TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyสพฉ. ผนึก A-MED และพันธมิตร ปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

สพฉ. ผนึก A-MED และพันธมิตร ปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จับมือ 8 พันธมิตร ปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการปฏิบัติการและให้บริการในรูปแบบดิจิทัล (EMS Digital Transformation) ขับเคลื่อนภารกิจด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยข้อมูลอย่างเต็มตัว (EMS Data-Driven) นำไปสู่การบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ เท่าเทียม ทั่วถึง และมีมาตรฐาน ให้กับประชาชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

นาวาเอกนายแพทย์พิสิทธิ์ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวว่า “สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ให้ความสำคัญของการปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และการขับเคลื่อนภารกิจด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยข้อมูล เพื่อนำไปสู่การยกระดับการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในรูปแบบดิจิทัลทั้งระบบ จึงได้ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดโครงการการปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดทำเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการข้อมูล หรือเป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการบูรณาการ แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการแพทย์ฉุกเฉินของทั้งประเทศ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ชื่อโครงการว่า National EMS Data Exchange Platform

National EMS Data Exchange Platform มีองค์ประกอบแพลตฟอร์มกลางที่สำคัญ ได้แก่

  • นโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)
  • มาตรฐานชุดข้อมูล (Data Set and Standard)
  • มาตรฐานการเข้าถึงข้อมูล (Data Access Control)
  • การบริหารจัดการข้อมูลเชิงคุณภาพ (Data Quality Control)
  • การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security Control)

โดย มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการแพทย์ฉุกเฉินทั้งระบบและเป็นมาตรฐานของประเทศ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้เรียนเชิญผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญทั้งสิ้น 8 แห่ง ได้แก่

  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) หรือ DGA
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • บริษัท Coraline
  • บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT)
  • บริษัท Microsoft
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ

ร่วมแถลงข่าว ความร่วมมือ บทบาทหน้าที่ และภารกิจที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการฯ ดังกล่าว

ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ A-MED สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวว่า “ก่อนหน้าที่จะมีโครงการตามความร่วมมือนี้ A-MED สวทช. ได้ช่วยพัฒนาศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินทางการแพทย์ หรือ D1669 อันประกอบด้วย

  • ส่วนแรกคือ การพัฒนาระบบ Call Center ที่แต่เดิมรับได้ในช่องทางเสียง มาเป็นแบบ Total Conversation มารองรับการสนทนาแบบ ภาพ เสียง ข้อความ และพิกัดตำแหน่งผู้โทร มีการเชื่อมกับศูนย์ล่ามภาษามือของศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรีอ TTRS และศูนย์ล่ามภาษาต่างประเทศของตำรวจท่องเที่ยว ทำให้ประชาชนทั่วไป คนพิการทางการได้ยิน นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ สามารถเข้าถึงบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
  • ส่วนที่สองคือ การพัฒนา Telemedicine บนรถปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ ทำให้แพทย์อำนวยการเห็นข้อมูลสัญญาณชีพและ Video Call คุยกับเจ้าหน้าที่บนรถปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยในช่วงนำส่งโรงพยาบาล และโรงพยาบาลก็ทราบข้อมูลในช่วงส่งต่อทำให้เมื่อถึงโรงพยาบาลก็สามารถรักษาต่อได้ทันที

บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของ A-MED

A-MED สวทช. จะได้ดำเนินการพัฒนาใน 4 ส่วนคือ

  1. Data lake สำหรับการจัดเก็บข้อมูลกลางที่มีขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Big Data มีความยืดหยุ่นในการรองรับข้อมูลทุกอย่าง และขยายขนาดได้
  2. EMS Gateway เป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลใน Data lake ออกแบบให้มีความปลอดภัยทางไซเบอร์, รองรับการเรียกใช้งานพร้อมกันได้ และบันทึกข้อมูลการเรียกใช้ เพื่อตรวจสอบย้อนกลับ
  3. Single Sign-On (SSO) เป็นระบบยืนยันตัวบุคคลกลางที่ให้ทุก Service มาเรียกใช้ ทำให้สะดวกต่อผู้ใช้งานใช้ User และ password เดียวก็สามารถเข้าทุก Service
  4. เชื่อมต่อ EMS Gateway เข้ากับ D1669 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายนอกกับศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานประจำจังหวัด เช่น การเชื่อมต่อกับ DGA-RC ของ สพร. เพื่อส่งข้อมูลผู้ป่วย Covid-19 เคสสีแดงที่อยู่ Home Isolation ไปที่ระบบ D1669 ของศูนย์รับเรื่องและจ่ายงานฉุกเฉินทางการแพทย์ประจำจังหวัดให้จัดรถไปรับผู้ป่วยที่บ้านไปส่งโรงพยาบาล

“การได้มีโอกาสในการดำเนินโครงการครั้งนี้ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านการบูรณาการ แลกเปลี่ยน เชื่อมโยงข้อมูลด้านการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังทำให้ ลดต้นทุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวนี้ในภาพรวมของประเทศ สุดท้ายประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง มีมาตรฐาน ทันสมัย และมีความยั่งยืน” นาวาเอกนายแพทย์พิสิทธิ์ กล่าว

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

AIS Academy ชวนคนรุ่นใหม่เข้าร่วมอบรมการเป็นสตาร์ตอัพ ผ่านโครงการ “JUMP Bootcamp 2022” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Redhat เผยผู้นำองค์กร ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ไฮบริดคลาวด์มากขึ้น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ