TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกTechnologyเอ็มไออาร์ จับมือ โซนิค ออโตเมชั่น รุกระบบโลจิสติกส์ภายในอัตโนมัติ เจาะอุตสาหกรรมการผลิตไทย

เอ็มไออาร์ จับมือ โซนิค ออโตเมชั่น รุกระบบโลจิสติกส์ภายในอัตโนมัติ เจาะอุตสาหกรรมการผลิตไทย

บริษัท โมบาย อินดัสเตรียล โรบอทส์ เอ/เอส หรือ เอ็มไออาร์ ผู้พัฒนาและผลิตหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ ประกาศแต่งตั้ง บริษัท โซนิค ออโตเมชั่น จำกัด เป็นพันธมิตรรายล่าสุดในประเทศไทย ตอบสนองความต้องการที่กำลังเติบโตของระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมการผลิต

ระบบอัตโนมัติยุคถัดไป (Next-lap Automation) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตของไทย

ไทยเป็นหนึ่งในประเทศอันดับต้น ๆ ที่ถูกเลือกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้ผลิต เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การแพทย์ อาหาร และสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ของประเทศไทยออกคำเตือนเมื่อเร็ว ๆ นี้เกี่ยวกับการลดจำนวนแรงงานของประเทศลง 3 ล้านคน จากข้อมูล ณ สิ้นปี 2566 ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรวัยทำงานเพียง 40.7 ล้านคน เทียบกับความต้องการแรงงาน 44.71 ล้านคนภายในปี 2580 ตามแนวโน้มปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สศช. จึงแนะนำให้ธุรกิจต่าง ๆ ควรพิจารณานำระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มการผลิต

เพื่อรองรับตลาดในประเทศที่กำลังเติบโตนี้ เอ็มไออาร์ จึงร่วมมือกับโซนิค ออโตเมชั่น หนึ่งในผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศไทย จัดเวิร์กช็อปครั้งแรก เรื่อง “การนำทางแห่งอนาคต – การเปลี่ยนแปลงโลจิสติกส์ด้วยหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR)” เมื่อวันที่  24  พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยมีการจัดแสดงหุ่นยนต์เคลื่อนที่ของ เอ็มไออาร์ ได้แก่ หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติรุ่น MiR1200 Pallet Jack ที่ขับเคลื่อนด้วย AI และ MiR 250 ขนาดกะทัดรัด

MiR1200 Pallet Jack ขับเคลื่อนด้วย AI

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นแนวโน้มของทั่วโลกที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ รัฐบาลและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผลักดันให้นำไปใช้และยกระดับทักษะของแรงงาน แนวโน้มของ AI นี้ ได้ขยายไปสู่โลกของหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ หรือเอเอ็มอาร์ (Autonomous Mobile Robots : AMR) เช่นกัน  

สำหรับหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติล่าสุดของเอ็มไออาร์ คือรุ่น MiR1200 Pallet Jack ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถเรียนรู้และอัปเดตการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ช่วยให้สามารถจดจำพาเลทได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ปรับการเคลื่อนที่ของวัสดุภายในโรงงานให้

เหมาะสมผ่านข้อมูลที่รวบรวมไว้ การหยิบผิดผลาดน้อยลง และเวลาการหยิบและวางสินค้าก็ลดลง ด้วยน้ำหนักบรรทุก 1,200 กิโลกรัม และความเร็ว 1.5 เมตรต่อวินาที    หุ่นยนต์รถลากพาเลท (Pallet Jack) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพนี้ สามารถเข้ามาแทนที่รถยกธรรมดาขนาดใหญ่ในงานคลังสินค้าขนาดใหญ่และความซับซ้อนมากขององค์กร

MiR1200 เสริมข้อกำหนดด้านความปลอดภัย ที่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสากล  ISO3691-4 ซึ่งหุ่นยนต์รถลากพาเลท (Pallet Jack) นี้ จะใช้การมองเห็นแบบ 3 มิติเพื่อให้แน่ใจว่าครอบคลุม 300 องศาอย่างแม่นยำ จากทุกมุมเมื่อแยกแยะ หยิบ และขนส่งพาเลท ด้วยความปลอดภัยขั้นสูงและการตรวจจับสิ่งกีดขวาง ทำให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยสูงสุดสำหรับมนุษย์ และเครื่องอำนวยความสะดวก

ตัง ปอย ตุง (Tang Poi Toong) รองประธานฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท โมบาย อินดัสเตรียล โรบอทส์ เอ/เอส (Mobile Industrial Robots A/S) กล่าวว่า “ด้วยการที่หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ เข้ามารับหน้าที่ด้านโลจิสติกส์ภายในของภาคอุตสาหกรรม ทำให้การผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ความเสี่ยงและต้นทุนที่ไม่จำเป็นในสภาพแวดล้อมการทำงานลดลง หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติเหล่านี้ ยังช่วยให้พนักงานไม่ต้องทำงานซ้ำ ๆ เช่น การเดินทางไปกลับหลายร้อยรอบทุกวันเพื่อไปรับและจัดส่งสิ่งของ และทำให้พนักงานสามารถเริ่มทำงานที่มีความหมายและมีมูลค่าสูงกว่าได้”

MiR250 ขนาดกะทัดรัดและคล่องตัว

นอกเหนือจาก MiR 1200 รุ่นใหม่แล้ว เอ็มไออาร์ยังได้แสดง MiR250 ที่มีขนาดเล็กและทรงพลัง ซึ่งเป็นหนึ่งในหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติที่คล่องตัวที่สุดในตลาด แม้จะมีขนาดเพียง 580X800 มิลิเมตรและสูงเพียง 30 เซนติเมตร  

หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ MiR 250 มีความสามารถในการจัดการน้ำหนักสูงสุด 250 กิโลกรัมได้อย่างง่ายดาย ด้วยความเร็วสูงสุด 2 เมตรต่อวินาที    

MiR 250 สร้างขึ้นให้มีความทนทาน บำรุงรักษาง่าย และการทำงานต่อเนื่องในขณะที่ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยล่าสุด จึงทำให้เป็นหนึ่งในหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติที่ปลอดภัยที่สุดในตลาด

สุโรจน์ พนาสหธรรม กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย บริษัท โซนิค ออโตเมชั่น กล่าวว่า “เรามองเห็นถึงความสนใจในหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ และเราคาดการณ์ว่าจะมีการนำไปใช้ในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว นี่เป็นโอกาสอันดีโดยเฉพาะสำหรับโซนิค ออโตเมชั่นที่ได้ร่วมมือกับเอ็มไออาร์ ทำให้สามารถช่วยสร้างและเพิ่มขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมในประเทศให้ก้าวกระโดดในด้านอุตสาหกรรมต่อไป”

“ประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญมากสำหรับเอ็มไออาร์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตทางอุตสาหกรรมในอาเซียน เราหวังว่าจะเติบโตและขยายการใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติของเอ็มไออาร์ที่นี่ได้” ตัง ปอย ตุง กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

‘The Talkable Bus Shelter’ ป้ายรถเมล์พูดได้ ช่วยผู้พิการทางสายตาใช้ชีวิตง่ายขึ้น

ไมโครซอฟท์ เดินหน้าเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวไทย ลงพื้นที่ยกระดับทักษะ AI ให้ผู้ประกอบการในจ.สุพรรณบุรี

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ