TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีต่อองค์กรในยุคดิจิทัล EP2: 5G the private mobility & security

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีต่อองค์กรในยุคดิจิทัล EP2: 5G the private mobility & security

จากที่ครั้งก่อน เราคุยกันถึงเรื่อง EDGE Technologies วันนี้เรามาต่อกันถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทกับองค์กรมากขึ้นตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งใน EP2 นี้ผมจะพูดถึง 5G ในบริบทของเครือข่ายแบบไพรเวท และเรื่องแนวโน้มของการจัดการภัยทางไซเบอร์ ลองมาดูกันครับ

อีกเรื่องนึงที่น่าสนใจคือการเกิดขึ้นของระบบนิเวศของโมบายล์แบบไพรเวท (private mobility ecosystem) ซึ่งจะยิ่งเร่งอัตราการใช้งาน Cloud มากขึ้น และเป็นการดึงอุตสาหกรรมไอทีให้เข้ามามีบทบาทในบริบทของ 5G สำหรับองค์กร ตอนนี้ยังคงอยู่ในยุคเริ่มต้นของการใช้ 5G ซึ่งทำให้ในความรู้สึกของคนทั่วไปรู้สึกว่า 5G ก็ไม่ต่างอะไรกับ WiFi โดยเฉพาะการใช้งานในระดับองค์กร แต่ความรู้สึกนี้จะเปลี่ยนไปในปีนี้ (2022) เมื่อศักยภาพและความสามารถใหม่ ๆ เวอร์ชันใหม่ ๆ ซึ่งทันสมัยขึ้น จะทำให้มีผู้ใช้ระดับองค์กรได้ใช้กันในปีนี้ เราจะเห็นระบบ 5G ที่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น สามารถขยายขอบเขตการให้บริการที่มากขึ้นด้วยคุณลักษณะใหม่ ๆ เช่น Ultra Reliability Low Latency Communications (UR-LLC) (ระบบการสื่อสารแบบความหน่วงต่ำและมีความเสถียรที่สูงมาก) และ Massive Machine Type Communicator (mTCT) (ระบบตัวส่งข้อมูลโดยใช้กลไกที่สามารถส่งข้อมูลในขนาดที่สูงมากในคราวเดียว) ซึ่งมีแนวโน้มจะกลายมาเป็นเทคโนโลยีหลักมากกว่าระบบเทคโนโลยีการสื่อสารแบบดั้งเดิมสำหรับกลุ่มองค์กร

และที่สำคัญกว่านั้น เราคาดการณ์ว่าระบบนิเวศนี้จะทำให้เกิดการให้บริการโมบายล์ในรูปแบบไพรเวท (private mobility) ซึ่งจะทำให้ IT Providers เช่น Dell Technologies เองและ Public Cloud Provider รวมถึง ระบบนนิเวศ Open-Source จะมุ่งเน้นในการเร่งพัฒนาโครงข่าย 5G แบบระบบเปิดกันมากขึ้น (O-RAN หรือ Open Radio Access Network ถ้าสนใจลองหาอ่านต่อได้จากลิงก์นี้นะครับ)

ทางด้าน security ผมต้องขอออกตัวก่อนว่าไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเหมือนหลาย ๆ ท่านในอุตสาหกรรม security เมืองไทยที่มีความชำนาญเชี่ยวชาญทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยอย่างมากมาย แต่จะขอแชร์มุมมองในเชิงบริหารและมุมกว้างของอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญมากและกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยอุตสาหกรรมระบบรักษาความปลอดภัยกำลังเริ่มเปลี่ยนบริบทจากการมุ่งเน้นไปที่การเกิดขึ้นของภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์รูปแบบใหม่ ๆ มาเป็นการให้ความสำคัญถึงวิธีการในการแก้สถานการณ์โดยลดอคติที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจ ทั้งนี้ เพื่อให้แก้ปัญหาได้ถูกจุดและลงมือทำอย่างทันท่วงที (bias toward action) ฟังดูอาจจะงง ๆ ว่าคืออะไร เพราะหาคำจำกัดความยากอยู่แต่ลองมาดูกันครับ

ภาคองค์กรเอกชนและภาครัฐในปัจจุบันต้องเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่แสนจะเก่งฉกาจฉกรรจ์ขึ้นทุกวัน ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อความเชื่อมั่น รายได้ และการให้บริการกับลูกค้าหรือภาคประชาชน ในขณะที่พวกแฮกเกอร์ต่าง ๆ ก็ขยายจุดที่จะโจมตีองค์กรจากการขยายตัวของการทำงานจากที่บ้านหรือจากที่ไหนก็ได้ (remote workforce) รวมถึงการเร่งกระบวนการ digital transformation ด้วย

ผลลัพธ์คืออุตสาหกรรมระบบรักษาความปลอดภัยต้องแก้โจทย์ด้วยการเพิ่มระบบอัตโนมัติ (automation) และการผสมผสานเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (integration) เริ่มจากระบบการตรวจจับอัตโนมัติ (automated detection) จนถึง ระบบการป้องกันและตอบสนองอย่างอัตโนมัติโดยใช้ AI รวมถึง Machine Learning ที่จะทำให้การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เสมือนเซลส์เม็ดเลือดขาวเข้าจู่โจมผู้บุกรุกแบบฉับพลันทันใด ไปพร้อมกับร่างการสร้างแอนตี้บอดี้ขึ้นมาฉันใดก็ฉันนั้น

หลักฐานที่เห็นได้ชัดเลยคือ SOAR (Security Orchestration Automation & Response) ระบบการประสานและควบคุมการรักษาความปลอดภัยและตอบสนองแบบอัตโนมัติ, CSPM (Cloud Security Posture Management) การจัดการระบบรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์เพื่อการป้องกันและระแวดระวัง รวมถึง XDR (Extended, Detection & Response) การขยายความครอบคลุมเพื่อการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยทางไซเบอร์ และสิ่งที่สำคัญคือเราได้เห็นความพยายามเช่น Open Secure Software Foundation เพื่อการวางรากฐานความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ บนพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Linux ซึ่งยกระดับความสำคัญและเร่งความร่วมมือกับทั้งภาคอุตสาหกรรม IT, Telecom รวมถึง Semiconductor ด้วย

จาก 4 เรื่องที่เราพูดถึงใน EP1 และ EP2 – Edge, Private Mobility, Data Management และ Security เราจะเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างระบบนิเวศทางไอทีให้กว้างและครอบคลุมขึ้นเมื่อ Public Cloud และ Traditional Data Center ได้ผสานรวมเข้าด้วยกันเป็นทรัพยากรผืนเดียว ตอนนี้เราจะเห็นชัดขึ้นแล้วว่าในโลกแห่ง Multi-Cloud ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ รวมถึงช่วยเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย business model ใหม่ ๆ นั้นไม่สามารถทำได้ด้วยระบบหรือเทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถจะ operate ได้ด้วย Data Center แบบเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบ Public Cloud หรือ Traditional Data Center ก็ตามครับ

ขอบคุณที่ติดตาม และรออ่านเรื่องราวของ Quantum Computing และ Automotive ในตอนต่อไปนะครับ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีต่อองค์กรในยุคดิจิทัล EP1: EDGE Technologies

ดีมานด์ทองคำในไทยฟื้นตัวในปี 2564 อยู่ที่ 37 ตัน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ