TH | EN
TH | EN
หน้าแรกStartupAIS เผย 3 รูปแบบ Business Impacts ที่ต้องการสร้างกับ Startup

AIS เผย 3 รูปแบบ Business Impacts ที่ต้องการสร้างกับ Startup

พันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partnership) เป็นจิ๊กซอว์หนึ่งที่สำคัญในการสร้างความเติบโตทางการค้าผ่านการขยายโอกาสที่กว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโอกาสการเข้าถึงลูกค้าใหม่ โอกาสการลงทุน โอกาสการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งโอกาสในการส่งเสริมการการปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในขององค์กรเองให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

AIS The Startup เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการร่วมงานเพื่อสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกันระหว่างบริษัท มหาชน อย่าง AIS และ บริษัท startup หรือ กลุ่ม Tech SME จึงมีการออกแบบ Partnership Model วางกำหนดเป้าหมายร่วมกันกับทุก Stakeholder ให้ทุกภาคส่วนนำคุณค่า และความชำนาญและความเป็นมืออาชีพ ที่แต่ละคนมี มารวมพลังกันสร้างผลกระทบเชิงในทางธุรกิจ (ฺbusiness impact) เป็นภาพที่กว้างและโอกาสที่ขยายขึ้นร่วมกัน

แนวทางการดำเนินงานของ AIS ร่วมกับ Startup เพื่อสร้างส่วนร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ จะสอดคล้องกับการประเมิน business Impact จากความร่วมมือแต่ละครั้ง แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
 Revenue Impact
 Productivity Impact
 Customer Experience Impact

Revenue Impact เป็น ผลกระทบเชิงรายได้ AIS และ Startup ร่วมกันวางวิธีการสร้างรายได้แบบใหม่ผ่านการรวมสินค้าและบริการด้วยกัน เปิดโอกาสสู่การขยายฐานลูกค้าซึ่งกันและกัน รูปแบบการรวมสินค้าและบริการ ทำได้หลายหลายแบบ เช่น

 นำบริการของ Startup มาเสริมบนบริการเดิมของ AIS เพื่อให้บริการที่ดีขึ้น และเปิดโอกาสให้ Startup เข้าสู่ฐานลูกค้ากว่า 44 ล้านเลขหมาย
 นำบริการของ AIS ไปเสริมบนบริการเดิมของ Startup เพื่อสร้างความล้ำสมัยเพิ่มขึ้น
 นำบริการของ AIS และ บริการ Startup มารวมกัน เพื่อสร้างสิ่งใหม่ขึ้นอีกบริการแล้วนำสู่ตลาดร่วมกัน การทำงานในลักษณะนี้เป็นในรูปแบบ Startup-as-a-Partner

เมื่อมีรายได้ก็แบ่งกันตามตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกว่า Revenue Sharing ตัวอย่างของ Startup หรือ Tech SME ที่ทำงานร่วมกับ AIS ในรูปแบบการสร้าง Revenue Impact ได้แก่ Future Skills, AIAY และ Flowaccount เป็นต้น

Productivity Impact เป็นผลกระทบในเชิงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในของพันธมิตรAIS สามารถนำเอา Technology ของ Startupมาเป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชั่นการทำงานภายใน แทนที่จะต้องสร้างทุกอย่างเองทั้งหมด ซึ่งบางครั้งอาจใช้การลงทุนทั้งในมิติการเงิน เวลา หรือ ทรัพยาการบุคคลที่สูงเกินไป

โมเดลการสร้างความร่วมมือเราเรียกว่า Startup-as-a-Vendor หรือ Startup-as-a-Supplier ในทางกลับกัน Startup ก็สามารถนำ AIS Digital Solution ไปเสริม infrastructure บริการตัวอย่างของ AIS Digital Solution ได้แก่
 Cloud Service (Local cloud และ Global cloud)
 Cyber Security Service ที่มาพร้อมกับการให้บริการ Cloud
 ICT Service
 IoT Service
 Data Center Service

โมเดลการสร้างความร่วมมือเราเรียกว่า AIS-as-an-InfraPartner การบริการถึงลูกค้าจะออกในนามของ Startup และ AIS เป็นผู้ช่วยข้างหลังนำเทคโนโลยีไปการเสริมความแข็งแกร่งและความน่าเชื่อถือของบริการให้กับ Startup ตัวอย่างของ Startup หรือ Tech SME ที่ทำงานกับ AIS ในรูปแบบ Productivity Impact ได้แก่ QueQ, ZipEvent และ Appman เป็นต้น

Customer Experience Impact เป็นผลกระทบในเชิงการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า การดูแลลูกค้าเป็นอีกหนึ่งมิติที่ทุก ๆธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตระหนักถึงความสำคัญ AIS The StartUp ทำงานร่วมกับ Startup ในฐานะพันธมิตรเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ๆผ่านบริการของ Startup ร่วมกับโครงการ AIS Privilege สำหรับลูกค้าทั่วไป และ AIS BizUp
สำหรับลูกค้าองค์กร

การทำงานในลักษณะนี้เป็นในรูปแบบ Startup-as-a-Partner Startup เองก็มีโอกาสได้ทดสอบความต้องการตลาดจากการให้บริการจริง ๆ ตัวอย่างของ Startup หรือ Tech SME ที่ทำงานกับ AIS ในรูปแบบ Customer Experience Impact ได้แก่ Daywork เป็นต้น

ผู้ประกอบการด้านดิจิทัลรุ่นใหม่ที่สนใจร่วมเป็นพันธมิตรกับ AIS สามารถส่งแผนงานเพื่อพิจารณามาได้ที่ AIS The Startup

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ก.ล.ต. จับมือ ตลท. สนับสนุน SME/Startup เปิดทางเลือกระดมทุนผ่าน ‘LiVE Exchange’

RentSpree สตาร์ตอัพไทยในอเมริกา สร้างรายได้กว่า 300 ล้านบาทในปี 2021

Fraction ประกาศความสำเร็จจากการระดมทุนกว่า 100 ล้านบาท

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ