TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBangkok StoryGoogle ส่ง Google for Education สนับสนุนการศึกษาไทย จับมือกทม. เพิ่มทักษะดิจิทัลแก่ครูผู้สอน

Google ส่ง Google for Education สนับสนุนการศึกษาไทย จับมือกทม. เพิ่มทักษะดิจิทัลแก่ครูผู้สอน

Google ประเทศไทย ประกาศสนับสนุนปัจจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ระบบการศึกษาไทย ผ่านทาง “Google for Education” ช่วยให้สถานศึกษาทั่วประเทศ สามารถเตรียมพร้อมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพสำหรับการเรียนการสอนในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid Learning) ด้วยการนำเครื่องมือต่าง ๆ ของ Google ที่เป็นระบบดิจิทัลมาใช้ในการทำงานร่วมกันสำหรับคุณครู นักเรียน และนักการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ Google for Educution ยังเป็นผู้สนับสนุนหลักในงาน “Edutech Thailand 2022”  ที่มุ่งเน้นในการเพิ่มศักยภาพแก่ผู้สอนผ่านการใช้อุปกรณ์ที่ครอบคลุมและใช้ง่าย ช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าถึงเครื่องมือที่เหมาะสมนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งภายในงานได้มีการสนทนากว่า 40 หัวข้อ การอภิปรายสด การถาม-ตอบกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งงานนี้ได้จัดขึ้นเป็นแบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2565

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “ปัจจุบัน ผู้คนก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทุกๆ ด้าน รวมถึงด้านการศึกษา ซึ่งผมเองมองว่าปัจจัยหลักของการศึกษาคือการสร้างคน เพราะการศีกษาคือหัวใจในการแก้ปัญหาทุกอย่าง  แต่สำหรับในประเทศเรานั้นอาจจะมีอุปสรรคด้านความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีในบางกลุ่มถึงแม้ว่าจะอยู่ในชุมชนเมืองเองก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ต้องมีการปรับการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ ส่งผลให้เกิดความท้าทายขึ้นเมื่อโรงเรียนทั่วประเทศต้องกลับมาเรียนในห้องเรียนตามปกติ พร้อมกับต้องปรับการเรียนการสอนให้เป็นแบบผสมผสานระหว่างเรียนออนไลน์และเรียนในห้องไปด้วยกัน 

ดังนั้น จึงถือเป็นเรื่องน่ายินดี ที่กรุงเทพมหานครได้ร่วมทำงานเพื่อมุ่งสู่วิสัยท้ศน์เดียวกันกับ Google ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทักษะดิจิทัลให้กับครูผู้สอน และยกระดับเวทีการศึกษาของนักเรียนให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการให้เทคโนโลยีสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนได้อย่างรวดเร็ว เราอาจจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับครูในระยะแรกซึ่งอาจจะเป็นสัดส่วน 1 ต่อ 5 เพื่อสอนวิธีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ  จากนั้นครูก็จะสามารถนำความรู้จากผู้เชี่ยวชาญไปถ่ายทอดต่อ และยังช่วยสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีอีกด้วย”  

ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย Country Marketing Manager, Google ประเทศไทย กล่าวว่า “เพื่อตอกย้ำหนึ่งในพันธกิจหลัก Leave no Thai Behind ในด้านการศึกษา ดิฉันรู้สึกยินดีมากที่ Google for Education มีบทบาทในการช่วยสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นในสถานศึกษา การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ที่ทุกคนต่างต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จผ่านทางเครื่องมือต่าง ๆ  ของ Google 

สำหร้บการเรียนรู้ของนักเรียนจะประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับว่าโรงเรียนจะปรับตัวตามสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดได้ดีแค่ไหน ผ่านทางปัจจัยหลัก 5 ประการ ได้แก่ การเชื่อมต่อออนไลน์, อุปกรณ์, แพลตฟอร์ม, รูปแบบการสอนของครู และทักษะรองรับของทั้งผู้สอนและผู้เรียน

“จากรายงานมีนักเรียนและนักการศึกษากว่า 50 ล้านคนทั่วโลกเลือกใช้อุปกรณ์ Chromebook เพื่อทำงานและสื่อสารกัน และเป็นอุปกรณ์อันดับ 1 ยอดนิยมทั่วโลกสำหรับโรงเรียนอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลายในปีที่ผ่านมา ส่วนในด้านของแพลตฟอร์มปัจจุบันมีผู้ใช้ Google Workspace for Education กว่า 170 ล้านคน โดยมี 150 ล้านคนที่เลือกใช้ Google Classroom ที่เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้” 

นอกจากนี้ Google ยังมีทักษะรองรับเพื่อฝึกอบรมทักษะดิจิทัลที่จำเป็นด้วยตนเองและสามารถนำไปปรับใช้ได้ดียิ่งขึ้น เช่น โครงการสะพานดิจิทัล, Be Internet Awesome และ Google Certificates สำหรับครูผู้สอนที่ต้องการพัฒนาด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เราจะมีการเปิดตัวคลังบทเรียน (Lesson Library) เพื่อให้นักการศึกษาไทยสามารถแชร์ไอเดียและเคล็ดลับต่าง ๆ กับชุมชนครูภายในปีนี้” 

ด้าน ปรัชญากร ฮดมาลี รองผู้อำนวยการ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ. เลย กล่าวว่า “โรงเรียนของเราได้นำ Google Workspace for Education มาใช้ในการเรียนการสอนซึ่งสามารถช่วยในการจัดทำข้อสอบร่วมกันผ่าน Google ไดรฟ์, Google ฟอร์ม และ Google ชีต แล้วอัปโหลดเอกสารไปยัง Google Classroom ซึ่งวิธีนี้ทำให้กระบวนการวางหลักสูตรเป็นไปอย่างราบรื่นและช่วยประหยัดเวลาให้กับครูได้มากขึ้น”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

FOODPANDA เปิดตัว PANDA ADS ผนึก GROUPM ยกระดับเทคโนโลยีโฆษณา

อว. พร้อมขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ระยะที่ 4 พ.ศ. 2566 – 2570

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ