TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyผู้ใช้ออนไลน์ในอาเซียน 82% เชื่อว่าชีวิตดิจิทัลปลอดภัย แต่หนึ่งในสี่ยอมรับว่าถูกแฮก

ผู้ใช้ออนไลน์ในอาเซียน 82% เชื่อว่าชีวิตดิจิทัลปลอดภัย แต่หนึ่งในสี่ยอมรับว่าถูกแฮก

กิจวัตรกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนเปลี่ยนแปลงหันมาออนไลน์กันมากขึ้นจากมาตรการรักษาระยะห่างและเก็บตัวที่บ้านยังคงดำเนินต่อเนื่องในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) การสำรวจล่าสุดโดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทชั้นนำของโลกด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ได้เผยความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของยูสเซอร์ ตลอดจนพฤติกรรมการวิวออนไลน์ฝนช่วงกักตัวที่ผ่านมา

-“Credited email account” เทรนด์ความปลอดภัยในยุคดิจิทัล
-ยกระดับความปลอดภัยข้อมูลตัวตนบนโลกดิจิทัลด้วยระบบคลาวด์

รายงานของแคสเปอร์สกี้ในชื่อ “More connected than ever before: how we build our digital comfort zones” ชี้ว่าผู้เข้าร่วมการสำรวจความคิดเห็นจากในภูมิภาคนี้ส่วนมาก (82%) คิดว่าดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของตนนั้นปลอดภัยดีในเรื่องของความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 75% นั้นถึง 7%

การสำรวจความคิดเห็นเมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมากับ 760 คนในภูมิภาคนี้ งานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นว่า มียูสเซอร์ในภูมิภาคเพียง 1% เท่านั้น ที่ยอมรับว่าการใช้ชีวิตเวอร์ชวลแบบนี้ไม่เป็นที่เรื่องที่ตนรู้สึกปลอดภัยเท่าใดนัก ซึ่งต่ำกว่าความเห็นของคนทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 3% ส่วนที่เหลือตอบเลยว่าไม่ปลอดภัย (11%) ซึ่งก็ยังต่ำกว่าทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 16% ขณะที่ 5% ไม่ค่อยแน่ใจเท่าใดนัก

ถึงแม้ว่าความมั่นใจในภูมิภาคยังสูงอยู่ ผู้ร่วมการสำรวจความคิดเห็นยอมรับว่าเคยถูกแฮกออนไลน์ ยูสเซอร์ที่ยอมรับว่าบัญชีโซเชียลมีเดียถูกละเมิด (21%) อีเมล (20%) โมบายดีไวซ์ (13%) ไวไฟเน็ตเวิร์ก (12%) และบัญชีธนาคาร (12%) ที่เป็นเหยื่อของการถูกละเมิด

ยังมีอีก 2% ที่ยืนยันว่าบัญชีของพวกเขาถูกละเมิดมากกว่าสามถึงสี่ครั้ง ขณะที่ 24% นั้นแน่ใจว่าข้อมูลของตนไม่เคยรั่วไหลเลย ผู้เข้าร่วมการสำรวจความคิดเห็นเกือบ 2 ใน 10 ยังสารภาพด้วยว่าตนไม่แน่ใจว่าเคยถูกแฮกหรือไม่ เพราะไม่ทราบว่าจะตรวจสอบได้อย่างไร (18%) ขณะที่ 14% เผยว่าพวกตนไม่เคยตรวจสอบอะไรเลย

ต่อคำถามที่ว่าทำอย่างไรหลังจากที่พบว่าถูกละเมิดความปลอดภัย ยูสเซอร์ในภูมิภาคเกินครึ่ง (57%) เปลี่ยนรหัสผ่านที่ใช้กับอุปกรณ์ไร้สายทั้งหมด รวมทั้งบัญชีดิจิทัลทั้งหลาย และอีก 54% อัพเดทซีเคียวริตี้โค้ดของอุปกรณ์ไร้สายและบัญชีดิจิทัลเฉพาะที่ถูกละเมิดเท่านั้น

มีเพียง 23% ของผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เคยมีประสบการณ์แฮ็กซีเคียวริตี้ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งใช้งานเพื่อป้องกันบัญชีของตน ขณะที่ 14% นำอุปกรณ์ของตนที่ถูกแฮ็กไปให้ช่างไอทีดูแลให้ และยังมีส่วนน้อย (4%) ที่เลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากผลการวิจัยนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีออนไลน์ยูสเซอร์ที่ใช้เวลาห้าถึงสิบชั่วโมงต่อวันออนไลน์ และยอมรับว่าจากมาตรการล็อกดาวน์เก็บตัวอยู่บ้าน ยิ่งเพิ่มจำนวนเวลาที่ใช้ไปกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ถึงสองถึงห้าชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว และการที่อุปกรณ์สื่อสารของเรากลายเป็นส่วนต่อที่ทำงาน ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน และอีกมากมายในปัจจุบัน มากกว่ายุคไหน ๆ ที่เราจำเป็นต้องใส่ใจต่อวิธีการที่เราดูแลเก็บบัญชีใช้งานออนไลน์ต่างๆ ของเรา และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายต่างๆ ก็ต้องล็อกอย่างแน่นหนาปลอดภัย เพื่อให้ชีวิตดิจิทัล และทรัพย์สินต่าง ๆ ห่างไกลจากเงื้อมมือของอาชญากรไซเบอร์”

“เป็นเรื่องดีที่จะรู้สึกปลอดภัยกับชีวิตส่วนที่ใช้ไปกับการออนไลน์ โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ที่เราจำเป็นต้องจำกัดกิจกรรมนอกบ้านต่างๆ เพื่อให้รอดพ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัส การที่เรารู้สึกสบาย ๆ ในโลกเวอร์ชวลมิได้หมายความว่าเราต้องลดการ์ดการป้องกันตัวลง” โยว กล่าวเสริม

ขณะที่มียูสเซอร์มากขึ้นที่หันมาพึ่งพาใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ชีวิตคงความปกติเอาไว้ให้ได้มากที่สุดในช่วงเวลาเช่นนี้ แคสเปอร์สกี้ขอเสนอคำแนะนำบางประการที่สามารถช่วยให้ชีวิตออนไลน์ปลอดภัยขึ้นได้

-ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวทางออนไลน์ และอย่าแชร์ หรืออนุญาตให้ใครมาใช้แอคเซสเข้าข้อมูลของเราที่เก็บไว้กับเธิร์ดปาร์ตี้ เว้นแต่จำเป็นถึงขีดสุดจริงๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่แอคเซสจะอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี
-เริ่มใช้ “Privacy Checker” ช่วยในการตั้งค่าโปรไฟล์โซเชียลมีเดียให้เป็นส่วนตัว ซึ่งจะทำให้ยากขึ้นที่จะมาล้วงเอาข้อมูลส่วนตัวสำคัญของเราไปได้
-ใช้ซีเคียวริตี้โซลูชั่นที่ไว้วางใจได้เช่น Kaspersky Password Manager เพื่อสร้างและป้องกันรหัสผ่านที่ควรมีลักษณะพิเศษจำเพาะสำหรับใช้กับแต่ละบัญชีออนไลน์ และจะได้ลดการกลับมาใช้รหัสผ่านซ้ำของเดิมไปเรื่อย ๆ
-ใช้ทูล เช่น Kaspersky Security Cloud เพื่อตรวจสอบว่ารหัสผ่านที่ใช้งานอยู่นั้นยังปลอดภัยดีหรือไม่ ยูสเซอร์สามารถใช้ฟีเจอร์ Account Check ตรวจสอบว่าบัญชีที่ใช้นั้นมีแนวโน้มข้อมูลรั่วไหลหรือไม่ ถ้าตรวจพบการรั่วไหล Kaspersky Security Cloud จะแจ้งประเภทของข้อมูลที่มีแนวโน้มจะเป็นช่องโหว่ เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ป้องกันหรือตัดการด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมต่อไป

การทำงานจากบ้าน (work-from-home) กลายมาเป็นนโยบายที่ใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศทั่วภูมิภาค ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเอ็นเทอร์ไพรซ์ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้:

-สำหรับธุรกิจ ก็ให้อบรมพนักงานเกี่ยวกับพท้นฐานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เช่น อย่าเปิดหรือเก็บไฟล์จากอีเมลที่ไม่รู้จักคนส่ง หรือเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก เพราะอาจมีอันตรายต่อทั้งองค์กร หรืออย่าตั้งรหัสผ่านโดยใช้ข้อมูลส่วนตัว
-เพื่อให้แน่ใจว่ารหัสผ่านมีความเข้มแข็งจริง ๆ พนักงานไม่ควรใช้ชื่อ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนตัวมาตั้งเป็นรหัสผ่าน
-คอยกระตุ้นเตือนพนักงานถึงวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการดูแลข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ต้องเก็บข้อมูลบนคลาวด์เซอร์วิสที่วางใจได้เท่านั้น ที่ใช้วิธีการตรวจสอบการผู้ใช้ก่อนแอคเซสข้อมูล และไม่ควรแชร์ข้อมูลเช่นนี้กับใครใด ๆ ก็ตาม

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-กทปส. ดัน “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” คาดผลิตเชิงพาณิชย์ถูกกว่าตลาด 50%
-Apple เปิดตัว ศูนย์การเรียนรู้ Apple Teacher เป็นภาษาไทย
-มิวเซียมสยาม ชวนท่องเที่ยวยุคดิจิทัล ผ่านแอปพลิเคชัน Treasuretrip
-ไบเทค เปิดบริการ HYBRID MEETING SOLUTION เชื่อมธุรกิจไมซ์ไทยสู่ยุคใหม่

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ