TH | EN
TH | EN
หน้าแรกCareer & Talent4-Day Workweek: ทำได้จริง?

4-Day Workweek: ทำได้จริง?

เป็นเวลานานมากกว่า 100 ปีแล้วที่มนุษย์เงินเดือนทั่วโลกต้องทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งนั่นคือลดจาก 6 วัน (60-80 ชม. ต่อสัปดาห์) และดูเหมือนว่ากำลังมีความพยายามในหลาย ๆ ประเทศเพื่อลดวันทำงานลงไปอีกเป็น 4 วันต่อสัปดาห์

หลาย ๆ ประเทศเริ่มลดชั่วโมงหรือวันทำงานตั้งแต่ปี 2015 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และความพยายามนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นและได้รับการสนับสนุนมากขึ้นจากนายจ้างและลูกจ้างหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

COVID-19 ทำให้บริษัททั่วโลกต้องให้พนักงานทำงานจากบ้านเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ ช่วงเวลานั้นยาวนานพอที่จะทำให้คนทำงานได้เรียนรู้ว่าพวกเขาสามารถทำงานและดูแลครอบครัวไปพร้อมกัน ในขณะที่นายจ้างได้งานตามที่ต้องการ

จากเว็บไซต์ของ 4 Day Week ได้รวบรวมรายชื่อประเทศที่เริ่มนำระบบนี้มาใช้ ซึ่งตอนนี้มี 19 ประเทศคือ เบลเยี่ยม ออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ ออสเตรีย แคนาดา เดนมาร์ค ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สก็อตแลนด์ อาฟริกาใต้ สเปน สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อาหรับเอมิเรตส์ โดยรายละเอียดจะแตกต่างกันไป เช่นในเบลเยี่ยม ทดลองใช้ช่วงกุมภาพันธ์-กรกฎาคม และออกกฎหมายให้สิทธิลูกจ้างเลือกทำงาน 4 วันได้ แต่ใน 4 วันนั้น พวกเขาต้องทำงาน 10 ชั่วโมงต่อวัน ล่าสุดคือโปรตุเกส (ยังไม่รวมในรายการของเว็บนี้) ที่ทดลองใช้ระบบนี้ในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้

4 Day Work Week

หลักการ 4-Day Workweek ใช้หลักการ 100-80-100

100 = ค่าจ้างได้ 100% ไม่เปลี่ยนแปลง
80 = จำนวนวันทำงาน ที่ลดจาก 5 วันเป็น 4 วัน
100 = จำนวนงานที่เท่าเดิม

ในช่วงการทดลองนำมาใช้ ในบางประเทศ จำนวนองค์กรที่เข้าร่วมโดยสมัครใจจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาล หากการทำงาน 4 วันทำให้ประสิทธิภาพลดลง เช่นในสเปนตั้งวงเงินไว้สำหรับการณ์นี้จำนวน 50 ล้านเหรียญยูโร สก็อตแลนด์ 10 ล้านเหรียญยูโร

ประโยชน์ของ 4-Day Workweek

รายงานของ euronews ได้รวบรวมความเห็นของพนักงานและบริษัทที่เข้าร่วมโครงการมากมาย สรุปได้ว่าการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ถือกันว่าเป็นกระบวนการใหม่ในการทำให้พนักงานมีสมดุลในการทำงานและการใช้ชีวิต และเมื่อพนักงานมีความพอใจมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

ในอังกฤษ มี 61 องค์กรนายจ้างเข้าร่วมโครงการ ครอบคลุมพนักงาน 3,300 คน หลังจบช่วงทดลอง ร้อยละ 92 ขององค์กรเหล่านี้ตัดสินใจใช้ระบบการทำงานนี้ต่อไป และบอกว่าระบบนี้เป็น ‘ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่’

ในสก็อตแลนด์ที่การทดลองเริ่มต้นในต้นปีนี้ ในการสำรวจความเห็นผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความคาดหวังว่ามันจะทำให้พวกเขามีสุขภาพดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น
ในไอซ์แลนด์ที่เริ่มลดชั่วโมงการทำงานให้เหลือ 35-36 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ในช่วง 2015-2019 ครอบคลุมพนักงาน 2,500 คนพบว่าพนักงานมีความเหนื่อยล้าจากการทำงานลดลง

ที่ประเทศญี่ปุ่นที่อัตราฆ่าตัวตายเพราะความเครียดสูง บริษัทใหญ่ ๆ ได้เริ่มทดลองใช้ระบบนี้ เช่นโตโยต้าที่ให้แผนกช่างทำงานแค่ 4 วัน ในปี 2019 ไมโครซอฟท์ทดลองใช้เป็นเวลา 1 เดือนธันวาประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 40

ความเห็นต่าง

ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยหรือได้รับประโยชน์จากระบบนี้ เนื่องจากว่าระบบนี้ใช้ได้กับเฉพาะคนที่มีรายได้ประจำ พนักงานรายวันจะไม่ได้รับประโยชน์ เช่นในเบลเยี่ยม จำนวนคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบเงินเดือนมีมากเกือบร้อยละ 30

ในบทสัมภาษณ์ของ DW จากสถาบันในเยอรมนี บอกว่าการนำ 4-Day Workweek มาใช้น่าจะเป็นไปตามบริบทขององค์กร แต่ไม่ควรเป็นกฎหมายบังคับ เหตุผลของเขาคือ

  1. ในภาวะที่จำนวนคนทำงานในหลายๆประเทศลดลง ควรจะ ‘กระตุ้น’ ให้คนทำงานมากขึ้น ไม่ใช่น้อยลง
  2. ในงานบริการและสาธารณะ เช่นการแพทย์ ตำรวจ กำลังคนคือสิ่งสำคัญเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ 24 ชั่วโมง ทุกวัน

โลกที่ไร้ขอบเขต: พื้นฐานใหม่ของต้นทุนมนุษย์

วัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ เปิดกว้าง “ความหลากหลาย” เปิด “โอกาส” ทางธุรกิจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ