TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyฟอร์ติเน็ต ปิดช่องโจมตี OT เร่งทรานส์ฟอร์มสู่ Digital Economy

ฟอร์ติเน็ต ปิดช่องโจมตี OT เร่งทรานส์ฟอร์มสู่ Digital Economy

ประเทศไทยผลักดัน Digital Economy มาอย่างต่อเนื่อง และทำให้หลายธุรกิจเกิดการทรานส์ฟอร์มเมชั่นจากปัจจัยแวดล้อมการมีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้น การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนรวดเร็ว และแน่นอนว่าเทคโนโลยีมักมาพร้อมกับความเสี่ยงของการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจกลายเป็นเป้าหมายของการถูกโจมตีจากเหล่าแฮกเกอร์ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้มีการนำระบบไอทีมาใช้กับ Operational Technology ส่งผลให้เกิดช่องโหว่บนระบบคลาวด์ระหว่างที่ผู้ใช้เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่น

ผู้ให้บริการ Cybersecurity รายใหญ่ระดับโลกในไทยหลายรายจึงให้ความสำคัญกับการให้ความรู้องค์กรซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมนี้เพื่อลดช่องว่างของการโจมตีหลังจากทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัล ‘ฟอร์ติเน็ต’ (Fortinet) หนึ่งในผู้ให้บริการด้านนี้ซึ่งมีแพลตฟอร์ม Fortinet Security Fabric ที่ช่วยป้องกันรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์สำคัญ ข้อมูล แอปพลิเคชัน รวมถึงทุกการเชื่อมต่อต่าง ๆ จากศูนย์ข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อน Cybersecurity ให้เกิดขึ้นในภาพใหญ่ของกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต

ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต เล่าว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีมีบทบาทที่สำคัญต่อภาคธุรกิจ และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมของผู้บริโภคตอบรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น อีกทั้งการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นตัวเร่งสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภไปโดยสิ้นเชิง การมาของเทคโนโลยีใหม่ช่วยให้ผู้คนสะดวกสบายและมาพร้อมความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์

ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตให้ความสำคัญกับ Cybersecurity มาโดยตลอด แต่ยังคงมีช่องโหว่ทำให้เกิดการโจมตีได้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ เนื่องจากในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่หลากหลายที่นำมาใช้ในองค์กรหรือในภาคอุตสาหกรรมการควบคุมค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ทำให้การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยไซเบอร์มีความซับซ้อน

อีกทั้งในช่วงการทำงานที่เป็น work from home จะเห็นได้ชัดเจนว่าฝ่ายไอทีในแต่ละองค์กรทำงานอย่างหนักเพื่อให้พนักงานซึ่งทำงาน work from home สามารถเข้าระบบขององค์กรจากที่บ้านได้อย่างปลอดภัยไม่เกิดการเจาะข้อมูลระบบจากแฮกเกอร์ และต้องสร้างประสบการณ์การทำงานจากที่บ้านให้ใกล้เคียงกับการนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศซึ่งเข้าทำงานได้ง่ายเพียงแค่คลิกเดียว ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก 2-3 ขั้นตอนจาก Cybersecurity 

ปิดช่องโหว่ OT สู่ Digital Economy

จากผลงานศึกษาและวิจัยภัยคุกคามไซเบอร์ของฟอร์ติการ์ด แล็บ (FortiGuard Labs) ตรวจพบว่าช่วงไตรมาส 4/2565 ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 1.5 ล้านครั้งต่อวัน หรือประมาณ 132 ล้านครั้งตลอดทั้งไตรมาส โดยส่วนสำคัญคือมีช่องโหว่ที่ถูกตรวจพบทั้งในซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ต่างๆ มากถึง 57,651 ล้านครั้ง และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงต่อเนื่อง

ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต มองว่า เหตุผลสำคัญเกิดจากหลายองค์กรธุรกิจเร่งทรานส์ฟอร์เมชั่ฃนเพื่อเข้าสู่ Digital Economy ซึ่งในปี 2566 Digital economy เป็นส่วนผลักดันให้เกิดการเติบโตในภาคธุรกิจอาจถึง 30% ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มการผลิตขนาดใหญ่ยังคงแบกรับความเสี่ยงและการถูกคุกคามทางไซเบอร์จากแฮกเกอร์ตั้งแต่ช่วงก่อนมีการระบาดของโควิด-19 และเมื่อมีการระบาดของโรคจึงเห็นการโจมตีในกลุ่มเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานหรือ OT (Operational Technology) ซึ่งความเสี่ยงของ OT เกิดขึ้นบนระบบ Cloud Network ที่ผู้ใช้เข้าใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน

ฃเนื่องจากที่ผ่านมา OT เป็นระบบปิดที่มักพบในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าอุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แต่หลังจาก OT มีการทำให้ทันสมัยขึ้นโดยการใช้ระบบไอทีเข้าไปช่วยในการสั่งงาน ทำให้เกิดการเชื่อมต่อบนออนไลน์ เป็นการเปิดช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการโจมตีจากแฮกเกอร์ได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้เกิดความท้าทายต่อองค์กรต่างๆ

ฃทั้งนี้ จากรายงานสถานการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานทั่วโลกประจำปี 2565 (Global 2022 State of Operational Technology and Cybersecurity Report) ได้ระบุว่า 88% ของสภาพแวดล้อมด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยี OT ต่างมีประสบการณ์ถูกบุกรุก โดยผลการศึกษาได้ชี้ถึงปัญหาที่ก่อเกิดจากการโจมตี OT ซึ่งรวมถึงการขาดความสามารถในการมองเห็นกิจกรรมด้าน OT แบบรวมศูนย์ ทำให้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

สำหรับการบุกรุกความปลอดภัย OT ส่งผลกระทบสำคัญต่อประสิทธิผลขององค์กรและส่งผลถึงกำไร โดยมี 3 การบุกรุกในองค์กรของประเทศไทยคือ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ และแฮ็กเกอร์ ส่งผลต่อการสูญเสียรายได้ การสูญหายของข้อมูลและยังได้รับผลกระทบในเรื่องของการกำกับดูแล ไปจนถึงความน่าเชื่อถือของแบรนด์อันเป็นผลมาจากการบุกรุกด้านความปลอดภัย

สร้างระบบเปิด Cybersecurity กับ Partner Alliance

ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต เล่าต่อว่า “เราเล็งเห็นปัญหาส่วนนี้และมีการนำเสนอความรู้และคำปรึกษา รวมถึงแนะนำด้าน Cybersecurity ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ OT มาอย่างต่อเนื่อง โดยเราทำงานในลักษณะ Open ecosystem ร่วมกับ Partner Alliance โดยเราเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของ Fortinet Security Fabric ด้วยการนำข้อมูลภัยคุกคามเข้าซึ่งมีโซลูชันมากกว่า 500 รายการ จากผู้จำหน่ายกว่า 350 ราย เพื่อสร้างการมองเห็นที่ครอบคลุมอีกทั้งสามารถป้องกันการโจมตีทางดิจิทัลทั้งหมดเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น”

สำหรับโซลูชันแบบนี้ช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการและการแบ่งปันข่าวกรองด้านภัยคุกคามและจะช่วยให้องค์กรด้านอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วนสามารถดำเนินการตอบสนองต่อภัยคุกคามโดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว พร้อมการรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อการดำเนินการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ส่วน Fortinet Security Fabric มีแนวคิดที่สำคัญในการหลอมรวมของ 1. ระบบเครือข่ายและความปลอดภัย 2. การบูรณาการ Point Products เข้ากับแพลตฟอร์มความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบบูรณาการ และ 3. การนำระบบข่าวกรองภัยคุกคามไซเบอร์และบริการด้านความปลอดภัยมาใช้กับทุกภาคส่วนอย่างสม่ำเสมอ

สร้างคนไซเบอร์ซีเคียวริตี้สู่ตลาดงาน

ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต เล่าว่า การขาดแคลนบุคลากรด้าน Cybersecurity ค่อนข้างเห็นได้ชัด ดังนั้นเราต้องไปดูที่ต้นทางว่าเราจะลดช่องโหว่ในส่วนนี้ได้อย่างไร เราจึงอยากเพิ่มทักษะ Cybersecurity Skills Gap ให้กับองค์กรและบุคคลทั่วไป รวมถึงการพัฒนาโปรแกรม Fortinet NSE ให้เป็นหลักสูตรวิชาเลือกในสถาบันศึกษา ซึ่งเรามองว่าในเทรนด์อีก 10 ปีข้างหน้า บุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความสำคัญมาก

ดังนั้นตลาดงานด้าน Cyber Security จะมีการเติบโตได้อีกมาก โดยฟอร์ติเน็ตได้สนับสนุนในส่วนของ Voucher เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าสอบใบรับรองด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยนักศึกษา 1 คนจะได้รับ 1 Voucher ซึ่งมีสิทธิ์ เข้าสอบเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันเรามีลูกค้าที่ใช้สินค้าของเรามากกว่า 3,500 บริษัท และมี Business Partner มากกว่า 1,000 ราย การได้ใบรับรองด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าถึงงานด้านนี้ได้มากขึ้น โดยที่ผ่านมามีการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในไทย 3 แห่ง ซึ่งมีนักศึกษาที่ได้ใบรับรองแล้วประมาณ 3,500 คน และในปี 2566 นี้ จะขยายความร่วมมือเพิ่มอีก 2 แห่ง

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แอลจี เปิดตัวศูนย์รวมโซลูชันทางธุรกิจแบบครบวงจรใหญ่สุดใน SEA หวังดันยอดขายกลุ่ม B2B

AWS เผย บุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง ช่วยเพิ่ม GDP ประเทศไทยได้กว่า 93 แสนลบ.ต่อปี

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ