามเฮง  สบู่ไหมทอง สบู่ตราดอกบัวคู่  สบู่เบญจา

นอกจากจะได้รับความนิยมในประเทศและ ยังมีการส่งออกสบู่สมุนไพรไทย ไปยังต่างประเทศด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ ข้อมูลจาก อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยว่า ในปี 2562 ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าสบู่และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวอันดับที่ 9 ของโลก มีมูลค่าส่งออกกว่า 279 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นมูลค่าการส่งออกไป18 ประเทศคู่เอฟทีเอ สูงถึง 221 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของการส่งออกสินค้าสบู่ของไทยทั้งหมด สำหรับช่วง มกราคม – กุมภาพันธ์ ปี 2563 ไทยส่งออกสบู่สูงถึง 48 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสบู่ของไทย มีจุดเด่นคือ ความแปลกใหม่และการมีส่วนผสมจากวัตถุดิบธรรมชาติหรือสมุนไพรที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เป็นที่ต้องการของชวต่างชาติมาก

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่าง สำหรับผู้บริโภค คือ ก่อนหน้านี้ที่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยอดขายสบู่ก้อนตกลงมาเพราะผู้บริโภคหันไปนิยมใช้สบู่เหลว ด้วยเหตุผล 2-3 ข้อ คือ สบู่ก้อนใช้ยาก ต้องมีที่ลอง และเวลาถูมักลื่นหลุดจากมือ ในขณะที่สบู่เหลวสามารถปั๊มออกมาใช้เพียงแค่กดครั้งเดียว ที่สำคัญผู้บริโภคมีความกังวลว่า สบู่ก้อนอาจเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้

ในเวลาต่อมา มีผลการศึกษาจากสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า แบคทีเรียไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการล้างมือ และมีงานวิจัยจากนักสาธารณสุขยืนยันว่า การล้างมืออย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะจากสบู่ประเภทใด ก็สามารถป้องการเชื้อโรคได้ ทำให้อัตราการเติบโตของสบู่ก้อนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้น เมื่อกระแสการรักษ์โลก เพราะการใช้สบู่เหลวก่อให้เกิดขยะพลาสติก ทั้งขวดพลาสติก จุกกดปั๊ม และสติกเกอร์

แต่ไม่ว่าจะเป็นสบู่แบบก้อนหรือสบู่เหลว ขอให้ทุกคนล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี  บ่อย ๆ เพื่อป้องกัน ไม่ใช้เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายในภาวะแพร่ระบาดของโควิด – 19 นี้

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ