TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityCASE โครงการพลังงานสะอาดเข้าถึงได้ ชงข้อเสนอรัฐบาล พาไทยลดคาร์บอน โดยไม่ต้องจ่ายแพง

CASE โครงการพลังงานสะอาดเข้าถึงได้ ชงข้อเสนอรัฐบาล พาไทยลดคาร์บอน โดยไม่ต้องจ่ายแพง

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ), กระทรวงเศรษฐกิจ และการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศแห่งรัฐบาลเยอรมัน (BMWK), สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ERI) และ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกันจัดงาน เสวนาสาธารณะ “จาก COP26 สู่ COP27: เดินหน้าภาคพลังงานสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน 2050” เพื่อเผยผลการศึกษา “แนวทางการมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศไทย: การวางแผนระดับประเทศในระยะยาวและนัยยะด้านเศรษฐกิจและสังคม” (Towards a collective vision of Thai energy transition: National long-term scenarios and socioeconomic implications (TET2S) ดำเนินการภายใต้โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้และมั่นคง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Clean Affordable Secure Energy for Southeast Asia – CASE)

ดร. สิริภา จุลกาญจน์ นักวิจัยโครงการ CASE จาก สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอผลการศึกษาในหัวข้อ “เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในภาคพลังงาน 2050 เผยว่า การศึกษาของโครงการ CASE มุ่งศึกษาแนวทางลดคาร์บอนในภาคพลังงาน เนื่องจากภาคพลังงานมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง จึงต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้มากที่สุดเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ยาก (hard-to-abate sector) ลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของการใช้แหล่งกักเก็บคาร์บอน (carbon sink)

ผลการศึกษาชี้ว่าแผนพลังงานและนโยบายที่มีในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอสำหรับการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในภาคพลังงานได้ จึงเสนอภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบายพิจารณาเส้นทางไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ที่ต้องอาศัยเป้าหมายการลดคาร์บอนที่เข้มข้นขึ้นในภาคพลังงาน 

ข้อเสนอจากผลการศึกษา ระบุว่า ภาคการผลิตไฟฟ้าควรเน้นเพิ่มการผลิตที่มาจากแสงอาทิตย์และลม ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมควรใช้การผลิตไฟฟ้าโรงงาน จากเทคโนโลยีพลังงานประสิทธิภาพสูงและในภาคขนส่งควรปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนระบบขนส่งสาธารณะ ระบบราง และพาหนะส่วนบุคคล

“เราคาดว่าต้นทุนเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า มีแนวโน้มลดลง สวนทางกับราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น หากเราสามารถทำตามเส้นทาง Carbon Neutrality โครงการ CASE นำเสนอภายใต้การศึกษานี้ได้ เรามีโอกาสบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทาง คาร์บอนได้โดยที่ไม่ทำให้ต้นทุนในภาคการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น โดยเส้นทางดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานที่ระบบไฟฟ้ามีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีต้นทุนต่ำ (least cost optimization) และอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน” ดร.สิริภา กล่าว

การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานตามแนวทางที่เสนอแนะดังกล่าวข้างต้น ยังสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้อีกหลายทาง อาทิ การสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และการลดความเสี่ยง และการผันผวนจากราคาพลังงาน และการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังเกิดการสร้างประโยชน์ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้ถึง 4.5 ล้านล้านบาท ระหว่างปี 2020-2050 ช่วยลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป(CBAM) ที่จะทำให้ไทยส่งออกได้ลดลง หรืออุตสาหกรรมย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น และการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ยังสามารถสร้างการจ้างงานในประเทศให้เพิ่มขึ้นได้ราว 8 ล้านตำแหน่งระหว่างปี 2020-2050 จากการเพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และลม อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม เพราะจะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ และทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้คน จากปัญหามลพิษทางอากาศลดลงได้ถึง 26,000 ราย ในระหว่างปี 2020-2050

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

P&G จับมือพันธมิตร ร่วมสร้างบ้านจากวัสดุรีไซเคิล สู่บ้านเพื่อสตรี

FLASH EXPRESS จับมือ บช.น. – กองบังคับการตำรวจทางหลวง พัฒนาหลักสูตรอบรมด้านวินัยจราจร

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ