TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessเดลต้า เชื่อไทยมาถูกทาง พร้อมร่วมมือทุกภาคส่วนผลักดันรถยนต์ EV

เดลต้า เชื่อไทยมาถูกทาง พร้อมร่วมมือทุกภาคส่วนผลักดันรถยนต์ EV

รถพลังงานไฟฟ้า (EV) เริ่มมีการพูดถึงมากขึ้น มีการลงทุนมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เดลต้า บริษัทด้านพลังงานเป็น 1 ในบริษัทที่ร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างระบบนิเวศของการใช้งานรถพลังงานไฟฟ้าไทย

แจ็คกี้ จาง ประธานบริหาร เดลต้า ประเทศไทย กล่าวภายหลังงานฉลองครบรอบ 50 ปีของกลุ่มบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ว่า ทิศทางของอุตสาหกรรมรถพลังงานไฟฟ้า EV ยังเป็นบวกอยู่ และเชื่อว่าประเทศไทยกำลังไปในทิศทางที่ถูกต้อง เดลต้า พร้อมสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการมาของรถยนต์ EV ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เซ็นสัญญากับทาง มิตซูบิชิ การไฟฟ้านครหลวง และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อจัดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้คนมั่นใจว่าเมื่อซื้อรถยนต์ EV มาแล้วจะมีที่ชาร์จระหว่างทาง

-เดลต้าฉลองครบรอบ 50 ปี พร้อมเปิดตัวเลเซอร์โปรเจคเตอร์ 8K
-ไพโม่ จับมือ สวทช.ร่วมพัฒนาโครงการวิจัย EV component

ด้านความท้าทายที่จะติดตั้งสถานีชาร์จ แจ็คกี้ จาง มองว่า อันดับแรกคนต้องเข้าใจก่อนว่าการมีรถยนต์ EV มันดีอย่างไร ช่วยประหยัดได้อย่างไร และมีความจำเป็นอย่างไร การมีรถยนต์ EV สำคัญกับอนาคต และการบริหารจัดการพลังงานในอนาคต ซึ่งทางเดลต้าก็ได้ทำงานกับทั้งผู้ผลิตรถยนต์ และ ภาครัฐ ที่เป็นผู้กำกับดูแลที่เกี่ยวข้องในด้านพลังงาน เพื่อจะช่วยให้สามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อไปได้

“จริง ๆ แล้วไม่ใช่ความท้าทายเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นช่วงแรกของการนำรถยนต์ EV ซึ่งมีความท้าทายในหลายประเทศ ที่จะเจอปัญหาเดียวกันคือ เรื่องรถยนต์ EV กับ สถานีชาร์จ อะไรต้องมาก่อนกัน เป็นปัญหาไก่กับไข่”

เดลต้าเชื่อว่ารถยนต์ EV จะเกิดการใช้งานในวงกว้าง ต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกัน คือ

1.การรับรู้ของประชาชนว่า รถยนต์ EV มีประโยชน์อย่างไร
2.ราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ ปัจจุบันมีหลายภาคส่วนกำลังปรึกษาหารือกันอยู่
3.ภาคอุตสาหกรรม จะต้องผลิตรถยนต์ EV ในประเทศไทย ซึ่งจะต้องอาศัยแรงจูงใจจากภาครัฐ

“ภาครัฐต้องดูว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีความต้องการในระดับไหน ขณะเดียวกันด้านอุตสาหกรรมก็จะต้องมีพันธกิจร่วมกัน”

นอกจากการร่วมมือเพื่อผลักดันรถยนต์ EV แล้ว เดลต้า ยังลงทุนกับทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ สร้างทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ Automation หรือ Smart Manufacturing

แจ็คกี้ จาง กล่าวว่า อีกด้านหนึ่งที่เดลต้าคาดหวัง คือ อยากจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในภาคการผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ เพราะในอนาคตฐานการผลิตจะมีความจำเป็น และมีความเป็น Local มากขึ้น คือแต่ละประเทศจะมีฐานการผลิตเป็นของตัวเอง เพราะฉะนั้นจะต้องทำให้มั่นใจว่า SMEs จะสามารถผลิตและแข่งขันได้ อีกด้านหนึ่งเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่เดลต้าลงทุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ IoI โครงสร้างพื้นฐาน 5G โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและพลังงานหมุนเวียน

ซึ่งบางโครงการเริ่มเห็นผลตอบแทนแล้วแต่บางโครงการอยู่ในช่วงของการพัฒนา เช่น การผลิตรถยนต์ การผลิตได้ต้องใช้เวลาตั้งแต่ขั้นตอน R&D 5-10 ปี ซึ่งเดลต้ามั่นใจว่าจะสามารถยืนหยัดและคงความสามารถในการแข่งขันได้อย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาได้ทำงานกับหลาย ๆ หน่วยงานเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะไปในทิศทางเดียวกันกับโลก

“เดลต้าอยู่ในสถานะที่มีความพร้อมมากที่จะนำโซลูชันเหล่านี้เข้ามาแก้ปัญหา ช่วยประเทศไทย และช่วยให้สังคมไทยดีขึ้น”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ