TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityเคทีซี ในวิถีความยั่งยืนที่ “แข็งแกร่งจากภายใน”

เคทีซี ในวิถีความยั่งยืนที่ “แข็งแกร่งจากภายใน”

จาก 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) โดยองค์การสหประชาชาติ ก่อเกิดเป็นความร่วมมือของประชาคมโลกในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่องค์กรและธุรกิจ เพื่อมุ่งสร้างสมดุลที่ยั่งยืนใน 3 มิติหลักทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี  

ดวงกมล อินทรพราหมณ์ ผู้บริหารแผนกบริหารเงินและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนเคทีซีหรือ บมจ.บัตรกรุงไทย ได้แบ่งปันประสบการณ์ตลอด 3-4 ปีของการพัฒนาทีมความยั่งยืนของเคทีซี เพื่อดำเนินงานด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่า หากทุกภาคส่วนทางธุรกิจสามารถผนวกแนวคิดความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรอย่างจริงจังและตั้งใจ แล้วส่งผ่านคุณค่าไปยังผลิตภัณฑ์ บริการและโครงการต่าง ๆ ผลสัมฤทธิ์ที่องค์กรจะได้รับ คือ ความแข็งแกร่งทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ในที่สุด

“เคทีซีตั้งธงการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้สำเร็จ โดยได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ระดับสูงสุดขององค์กร คือ คณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบฯ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารหน่วยงาน ไปจนถึงทีมงาน ตัวแทน สายงานทุกภาคส่วนในเคทีซี ด้วยแนวคิดเรื่องแก่นแท้ของความยั่งยืนที่มีความหมาย มุมมองและความเข้าใจที่ชัดเจน และมุ่งมั่นทำให้เกิดขึ้นจริง”

ยั่งยืนเพราะถ่องแท้ในตัวตน 

หนึ่งในเคล็ดลับสู่ความยั่งยืนของเคทีซี คือ การค้นหาตัวตน แนวคิดความยั่งยืนในทุกการดำเนินงาน ต้องนับหนึ่งจากการตั้งคำถามว่า ตัวตนของเราคือใครทำธุรกิจอะไรอยู่ในภาคส่วนไหนในภาพใหญ่ของการพัฒนาประเทศหรือของโลกแล้วตัวเราเองจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมสังคมรวมถึงธุรกิจของเราให้มั่นคงก้าวหน้าอย่างไร 

ดังนั้น ในทุกการกระทำต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ทำไปเพื่ออะไร ทำแล้วเกิดผลกระทบที่เป็นบวกหรือลบ ซึ่งด้วยมุมมองความยั่งยืนลักษณะนี้ จึงเสมือนสร้างเคทีซีให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดเวลา รวมถึงสอนคนเคทีซีให้รู้จักเฝ้าสังเกต รู้จักกำหนดคุณค่าทางธุรกิจอย่างเปิดกว้าง และเท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เกิดความเข้าใจถ่องแท้และมองเห็นทั้งโอกาส ความเสี่ยงและความท้าทาย เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนรับมืออย่างเหมาะสม

“สมัยก่อน ปัจจัยวัดความสำเร็จของธุรกิจที่คลาสสิคมาก ๆ คือ การวัดจากตัวเลขผลกำไร แต่ไม่ใช่ในยุคของความยั่งยืน เพราะหน้าตาของผลกำไรจริง ๆ คือ กำไรที่ได้จากความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจ แล้วธุรกิจนี้ไปเสริมสร้างสังคมได้อย่างไร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของเรามีคุณค่าที่เพิ่มขึ้นในสายตาลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระยะยาว เราจึงต้องมองให้กว้างขึ้น ลึกขึ้น ไกลขึ้น เพราะธุรกิจไม่ได้จบแค่ทำวันนี้ให้ดี แต่ต้องทำอย่างไรให้ดีต่อไปได้นาน ๆ”

3 ยุทธศาสตร์ความยั่งยืน

แน่นอนว่า การบูรณาการความยั่งยืนต้องตอบโจทย์ทางธุรกิจ ซึ่งสำหรับวิสัยทัศน์ของเคทีซี “Sustainable Growth” คือ หนึ่งคำสำคัญที่สะท้อนความมุ่งมั่นสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนบนหลักการที่ ดีกว่า ในทุกมิติทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์ว่า ทำไมประเทศไทยต้องมีเคทีซี?” 

มิติความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจด้วย “Better Products and Services” ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่พร้อมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ด้าน ESG ที่มีความเป็นบรรษัทภิบาล (Governance) ที่ดีเป็นรากฐานพร้อมการบริหารความเสี่ยงและการบริหารต้นทุนการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความที่เคทีซีดำเนินธุรกิจด้านการชำระเงินและสินเชื่อรายย่อย บทบาทจึงค่อนข้างชัดเจนในมิติการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นเรือธงในเรื่อง “Digital Transition for Customers and Employees” เพื่อเปลี่ยนผ่านผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ขึ้นสู่ระบบดิจิทัล เพื่อให้เกิดการใช้งานได้สะดวก และสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีทั้งกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น  “KTC Mobile ” ซึ่งชี้วัดความสำเร็จได้จากจำนวนผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการที่เพิ่มขึ้น เกิดการปรับตัวสู่การใช้งานนวัตกรรมดิจิทัลที่คนเข้าถึงได้มากขึ้น

มิติความยั่งยืนทางสังคมด้วยการเสริมสร้าง “Better Quality of Life” โดยมี “Financial Access and Education for All Thais” เป็นเรือธงสำคัญในการเพิ่มโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการการเงินอย่างทั่วถึงเท่าเทียม ทั้งกลุ่มลูกค้าทั่วไป และกลุ่ม Underserved เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้สำหรับการดำรงชีพ หรือพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนการให้ความรู้ด้านการเงินผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่เคทีซีมอบให้ 

มิติความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมผ่าน “Better Climate” ถึงแม้เคทีซีจะไม่ใช่ธุรกิจที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่ได้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อส่งเสริมสังคมคาร์บอนต่ำ การสร้างการตระหนักรู้ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร พันธมิตรธุรกิจ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการร่วมสนับสนุนความเป็นกลางทางคาร์บอน ลดภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการส่งเสริมธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์สีเขียว เป็นต้น

ความยั่งยืนที่ทั่วถึงและเท่าเทียม

เคทีซีเริ่มต้นภาคปฏิบัติจากการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนที่เรามุ่งให้เกิดขึ้นครบถ้วนทุกมิติ ในฐานะขององค์กรชั้นนำในภาคส่วนธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล เคทีซีมีการกำหนดค่านิยมหลักองค์กรที่ชัดเจน มีหลักบรรษัทภิบาล การบริหารความเสี่ยง การบริหารต้นทุนเพื่อให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งจากภายใน

ทั้งนี้ ทีมความยั่งยืนของเคทีซีที่พัฒนาขึ้นมา จะมีบทบาทสำคัญในการศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศ เช่น ธปท. ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นต้น การติดตามมาตรฐานการทำงานที่เกี่ยวกับความยั่งยืน ในต่างประเทศและองค์กรระดับสากล เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ร่วมกันของคนเคทีซีในการต่อยอดสู่การดำเนินธุรกิจ หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดประสิทธิผล ทั้งต่อการพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนคุณภาพ และสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับคน งาน และภาพรวมขององค์กร รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามเป้าหมายธุรกิจ ทั้งยังสามารถส่งต่อสู่ซัพพลายเออร์ ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าในการพัฒนาแนวคิดเรื่องความยั่งยืนไปได้ด้วยเช่นกัน 

“ท้ายที่สุด เคทีซีต้องการเป็นองค์กรที่บูรณาการความเป็นผู้นำด้านธุรกิจการเงินและความยั่งยืนที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงการขับเคลื่อนในประเด็นของ Social Inclusion หรือ Financial Inclusion เพื่อให้เกิดการนับรวมคนทุกกลุ่มเข้าสู่กระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม การคิดงาน ๆ หนึ่งจึงต้องได้ผลผลิตที่ตอบโจทย์ทั้งฝั่งธุรกิจ เป็นผลบวกต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายรวมถึงความใส่ใจรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์บริการ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เราแตกต่างจากคู่แข่ง และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ชัดเจนขึ้น”

โลกกับธุรกิจบนวิถีที่เกื้อกูล 

เคทีซีมองว่า กลยุทธ์แบบ Win-Win ซึ่งถูกนำมาใช้ประสานแนวคิดความยั่งยืนของโลก สังคม สิ่งแวดล้อม และความแข็งแกร่งทางธุรกิจแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยบนวิถีแห่งความเกื้อกูล เป็นสิ่งที่สะท้อนความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างกันทั้งต่อปัจจุบันและอนาคต 

เพราะการมองความยั่งยืนแบบแยกส่วนกันทำงาน อาจนำไปสู่การพัฒนาความยั่งยืนในมิติที่ไร้สมดุล หากความยั่งยืนยังเป็นเรื่องประโยชน์ทับซ้อนที่ใครควรเป็นฝ่ายได้รับก่อน-หลัง และใครควรได้มากกว่าใคร การเดินหน้าธุรกิจที่เพิกเฉยต่อความแตกต่างเหลื่อมล้ำทางสังคม หรือกลุ่มคนที่ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เพราะติดกับดักเงินกู้นอกระบบ ซึ่งในท้ายที่สุด บริบททางธุรกิจของเคทีซีคงหนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบอยู่ดี 

แม้กระทั่งสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม น้ำท่วม การปล่อยก๊าซพิษ โลกร้อน ในปัจจุบันล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งสิ้น เพราะ “ความยั่งยืนขององค์กรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราดำเนินธุรกิจท่ามกลางสังคมที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีและบนสภาพแวดล้อมที่ต้องดีด้วย ถ้าหากยังไม่ดี ก็เป็นโจทย์ที่เราต้องแก้ไข และต้องส่งต่อความแข็งแกร่งที่องค์กรมีไปช่วยเหลือธุรกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน ก็จะเป็นการ คิดหนึ่งได้ประโยชน์ถึงสอง

เวลาเรามองภาพกว้างอย่าง UNSDGs ก็จะเห็นเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จะเห็นว่าเป็นความร่วมมือของทุกประเทศจากระดับชาติมาสู่รัฐบาล องค์กรธุรกิจ และภาคครัวเรือน ถ้าเรานำความยั่งยืนมาประสานกับธุรกิจและทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจ สามารถขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการ ชิ้นงาน หรือตัวองค์กรไปพร้อมกัน ก็จะเป็นความสำเร็จของคนทั้งโลกได้ในที่สุด” 

ความยั่งยืนไม่ใช่กระแส

เมื่อความยั่งยืนไม่ใช่เครื่องมือทางการตลาด จึงไม่ได้มีไว้เพื่อการโฆษณา และเมื่อความยั่งยืนไม่ใช่กระแสจึงไม่ต้องโหน เพราะมันทำให้เราเข้าไม่ถึงแก่นที่แท้จริงที่ว่า ความยั่งยืนคือเครื่องมือที่ทำให้ธุรกิจยืนได้อย่างมั่นคงด้วยตัวเองบนบริบทของสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ต้องโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืนเช่นกัน  ดังนั้น ทุกโปรแกรมและทุกผลิตภัณฑ์ของเคทีซีจึงพัฒนาจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันจากทุกฝ่าย หลายครั้งที่พบว่า ภาคธุรกิจที่มีความชำนาญในผลิตภัณฑ์และบริการ สามารถส่งต่อไอเดียที่ชัดเจนในเรื่องความยั่งยืน ซึ่งประยุกต์เข้ากับความแข็งแกร่งทางธุรกิจที่เคทีซีมีได้อย่างลงตัว 

อาทิโครงการกรีนโฮเทล (Green Hotel) โดยความร่วมมือกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate Change) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ต้องการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว และใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยการเชิญชวนให้มาใช้บริการพันธมิตรธุรกิจด้านโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของเคทีซี ซึ่งเป็นการต่อยอดทั้งธุรกิจและสอดแทรกเรื่องความยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ลูกค้าเองนอกจากจะได้สิทธิประโยชน์จากบัตรและความพึงพอใจที่ได้รับจากการท่องเที่ยว ยังมีส่วนช่วยสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจที่พยายามยกมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านการใช้บัตรเครดิตเคทีซีที่มีคุณค่า หรือ สินเชื่อเคทีซีพี่เบิ้ม ที่เปิดโอกาสให้คนที่อยากพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยหรือทำมาหากินในทุกอาชีพสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมได้

“การผนวกจุดแข็งที่เรามีและนำความยั่งยืนเข้าไปเสริมเพื่อให้ได้ผลงานที่โดดเด่นทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ ความเข้าใจในลูกค้า สามารถตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสีย นั่นก็คือแก่นของความยั่งยืนที่แท้จริง มากกว่าการแค่ไหลไปตามกระแสนิยม ที่สำคัญ ต้องทำจากใจและทำด้วยความเข้าใจ แล้วประโยชน์ที่ได้รับกลับมาจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพธุรกิจในมิติต่าง ๆ เช่น การพัฒนานวัตกรรมที่สามารถสร้างรายได้ใหม่ ๆ การลดต้นทุนทางธุรกิจหรือลดความเสี่ยงในเรื่องต่าง ๆ  สุดท้าย คือ ธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนของเคทีซี ซึ่งพร้อมเดินหน้าควบคู่ความยั่งยืนของประเทศ สังคมโลก และสิ่งแวดล้อมต่อไป” 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ