TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeAIS 5G ขยายโครงข่ายสู่พื้นที่ห่างไกล ยกระดับการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ผ่านความสำเร็จของ Mobile Stroke Unit

AIS 5G ขยายโครงข่ายสู่พื้นที่ห่างไกล ยกระดับการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ผ่านความสำเร็จของ Mobile Stroke Unit

AIS 5G เดินหน้าขยายโครงข่ายสู่พื้นที่ห่างไกลฉายมุมมองเป้าหมายใหญ่ยกระดับการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขผ่านความสำเร็จของ Mobile Stroke Unit

โครงข่าย 5G มีความสำคัญในฐานะโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศและของทุกอุตสาหกรรมม โดยเฉพาะการแพทย์และสาธารณสุข (Healthcare) ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชนโดยตรง 

ภาคสาธารณสุขถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของประเทศ เพราะมีความสำคัญในมิติของผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตคนไทยในภาพรวม โดยที่ผ่านมาเอไอเอสได้ลงทุนทำให้โครงข่าย AIS 5G ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล และหนึ่งในความมุ่งมั่นของเอไอเอสคือความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหิดล พัฒนารถ Mobile Stroke Unit (หน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่) ตั้งแต่ปี 2561 

รถ Mobile Stroke Unit มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำโอกาสการเข้าถึงสาธารณสุขโดยเฉพาะการรักษาพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันของคนไทย

ทั้งนี้ ทั่วโลกมีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกว่า 13.7 ล้านคน ราว 80% อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เป็นแล้วทุพพลภาพ และกลายเป็นโรคเรื้อรัง เพราะเป็นทุพพลภาพตลอดชีวิตของคนไข้ ความรวดเร็วในการเข้าถึงการรักษาเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยลดโอกาสทุพพลภาพและเสียชีวิต 

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ต้องแข่งกับเวลา เพราะผู้ป่วยโรคหลอดสมองจะต้องได้รับการรักษาทันทีภายใน 4.5 ชั่วโมง หรือเร็วกว่านั้น วิธีการรรักษา คือ การเปิดหลอดเลือด ด้วยการใช้ยาสลายลิ่มเลือด และการใช้สายสวน (กรณีตีบที่หลอดเลือดใหญ่) วิธีการรักษาด้วยการใช้สายสวนมีข้อจำกัดเพราะจะทำได้ที่โรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

ปัญหาที่เกิดขึ้นปัจจุบัน คือ การรักษาโรคนี้ต้องทำการสแกนสมอง ต้องเข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในประเทศไทยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลอดเลือดสมองราว 700 คน (ข้อมูลปี 2563) ในจำนวนนี้ 400 คนอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมมิตรอีก 11 แห่งในการทำโครงการ รถ Mobile Stroke Unit ขึ้นตั้งแต่ปี 2561 

ผศ.ดร.พรชัย ชันยากร รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพกระบวนงานภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รถ Mobile Stroke Unit เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย ลดความเหลื่อมล้ำซึ่งโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นได้ทุกที่ และต้องได้รับการรักษาได้เร็วที่สุด รถ Mobile Stroke Unit จึงถูกออกแบบมาให้ต้องสามารถออกปฏิบัติภารกิจได้ภายใน 5 นาที และต้องเข้าไปให้บริการได้ในพื้นที่ที่ไม่มีความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์

รถ Mobile Stroke Unit ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้เสมือนเป็นโรงพยาบาล เหมือนมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลอดโรคสมองอยู่บนรถ ทำการรักษาผู้ป่วยทันท่วงที ฉะนั้น ระบบการสื่อสารมีความสำคัญอย่างมาก ระบบจะต้องเสถียร ต้องมั่นใจได้ ต้องมีความเร็วเพียงพอ โดยเฉพาะความเร็วในการอัปโหลด เพื่ออัปโหลดภาพสแกนสองหลายชุด ๆ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ต้องส่งให้เร็วและถึงมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบบเรียลไทม์

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS กล่าวว่า เอไอเอสลงทุนขยายเครือข่ายทุกปี ๆ ละ 30,000 – 35,000 ล้านบาท ปัจจุบันโครงข่าย AIS 5G มีความครอบคลุม 76% ของประชากร และ AIS 5G สำหรับการแพทย์และสาธารณสุขเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ลดความพิการ และลดการเสียชีวิตให้กับประชาชนจากโรคนี้ในพื้นที่ห่างไกล

เอไอเอสเริ่มเข้าร่วมโครงการ รถ Mobile Stroke Unit ตั้งแต่ปี 2561 ด้วยการติดตั้งระบบการสื่อสารบนรถ Mobile Stroke Unit และขยายช่องสัญญาณของเครือข่ายตลอดเส้นทางที่รถ Mobile Stroke Unit ผ่าน และจุดจอด ซึ่งคือที่สถานน้ำมันปตท. 

“เราไปทำ network optimisation ในพื้นทีที่รถ Mobile Stroke Unit ปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเอไอเอสจะวิ่งทดสอบสัญญาณในทุกเส้นทางเพื่อให้มั่นใจว่าสัญญาณ AIS 5G สามารถรองรับการปฏิบัติการของรถ Mobile Stroke Unit ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะความต้องการของรถ Mobile Stroke Unit จะเน้นการอัปโหลด CT Scan และทำ video conference ซึ่งแต่ละจุดจอดของรถ Mobile Stroke Unit ต้องการเครือข่ายที่ครอบคลุมในระยะ 30-40 กิโลเมตร” วสิษฐ์ กล่าว

หลักการทำงานของ รถ Mobile Stroke Unit คือ จะไปจุดนัดพบที่ใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด ซึ่งสำนักการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) จะไปรับผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุ มาส่งที่จุดนัดพบ เมื่อผู้ป่วยขึ้นบนรถ Mobile Stroke Unit จะเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาเสมือนมาโรงพยาบาล ระหว่างนั้นรถก็จะเคลื่อนที่ไปที่โรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป

นำร่องลงพื้นที่ที่คีรีรัฐนิคเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564 ลงพื้นที่เพียง 2 วัน รถ Mobile Stroke Unit ได้ช่วยผู้ป่วยหลอดเลือดสมองจำนวน 2 ราย รายแรกทีมแพทย์และพยาบาลได้ทำการย้ายผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลรคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จ.สงขลา ที่อยู่ห่างออกไปกว่า 300 กิโลเมตร รายที่ 2 ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

รถ Mobile Stroke Unit ขึ้นทะเบียนเป็นรถฉุกเฉินเฉพาะทาง

นับจากเริ่มต้นโครงการในปี 2561 จนปัจจุบัน มีรถ รถ Mobile Stroke Unit แล้ว 5 คัน ออกปฏิบัตหน้าที่ให้รักษาผู้ป่วยมาแล้ว 700 กว่าคนในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จ.ราชบุรี, โรงพยาบาลคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จ.นครพนม และที่กรุงเทพฯ 

“เนื่องจากรถ Mobile Stroke Unit ถูกออกแบบมาให้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ห่างไกล การที่จะให้รถเป็นโรงพยาบาลเคลื่อนที่ที่ให้การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้แบบเรียลไทม์จากที่ห่างไกล เครือข่ายสื่อสารคือหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง ต้องขอบคุณเอไอเอสที่มาร่วมในโครงการนี้ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ” ผศ.ดร.พรชัย

ที่ผ่านมาเอไอเอสร่วมทำงานในทุกเส้นทางที่รถ Mobile Stroke Unit ออกปฏิบัตหน้าที่ ทีมวิศวกรของเอไอเอสลงพื้นที่ทดสอบสัญญาณรวมทั้งเพิ่มขยายสัญญาณตลอดเส้นทางและในรัสมีการให้บริการของรถ Mobile Stroke Unit เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยที่อยู่บนรถนั้นได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านการรักษาทางไกลได้ทันท่วงที 

รศ.นพ.ยงชัย นิละนนท์ ประธานศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในปี 2565 นี้โครงการจะขยายจำนวนรถ Mobile Stroke Unit อีก 3 คัน รวมเป็น 8 คัน โดยที่อีก 3 คันจะประจำการอยู่ที่อีก 3 จังหวัดห่างไกล ภาคละ 1 คัน คือ ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ นอกจากรถ Mobile Stroke Unit แล้ว ในปีนี้ทางโครงการจะนำร่องทดลองติดตั้งระบบ Mobile Stroke Unit ในเรือเพื่อออกปฏิบัติการทางน้ำเส้นทางจากโรงพยาบาลศิริราชไปท่าน้ำสาทรและวนกลับไปที่ท่าน้ำนนท์ รวมระยะทาง 20 กิโลเมตร เพื่อให้บริการประชาชนในกรณีที่รถยนต์เข้าไม่ถึง

“เราทำรถต้นแบบจบที่ 8 คัน จากนั้นจะส่งต่อให้ผู้กำหนดนโยบายไปดำเนินการต่อเพื่อการขยายผล และกำหนดให้อยู่ในนโยบายแห่งชาติ (national policy)” รศ.นพ.ยงชัย กล่าว

อาจกล่าวได้ว่าการขยายพื้นที่การให้บริการของโครงข่ายสัญญาณการสื่อสารโทรคมนาคมในวันนี้ของผู้ให้บริการ สร้างคุโณปการให้กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกพื้นที่ให้เท่าเทียมอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการด้านดิจิทัลต่าง ๆ สำหรับประชาชน โดยเฉพาะบริการด้านสาธารณสุขของภาครัฐ ให้มีศักยภาพในการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก จึงเรียกได้เต็มปากว่าโครงข่ายสัญญาณการสื่อสารโทรคมนาคมคือโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของประเทศที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ