TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessทำไมต้องเลือก “ดูแลหัวใจ” ที่บำรุงราษฎร์

ทำไมต้องเลือก “ดูแลหัวใจ” ที่บำรุงราษฎร์

รู้หรือไม่มีผู้ป่วยหัวใจจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเนื่องจากการเข้าถึงการรักษาที่ช้าเกินไป การวินิจฉัยที่อาจคลาดเคลื่อน ดังนั้นการดูแลหัวใจด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์และรักษาในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นทางเลือกที่ดีในการดูแลรักษาโรคหัวใจ เพราะหัวใจคืออวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกาย

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ หนึ่งในสถานพยาบาลชั้นนำของไทยที่รองรับทั้งคนไทยและชาวต่างชาติมานาน ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้เปลี่ยนจากศูนย์หัวใจเป็นสถาบันโรคหัวใจ โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่ที่มากกว่าการรักษา แต่เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ วิจัยและคิดค้นนวัตกรรมการรักษาโรคหัวใจสมัยใหม่ เนื่องจากโรคหัวใจมีความซับซ้อนและผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างแม้จะเป็นโรคเดียวกัน เนื่องจากพันธุกรรมหรือยีนของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน

นศ. วิศวะมหิดล คิดค้น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง ช่วยลดระดับไขมันในเลือด

สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นหนึ่งในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากวิสัยทัศน์ของทีมผู้บริหารและศ.นพ.กุลวี เนตรมณี แพทย์ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิกริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ มีแนวทางการรักษาโดยให้ ‘ผู้ป่วย’ เป็นศูนย์กลาง เน้นการรักษาแบบเฉพาะรายบุคคลตามสาเหตุและอาการของผู้ป่วย โดยดูแลต่อเนื่องตั้งแต่การวินิจฉัยหาสาเหตุและการวางแผนการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรักษาด้วยยา เทคนิคการรักษาใหม่ ๆ การใช้เครื่องมือกระตุ้น รวมถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ 

อีกทั้งมีการตรวจวิเคราะห์พันธุกรรม เพื่อค้นหาความเสี่ยงก่อนเกิดโรคใน 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดใหญ่โป่งพองและปริแตกและโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนการใช้ชีวิตและป้องกันการเกิดโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรรมได้ โดยมีบริการครอบคลุมกลุ่มโรคดังนี้ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลว โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด รวมถึงการคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาวะของหัวใจ

สถาบันโรคหัวใจความเป็นเลิศทางการแพทย์บำรุงราษฎร์

เภสัชกรหญิงอาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าประชากรโลกกว่า 18 ล้านคนต่อปีเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด การเกิดโรคหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคตอันใกล้เนื่องจากผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับการบริการและการป้องกันโรคหัวใจ รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ และการประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดระยะเริ่มต้น จากความดันโลหิตสูงและระดับคอเลสเตอรอลอีกด้วย เพื่อรับมือกับจำนวนเคสโรคหัวใจและอาการแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องที่เพิ่มสูงขึ้น 

ทั้งนี้ สถาบันโรคหัวใจมีแพทย์ชำนาญการสามารถรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีอาการซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งของทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพหลากหลายสาขาที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แพทย์จุฬาฯ ผนึก ทรู ดิจิทัล ใช้เทคโนโลยี AR ช่วยสร้างภาพจำลอง ฝึกการกู้ชีพพื้นฐาน

อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักสำคัญของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์คือการสร้างความเป็นเลิศใน 4 แกนหลัก ได้แก่ 1.ความเป็นเลิศด้านบุคลากร (People Excellence) โดยมองว่าบุคลากรโรงพยาบาล คือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด โรงพยาบาลฯ มีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องในการสรรหา สร้าง รักษาและพัฒนาบุคลากรให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร ตลอดจนปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งจากรุ่นสู่รุ่น 2.ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Clinical Excellence) การแพทย์ นับเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้รับบริการ ซึ่งการยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Center of Excellence) หนึ่งในนั้นคือ สถาบันหัวใจ 

3.ความเป็นเลิศด้านคุณภาพและความปลอดภัย (Quality and Safety Excellence) คุณภาพและความปลอดภัย มีการให้องค์กรอิสระภายนอกเข้ามาตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล (JCI), มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ‘ขั้นก้าวหน้า’ (A-HA), การรับรองจาก Global Healthcare Accreditation (GHA) ในระดับความเป็นเลิศมาตรฐานสากลในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เดินทางเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทย เป็นต้น 

และ 4.ความเป็นเลิศในการส่งเสริมประสบการณ์ผู้ป่วย (Patient Experience Excellence) ใช้แนวปฏิบัติที่ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการรักษาพยาบาล นำไปสู่การให้บริบาลด้วยความเอื้ออาทรทำให้ผู้ป่วยและผู้ใช้บริการได้รับประสบการณ์เชิงบวก เกิดความประทับใจและบอกต่อไปยังบุคคลอื่นๆ 

ศูนย์การแพทย์ทันสมัยระดับ World class 

ศ.นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิกริมลอสแองเจลีสสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ มุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์การแพทย์ที่ทันสมัยและให้การรักษาที่ครอบคลุมโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งโรงพยาบาลฯ มีแผนก Cardiac Care Unit (CCU) ที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขั้นวิกฤตและผู้ป่วยหลังการผ่าตัดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้กลับมาฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับมามีชีวิตปกติได้ และในฐานะศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ ได้ยกระดับความรู้ด้านการแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยระดับโลก เพื่อให้ผลลัพธ์ในการรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพสูงสุด 

“บำรุงราษฎร์มีความพร้อมทุกประการในการบริบาลผู้ป่วยอย่างดีที่สุด ทีมผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคนิคการรักษา งานวิจัยช่วยให้ทีมแพทย์ได้เรียนรู้ พัฒนา และค้นพบวิธีการรักษาใหม่ ๆ ที่ดีขึ้น เราไม่เคยหยุดพัฒนาและมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จให้มากขึ้น” ศ.นพ.กุลวี กล่าว

ทั้งนี้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ลงทุนกับเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์มหาศาล โดยอุปกรณ์ทางการแพทย์บางอย่างไม่ได้ให้ผลตอบแทน ซึ่งตัวอย่างงานวิจัยที่ผ่านมา ได้แก่ โรคใหลตาย ทีมแพทย์ใช้เวลากว่า 30 ปี ในการติดตามการรักษาโรคใหลตายด้วยการจี้พังผืดบริเวณพื้นผิวของหัวใจห้องขวาล่าง นอกจากนี้มีการทำวิจัยเรื่องประโยชน์และข้อจำกัดในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้หัวใจผ่านสายสวนในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ศ.นพ.กุลวีกล่าวต่อว่า สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ ยังเป็นศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและขยายขอบเขตการรับรักษาไปยังทุกแห่งของโลก โดยมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากทั่วโลกรวมถึงสหรัฐอเมริกาและยุโรป ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะของบำรุงราษฎร์มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการจี้หัวใจผ่านสายสวนในผู้ป่วยที่มีอาการ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เนื่องจากเป็นสถานที่เพียงไม่กี่แห่งในโลกที่ศึกษาการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (CFAE ablation) ร่วมกับเทคโนโลยี CardioInsight ตรวจจับหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยไม่ต้องมีการผ่าตัดหรือสอดเครื่องมือใด ๆ อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2559 

ปี 2565 สถาบันหัวใจสร้างความสำเร็จระดับโลก

นพ.อชิรวินทร์ จิรกมลชัยสิริ แพทย์ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศาสตร์โรคหัวใจเป็นสาขาที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับอีกหลายสาขา สาขาย่อยต่าง ๆ ของศาสตร์นี้มุ่งเน้นการรักษาเฉพาะส่วนของหัวใจ ดังนั้น ความเข้าใจในส่วนประกอบต่าง ๆ ของหัวใจจึงเป็นสิ่งสำคัญในการให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีผลการรักษาผู้ป่วยที่ยอดเยี่ยมเป็นที่น่าพอใจ

ทั้งนี้ในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยแต่ละรายมีกระบวนการพื้นฐานที่เหมือนกันเป็นมาตรฐานคือ ซักถามประวัติผู้ป่วย ประวัติคนในครอบครัว อาการผิดปกติที่สังเกตได้ด้วยตัวเอง การตรวจร่างกายและวินิจฉัยผลการตรวจร่างกาย ต่อจากนั้นหากมีอากาซับซ้อนอาจต้องตรวจในระดับของยีน เพื่อดูพันธุกรรม เช่น กรณีโรคไขมันในเลือดสูงจะไม่ตอบสนองกับยาลดไขมันในเลือดสูงหากมีพันธุกรรมของโรคหัวใจ เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยด้วยการตรวจระดับยีนสามารถรู้ได้ว่าควรใช้ยาลักษณะใดในการรักษา เป็นการรักษาที่ตรงจุดและได้ประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้จะต้องมาจากการสะสมประสบการณ์ในการวินิจฉัยและการทำวิจัยและทดสอบการรักษารวมถึงการติดตามผลวิจัยใหม่ ๆ จากหลายแหล่งความรู้

นพ.อชิรวินทร์ กล่าวต่อว่า ผลลัพธ์การรักษาแสดงให้เห็นว่าสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพระดับโลก ดังนี้ 1.โรคหลอดเลือดหัวใจมีการวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่อาจนำมาสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต โดยในปี 2565 ได้รักษาโดยการสวนเส้นเลือดหัวใจและการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด รวมทั้งสิ้น 812 ราย โดยประสบความสำเร็จ 99.2% ในขณะที่สถิติความสำเร็จของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 95% การเกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่ที่ 0.39% ในขณะที่สถิติการเกิดภาวะแทรกซ้อนของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 2.65%. โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการเพียง 1 วันหลังการรักษา 

2.โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะและสรีรวิทยาไฟฟ้า มีการวินิจฉัยและการควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจรวมถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วและภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอื่น ๆ ในปีที่ผ่านมา รักษาด้วยสรีรวิทยาไฟฟ้าทั้งหมด 183 ราย อัตราความสำเร็จอยู่ที่ 100% ได้จี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง เพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว โดยมีอัตราภาวะแทรกซ้อนอยู่ที่ 4.35% ในขณะที่สถิติการเกิดภาวะแทรกซ้อนของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 6.5%การรักษาภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วมีอัตราความสำเร็จที่ 100% โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน  

3.การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยการใช้สายสวนแบบไม่ต้องผ่าตัด (TAVR/TAVI) เน้นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจตีบตัน ลิ้นหัวใจแคบลงและขัดขวางการไหลเวียนของเลือด สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ ได้รักษาการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมด้วยการใช้สายสวนแบบไม่ต้องผ่าตัดไปทั้งสิ้น 26 ราย ซึ่งถือเป็นจำนวนเคสที่มากที่สุดในโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย อัตราความสำเร็จอยู่ที่ 100% โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน  

4.ภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรงและการปลูกถ่ายหัวใจ มีการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรงรวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากทีมสหสาขาวิชาชีพ หรือจำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายหัวใจ สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวที่สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจได้ และได้รับการรับรองจาก Joint Commission International อัตราการรอดชีวิตหลังจากปลูกถ่ายหัวใจใน 1 ปี อยู่ที่ 100% โดยไม่มีอาการแทรกซ้อน  

5.การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ คือการผ่าตัดเผื่อเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจที่ตีบตันหรือแคบลง เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น ในปีที่ผ่านมาได้ผ่าตัดหัวใจไป 430 ราย ในจำนวนนี้มี 71 รายที่เป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลเป็น 0% ในขณะที่สถิติการเสียชีวิตของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 2.1% ไม่มีรายงานของภาวะสมองขาดเลือดหลังการผ่าตัดในขณะที่สถิติของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3% 

6.การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจมีการออกแบบดูแลการออกกำลังกายและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคหัวใจและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่มีอยู่ช่วยให้ 100% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจใช้ชีวิตตามปกติได้ภายใน 7 วัน ซึ่งสถิติเฉลี่ยอยู่ที่ 90% และ 97% ของผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ภายใน 4 วัน ซึ่งสถิติเฉลี่ยอยู่ที่ 90%

7.โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีการศึกษาพันธุกรรมที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ และโรคไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์ เป็นต้น ปัจจุบันมีความรู้เรื่องพันธุกรรมพัฒนาไปมากจนสามารถระบุยีนที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ การตรวจรหัสพันธุกรรมช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจแต่ยังไม่แสดงอาการได้ นอกจากนี้การตรวจรหัสพันธุกรรมยังช่วยในการวางแผนการมีบุตรที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งในปี 2565ที่ผ่านมา มีการตรวจรหัสพันธุกรรมไปทั้งสิ้น 360 ราย 

ลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ’ เทคโนโลยีใหม่ ช่วยยืดระยะเวลาการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจซ้ำ นานสูงสุด 30 ปี

คณะแพทย์ศาสตร์ มช. เปิดโมเดล “Comprehensive healthcare” ที่แรกในประเทศไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ