TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeAIS อุ่นใจ ชวนสู้ ภัยไซเบอร์ กับแคมเปญ “มีความรู้ก็อยู่รอด”

AIS อุ่นใจ ชวนสู้ ภัยไซเบอร์ กับแคมเปญ “มีความรู้ก็อยู่รอด”

“เสียดายนะ…ก่อนตายไม่ได้เรียน” คือประโยคส่งท้ายในภาพยนตร์โฆษณา จากแคมเปญสื่อสาร “มีความรู้ก็อยู่รอด” จาก AIS อุ่นใจไซเบอร์ กระตุ้นเตือนให้สังคมไทยเห็นความสำคัญของปัญหาภัยไซเบอร์ ที่กำลังเป็นปัญหา “คอขาดบาดตาย” ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และชูธงทางรอดเดียวที่จะทำให้เราเอาชนะภัยไซเบอร์ได้ก็คือ “ความรู้” และที่สำคัญ “ต้องรู้ก่อนตาย”

“ทำไมต้องรู้” ข้อมูลจากบุคลากรตัวจริงจากหลายวงการ

เชิงชาย หว่างอุ่น ผู้ดำเนินรายการแจ้งมาจัดไป สื่อกลางรับเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน ได้แชร์ประสบการณ์รับเรื่องร้องเรียน การหลอกลวงทางโลกออนไลน์ เคสที่พบบ่อย คือ ซื้อของออนไลน์แล้วได้ของไม่ตรงปก ยกตัวอย่าง กรณีผู้เสียหายหลงเชื่อ สั่งซื้อไอโฟนจากเพจเฟซบุคในราคา 360 บาท สิ่งที่ได้รับมาคือ ปลากระป๋อง ในที่สุดเพจนั้นก็ปิดตัวไป ไม่รู้ว่าได้เงินจากคนที่ถูกหลอกไปมากน้อยแค่ไหน เป็นที่มาว่า ของถูกของฟรีไม่มีในโลก

อีกหนึ่งตัวอย่าง เป็นกรณีหลอกลวงทำศัลยกรรมหน้าอก มีกลุ่มเป้าหมายเป็นสาวทอมสาวหล่อ โดยชักชวนให้ออมเงินรายเดือนให้ครบ 75,000 บาท เพื่อจะได้จับฉลากผ่าตัดหน้าอก แต่สุดท้ายกลับเชิดเงินหนี ซึ่งผู้เสียหายไม่ใช่แค่คนที่อยากผ่าตัดหน้าอกเท่านั้น แต่คลินิคต่าง ๆ ทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑลก็ถูกหลอก ให้ทำการผ่าตัดหน้าอก แต่ว่าไม่ได้จ่ายเงินจริง บางแห่งเสียหายเป็นล้านบาท

เชิงชาย ได้ให้มุมมองว่า คนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมักตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์ได้ง่ายมาก ๆ คือ ผู้สูงวัยวัยเกษียณ ซึ่งมีภูมิความรู้ด้านออนไลน์น้อยกว่าเด็กรุ่นใหม่ เหงา ๆ ก็เล่นมือถือ มีส่ง SMS มา ส่งลิงก์มา ก็กดเข้าไปด้วยความไม่รู้ ไปคุยกับมิจฉาชีพ โดนหลอกให้โอนเงิน เสียเงินไปโดยไม่รู้ตัว ฝากให้ลูกหลานที่มีความรู้ เตือนผู้สูงวัย เตือนคุณพ่อคุณแม่ ปู่ย่าตายายที่บ้านกันด้วย

พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ให้ข้อมูลในมิติการดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มมิจฉาชีพ โดยในระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา (มีนาคม-ตุลาคม 2565) ทางตำรวจไซเบอร์ มีสถิติการรับแจ้งความ 113,461 เรื่อง จำแนกมาเป็น 19 ประเภทคดี ความเสียหายโดยภาพรวม 21,900 ล้านบาท 

คดีที่มีคนแจ้งความมากที่สุด คือซื้อขายของออนไลน์แล้วไม่ได้ของ แต่คดีที่มีความเสียหายมากที่สุด เป็นเรื่องของการหลอกลงทุน ซึ่งแรก ๆ อาจจะได้ผลตอบแทนจริง แต่พอได้จริงก็กระตุ้นให้ลงทุนมากขึ้น จนสุดท้ายหมดตัว อันดับที่สองคือ หลอกให้กลัวและโอนเงิน เช่น กรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยอ้างว่ให้โอนเงินเพื่อตรวจสอบความบริสุทธ์คดีฟอกเงิน ซึ่งในทุก ๆ วัน ยังคงมีคนโดนหลอกแบบนี้ มีมูลค่าความเสียหาย หลักล้านบาทขึ้นไปทุกวัน 

นอกจากหลอกให้กลัว แล้วก็ยังมีการหลอกให้รัก ให้โอนเงิน หรือให้ส่งรูปลับส่วนตัวให้ และนำไปใช้ในการแบล็กเมลหรือนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ นอกจากนี้ยังมี รูปแบบการหลอกติดตั้ง Application แล้วก็ดูดเงินจากบัญชีผู้เสียหาย โดยมักจะมาจากการกดลิงก์ที่มิจฉาชีพส่งมาให้ อาจจะเป็นคนที่เราเพิ่งรู้จักในโลกออนไลน์ จาก SMS หรือ การเข้าเว็บปลอมโดยไม่รู้ตัว และ login ด้วยข้อมูลส่วนตัว ทำให้มิจฉาชีพได้ข้อมูลนั้นไปใช้ในการนำบัญชีไปใช้หลอกลวงผู้อื่นต่อไป โดยที่เราไม่รู้ตัว 

พล.ต.ต.นิเวศน์ ได้ให้คำแนะนำการป้องกันภัยไซเบอร์ใน 2 เรื่องหลัก ๆ คือ หนึ่ง เรื่องเงิน การซื้อของออนไลน์นั้นแนะนำให้ซื้อกับเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ ส่วนเรื่องการโอนเงิน ก่อนจะโอนเงินให้ใคร ต้องระบุตัวตนเขาให้ได้ก่อน โดยขอเบอร์โทรศัพท์ โทรติดต่อพูดคุยได้ และถ้ามีปัญหาก็สามารถนำข้อมูลตรงนี้มาแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสอบสวนติดตามได้ สอง เรื่องภัยคุกคามทางเพศ ที่เด็กวัยรุ่นถูกล่อลวงกันมาก ขอให้พ่อแม่ดูแลใส่ใจและให้ความรู้ความรู้บุตรหลาน กำจัดโอกาสที่จะถูกหลอกลวง ชักจูงไปในทางเสียหาย

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้ให้เห็นสถานการณ์โดยรวมทางด้านสุขภาพจิตของสังคมไทย ว่าในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาที่สังคมไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ covid-19 ปัญหาการทำร้ายตัวเอง มีแนวโน้มตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็นหลักพัน สิ่งที่น่าห่วงมากที่สุดคือ อัตราการฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นมากขึ้นในคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ ด้วยวิธีการที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลลที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคม ก็มีทั้งประโยชน์และทั้งเป็นภัยต่อสุขภาพจิต สุขภาพใจ

สิ่งที่จำเป็นในการป้องกันภัยไซเบอร์ ข้อแรก คือ การรู้ข้อมูลข่าวสาร ติดตามความเป็นไป ทั้งในด้านบวกและด้านลบที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ให้ตัวเองอยู่รอด ไม่ตกเป็นเหยื่อ ข้อสอง คือการรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง และเท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพ ซึ่งจะแสวงหาผลประโยชน์จากอารมณ์ และกิเลสของเรา ทั้งรัก โลภ โกรธ หลง และความกลัว 5 อารมณ์นี้เมื่อไรก็ตามที่ถูกขยี้ เป็นจิตวิทยาในการที่มิจฉาชีพใช้ทำให้เราตกเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย  

ข้อที่ 3 การรู้จักปรึกษาผู้รู้ ขอข้อคิดเห็น  ความช่วยเหลือ หรือคำแนะนำ หรือตรวจสอบข้อมูลกับผู้เกี่ยวข้อง หากว่ารู้สึกว่าอารมณ์ของเราเริ่มย่ำแย่ ถูกยั่วยุ ถูกย้ำ ถ้าไม่โอนเดี๋ยวหาว่าไม่รัก ถ้าไม่แก้ผ้าจะหาว่าไม่ไว้ใจ โทรหาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 แม้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับไซเบอร์ แต่พร้อมสนับสนุนในการให้ข้อมูล และปลุกให้คนที่อยู่ในความหลงตรงนั้นให้ตื่นขึ้นได้ 

สู่ Digital Wellbeing กับ AIS อุ่นใจไซเบอร์

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS ให้ภาพของของ AIS ในฐานะผู้สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารของประเทศ เปรียบกับเป็นผู้สร้าง Digital Super Highway ซึ่งส่งผลต่อ Digital Wellbeing ของคนในสังคมไทย AIS จึงมุ่งมั่นปวารณาตัวในการสื่อสารให้คนในสังคมได้รู้วิธีการอยู่ในโลกดิจิตอลได้อย่างปลอดภัย สามารถใช้โลกออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ โดยไม่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง จึงเป็นที่มาที่ไปของการเปิดตัวแคมเปญสื่อสาร ทางโฆษณาชุดใหม่ล่าสุด ภายใต้แนวคิด “มีความรู้ก็อยู่รอด” และหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ “อุ่นใจไซเบอร์”

พลัช ร่มไทรย์ บริษัท ฟีโนมีน่า จำกัด ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ แชร์ประสบการณ์ว่า ปกติไม่เคยตระหนักถึงภัยไซเบอร์ว่าอันตรายมากนี้ จนกระทั่งค้นหาข้อมูลเพื่อคิดงาน พบว่า มีคนที่เป็นเหยื่อมากมาย และเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย  คือเขาตายกันจริง ๆ จึงตัดสินใจนำเสนอในแง่คนที่เคยเป็นเหยื่อ จึงกลายเป็นเรื่องราวของ อดีตเหยื่อ ที่แม้ตายไปแล้ว ก็ยังไม่มีความรู้ เล่าเรื่องผ่านคนตาย ให้เขาได้มาระบาย ถึงสาเหตุการตาย ที่มาจากการโดนหลอกในไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะโดนหลอกโอนเงิน หลงเชื่อเฟคนิวส์ และนำเสนอประเด็นเรื่องการโดนบูลลี่ ผ่านตัวละครเด็กชายที่ชื่อว่า เขี้ยวยักษ์ ซึ่งทุกวันนี้เด็กโดนบูลลี่จนเกิดปัญหาที่เห็นตามหน้าข่าวมากมาย  

นอกจากการสื่อสารผ่านภาพยนตร์โฆษณา หลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ คือ ประตูสู่ความรู้อีกหนึ่งบานสำคัญ ที่ทาง AIS ร่วมมือจากกรมสุขภาพจิตในการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร ด้วยการออกแบบเนื้อหาที่อ้างอิงมาตรฐานตามกรอบการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลอย่าง DQ Framework (Digital Intelligence Quotient) ยกระดับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล เพื่อใช้ความรู้สู้ภัยไซเบอร์ สร้างภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลยุคใหม่

นำเสนอเนื้อหา 4 P 4 ป ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งในรูปแบบเว็บไซต์ LearnDi Aunjaicyber และแอปพลิเคชัน อุ่นใจ CYBER ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และไม่จำเป็นต้องอยู่บนเครือข่ายของ AIS สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ไม่มีค่าใช้จ่าย เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา เรียนจบแล้วยังได้ Certificate อีกด้วย ที่สำคัญกว่าใบเซอร์ คือ ความรู้ที่คุณได้รับ จะทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงภัยในการใช้งานบนสื่อออนไลน์ จึงเป็นที่มาของ “มีความรู้ก็อยู่รอด” นั่นเอง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ