TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistขนของสดแบบไม่เสี่ยง

ขนของสดแบบไม่เสี่ยง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ Million Insights ได้ตีพิมพ์รายงานฉบับหนึ่ง ระบุว่าตลาด Cold Chain โลกจะเติบโตเฉลี่ย 14.8% ตั้งแต่ปี 2021-2028 ทำให้มูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นจาก 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 เป็นมูลค่ากว่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในอีกสิบปีข้างหน้า แน่นอนว่าสินค้าหลัก ๆ หนีไม่พ้นอาหารสด อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ รายงานฉบับนี้ยังบอกอีกว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตลาด Cold Chain เติบโตขึ้นมากนั้น เป็นเพราะการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาประสิทธิภาพ 

วันนี้ผมเลยอยากเล่าให้ฟังถึงความสำคัญของ Internet of Things (IoT) ว่ามีบทบาทสำคัญอย่างไรในธุรกิจตลาด Cold Chain นี้ 

ช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีงานสัมมนา ‘Cold Chain Logistics Development – A Critical Imperative for Nigeria’ ในประเทศไนจีเรีย ซึ่งผู้บรรยายหลักที่เป็นประธานของ Governing Council of the Nigerian Institute of Transport Technology ได้อธิบายถึงสถานการณ์ในประเทศไนจีเรียว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ยังพึ่งแรงงานเป็นหลัก ประกอบกับความด้อยพัฒนาในเรื่องการขนส่ง ทำให้ต้องสูญเสียผลผลิตกว่า 1.5 ล้านเมตริกตันในแต่ละปี หรือประมาณ 40-50% เกิดการเน่าเสียระหว่างการขนส่งผักและผลไม้สดเหล่านั้น

ท่านประธานยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ถ้าไนจีเรียสามารถพัฒนา Cold Chain Logistics ได้ น่าจะช่วยลดความสูญเสียได้ถึง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเลยทีเดียว ซึ่งนับว่าเป็นเงินจำนวนมหาศาลสำหรับคนในประเทศนี้

ทำไมท่านประธานถึงกล่าวเช่นนี้ ลองหลับตานึกตามผมนะครับ ถ้ามะเขือเทศที่ปลูกมากทางตอนเหนือของไนจีเรีย ต้องถูกส่งไปขายในตลาดหลักที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ พอถึงปลายทางต้องมาลุ้นว่า จะเหลือมะเขือเทศในสภาพที่ยังขายได้อยู่ถึงครึ่งไหม แต่ถ้าไนจีเรียใช้ IoT Solutions เข้ามาแก้ปัญหา ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจวัดระดับอุณหภูมิและความชื้น เพื่อควบคุมปัจจัยทั้งสองให้อยู่ในระดับที่รักษาความสดของมะเขือเทศไว้ได้ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง จะสามารถช่วยลดความสูญเสียได้มากขนาดไหน 

สำหรับประเทศไทยได้วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold chain logistics) เพื่อยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐาน รวมถึงพัฒนาระบบโซ่ความเย็น (Cold chain system) เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งกระบวนการ ช่วยลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่การผลิต และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

ที่ผ่านมาผู้ให้บริการโซลูชัน Cold chain logistics ต่างผลักดันให้ผู้ประกอบการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิเห็นความสำคัญในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้มากขึ้น ซึ่ง Things on Net ในฐานะหนึ่งในผู้นำบริการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับไอโอทีโซลูชันและเซ็นเซอร์อัจฉริยะก็ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ IoT Solutions ตรวจจับอุณหภูมิและความชื้น ร่วมกับการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Cold Chain Logistics และลดความเสียหายของสินค้าที่จะเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง

โซลูชัน Cold chain logistics จะทำงานผสานกับเซ็นเซอร์อัจฉริยะที่ทำหน้าที่ในการแจ้งเตือน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้รถขนส่งสามารถล็อกอุณหภูมิในห้องเย็นให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้าและคงที่จากต้นทางถึงปลายทางแล้ว ยังช่วยลดความเสียหายของสินค้า ช่วยแก้ปัญหา Food Waste อันเกิดจากกระบวนการขนส่งที่ผิดพลาดและขาดการควบคุมอุณหภูมิที่ดีจนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สินค้าเกิดการเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพก่อนถึงมือผู้รับได้อีกด้วย

ดังนั้น นอกจากการเลือกใช้โซลูชันที่ดีแล้ว อีกส่วนสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ก็คือเซ็นเซอร์ที่ทำหน้าที่แจ้งเตือน ซึ่งหนึ่งในเซ็นเซอร์สมองกลที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับระดับสากล ได้แก่ Temphawk เซ็นเซอร์อัจฉริยะที่สามารถตรวจจับอุณหภูมิตั้งแต่ -40 องศา ถึง 125 องศา ตรวจวัดความชื้นได้ตั้งแต่ระดับ 0-100% มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง บอกค่าได้อย่างละเอียดในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน มีระบบจัดเก็บข้อมูลต่างๆ อย่างปลอดภัย อีกทั้งช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาและต่อยอดการให้บริการต่อไปในอนาคตได้ 

อีกหนึ่งข้อดีของ Temphawk คือ การติดตั้งและการใช้งานที่ง่าย แม้ไม่ใช่คนที่ใช้เทคโนโลยีเป็นประจำก็สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาไม่นาน นอกจากนี้ Temphawk ทำงานบนเครือข่าย 0G ของ Sigfox ที่ครอบคลุมกว่า 72 ประเทศทั่วโลก จึงช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถให้บริการทั้งเส้นทางในประเทศหรือระหว่างประเทศได้อย่างไร้ความกังวลเรื่องสัญญาณขาดหาย และเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น ระบบก็จะทำการแจ้งเตือนไปยัง Application ที่คุณใช้งานอยู่ในทันที โดยผู้ประกอบการสามารถตรวจวัดค่าอุณหภูมิและความชื้นจากที่ใดก็ได้ เมื่อใดก็ได้ ตามต้องการผ่านการแสดงผลบนมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของ IoT ที่โดดเด่นคือ ช่วยปรับปรุงการเชื่อมต่อ เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ยืดหยุ่น ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนการทำงาน และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากอุณหภูมิและความชื้นได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

ผมในฐานะหนึ่งในผู้ให้บริการและให้คำปรึกษาด้านไอโอทีโซลูชันของไทยจึงภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันและสนับสนุนการนำ IoT Solutions มาช่วยแก้ปัญหาปัญหาระดับโลกในเรื่อง Food Waste และลดการขาดแคลนอาหารของผู้คนอีกนับล้านบนโลกนี้ครับ 

Content Contributor: บริษัทติงส์ออนเน็ตจำกัด (TON) ผู้นำไอโอทีโซลูชันครบวงจร ให้บริการครอบคลุมการให้คำปรึกษา การกำหนดกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านไอโอที รองรับการใช้งานอุปกรณ์และบริการ Internet of Things อย่างเต็มรูปแบบ เพิ่มขีดความสามารถให้กับหลากหลายอุตสาหกรรม ทุกธุรกิจตั้งแต่ B2B จนถึง B2C

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ