TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistงบประมาณแบบ Next NORMAL = วิธีหา "เพิ่มเงิน" ในกระเป๋า

งบประมาณแบบ Next NORMAL = วิธีหา “เพิ่มเงิน” ในกระเป๋า

เมื่อหาเพิ่มไม่ได้ ก็ต้องค้นหาในกระเป๋า ….

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า วันนี้โลกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละประเทศว่าจะส่งผลลบมากน้อยขนาดไหน สำหรับประเทศไทย เรากำลังอยู่ในอาการค่อย ๆ ถดถอย ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

อาการถดถอย แสดงออกจากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเราเคลื่อนไหวได้ช้าลง ๆ ตั้งแต่ตัวเลขเงินเฟ้อที่สูง (ล่าสุด เงินเฟ้อชะลอ ลดจากเดือนที่แล้วที่ 6.41% แต่ก็ยังเป็นอัตราที่สูงอยู่) ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวสูงขึ้น แม้จะยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย และส่วนใหญ่ปรับอัตราเงินฝากและปรับดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับรายใหญ่และเงินกู้โอดี แต่ไม่สูงมากนัก เฉลี่ย 0.10-0.50% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าเงินเฟ้ออย่างน่าใจหาย (ไม่มีใครบอกว่า ต้นปีหน้าจะไม่ขึ้น)  ที่แน่ ๆ กำลังซื้อของประชาชนหดหาย จากการที่ราคาสินค้า/พลังงานสูงขึ้น การลงทุนของเอกชนลดถอยลง  

แม้จะมีรายได้เท่าเดิม แต่รายจ่ายกลับมากขึ้น ทำให้คนไทยเราขวนขวายหารายได้เพิ่ม ที่เป็นรายเล็กรายน้อย สิ่งที่ทำได้เฉพาะหน้า ก็คือการหันหน้าเข้าหางาน มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ เพื่อหาทางปรับลดจำนวนหนี้ที่คั่งค้างอยู่ ซึ่งอาจจะทำได้ด้วยการยืดเวลาในการชำระหนี้ออกไป แต่ก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้ได้จบสิ้น หากไม่เข้ากระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ที่พอจะมีทุนรอนอยู่บ้าง ก็เร่งขวนขวายหาแหล่งลงทุนใหม่ที่ให้ผลงอกงาม จนลืมข้อเท็จจริงว่า มีไหมที่จะมีผลตอบแทนเป็นสิบ ๆ เปอร์เซ็นต์ในเวลาหนึ่งเดือน จนมีข่าวออกมาว่าถูกโกง

สำนักพยากรณ์หลายแห่งต่างเห็นตรงกันว่า จากนี้ไปจนถึงปีหน้า หรืออาจจะอีกหลายปีข้างหน้า ไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ มีคำแนะนำจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญแนะในระยะเวลาอันสั้นนี้ ให้หา ให้เก็บเงินสดให้มากที่สุด ขณะเดียวกัน หาลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่า จะต้องทำด้วย “สติ” และมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เพียงพอ

การเก็บเงินสดหรือจะเรียกอีกอย่างว่าการเพิ่มเงินออมในวันนี้ ถ้าหากรายได้เพิ่มไม่ได้ ก็ต้องหันมาควบคุมดูแลค่าใช้จ่าย เชื่อว่าอีกหลายคนยังไม่ได้เริ่ม และก็มักจะบ่นอยู่เสมอว่าเงินไม่พอใช้

ลองมาดูวิธีการใช้เงินตามงบประมาณในแบบที่เรียกว่า next normal หน่อยไหม

เริ่มจากลองจดบันทึกรายรับรายจ่าย ในรอบหนึ่งเดือนให้ละเอียด แยกเป็นฝั่งหนึ่งเป็นรายรับ อีกฝั่งเป็นรายจ่าย

เมื่อครบเดือน ก็นำมาแยกเป็นกลุ่ม ๆ ว่ารายจ่ายแต่ละเรื่อง อยู่ในหมวดกลุ่มใดบ้าง อาทิ กลุ่มซื้อของเข้าบ้าน กลุ่มทานอาหารนอกบ้าน กลุ่มสังสรรค์ กลุ่มใช้หนี้ ฯลฯ (แยกละเอียดเป็นกลุ่มได้เท่าไร จะช่วยในการตามหาเงินได้ที่หายไป)

ถึงตรงนี้แหละสำคัญ เมื่อเราเห็นตัวเลขที่แยกเป็นกลุ่มรายจ่ายต่าง ๆ แล้ว เราจะพบว่าในและเดือน เงินของเราหมดไปกับเรื่องอะไร แต่ละเรื่องแต่ละหัวข้อนั้น เป็นเหตุเป็นผลหรือเป็นความจำเป็น

จากนั้น เริ่มแบ่งหมวดเงินใหม่เป็น 3 หมวด อย่างเช่น :

  • หมวดแรกสุด คือหมวดเงินออม
  • หมวดที่สอง เกี่ยวกับหนี้สิน
  • และหมวดที่สาม เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน

แล้วก็มาทำเป็นงบประมาณเลย จะตัดหมวดไหนลง จะลดงบประมาณหมวดไหนเหลือสักกี่เปอร์เซ็นต์ หรือหมวดไหนจะตัดทิ้งไปเลย ในกรณีที่เงินเหลือ ไม่ควรทิ้งไว้ในหมวดต่าง ๆ แต่ควรนำไปสมทบในหมวดแรก คือ หมวดเงินออม

อันนี้สำคัญ การจัดการกับหมวดหนี้สิน หากเรื้อรัง ก็ต้องหาวิธีจัดการ จะปรับโครงสร้างอย่างไรก็ต้องรีบทำ แต่จำไว้อย่างหนึ่งเลยว่า ในโลกนี้คุณไม่ได้อะไร โดยไม่ได้เสียอะไรนั้น “ไม่มี” ทุกอย่างมีต้นทุนมีรายจ่าย คุณจะปรับโครงสร้าง คุณก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครดิตที่จะหยุดไป แสวงหาหนี้ใหม่ไม่ได้ เป็นต้น

หมวดสุดท้าย อยู่ที่ “แรงบันดาลใจ” ของคุณ ถ้าคุณคิดใช้ชีวิตแบบที่ผ่าน ๆ มา  ก็จะทำไม่ได้ แต่หากใช้แรงบันดาลใจที่คิดว่าจะต้องเหลือให้ได้ ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้และฉลาดกิน มีพบอยู่ในทั่วไปในสังคมโซเชียล เรียนรู้และปรับใช้ ยกตัวอย่างเช่น ซื้อไก่เป็นตัวมาตัดแบ่งเอง เฉลี่ยแล้วถูกกว่าซื้อเป็นชิ้น ซื้อผักสดในตลาดราคาจะถูกว่าในซูเปอร์ (ขึ้นอยู่กับวิธีจัดเก็บและรักษาความสะอาด) เหล่านี้โลกโซเชียลสอนเราได้

การเรียนรู้ด้วยความรู้สึกว่า “อยากทำ” จะทำให้การทำงานนั้นสนุกไปกับทำกิจกรรมนั้น ๆ สร้าง passion ให้เกิด สนุกร่วมไปกับการกระทำนั้น ๆ 

ขอให้พบเงินในกระเป๋าของคุณ …

คอลัมน์: Personal Finance ที่ผมรู้จัก (แต่ทำไม่ได้)

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ