TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeเสริมทักษะดิจิทัล เชื่อมโลกให้ผู้หญิง อีกแรงสำคัญในการฟื้นตัวของประเทศไทยจากภาวะโรคระบาด

เสริมทักษะดิจิทัล เชื่อมโลกให้ผู้หญิง อีกแรงสำคัญในการฟื้นตัวของประเทศไทยจากภาวะโรคระบาด

ผู้หญิงนับเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรโลก และเป็นครึ่งหนึ่งของพละกำลังที่จะสร้างความเติบโต สร้างโอกาส และการก้าวข้ามผ่านความยากจน 

มีรายงานการศึกษาออกมามากมายที่แสดงให้เห็นว่า การสนับสนุนผู้หญิงและเปิดโอกาสทางศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการให้พวกเขา จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสังคมที่มีคุณภาพและความสามารถในการปรับตัว รายงานระบุว่าเมื่อผู้หญิงได้ทำงาน พวกเขาจะใช้เงินรายได้ร้อยละ 90 ไปกับรายจ่ายที่เกี่ยวกับครอบครัวของพวกเขา เทียบกับผู้ชายที่ใช้เพียงแค่ร้อยละ 35[1] ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อเราให้ความสำคัญกับผู้หญิงและเยาวชนหญิง ภาคธุรกิจและรัฐบาลสามารถเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขยายตลาด และพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาของทุกคนได้  

นี่คือเหตุผลที่ Facebook ประเทศไทย ยังคงเดินหน้าในพันธกิจที่จะสนับสนุนความสามารถในการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับผู้หญิง ด้วยการจัดอบรมให้ความรู้ทางดิจิทัลและช่องทางต่างๆ เพื่อให้พวกเขาได้ขยายธุรกิจและเครือข่ายของตนเอง ซึ่งรวมถึงโครงการ Boost with Facebook ที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยเข้าร่วมแล้วกว่า 4,500 ราย โดยร้อยละ 60 เป็นผู้หญิง 

แนวคิด “เลือกที่จะท้าทาย” หรือ “Choose To Challenge” ของวันสตรีสากลในปีนี้ชวนให้ทุกคนยืนหยัดต่อสู้กับอคติและความไม่เท่าเทียมทางเพศ โรคระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบกับผู้หญิงทั่วโลกอย่างมหาศาล มีรายงานระบุว่าผู้หญิงจะต้องแบกรับความรับผิดชอบในการดูแลสมาชิกครอบครัว มีโอกาสที่จะถูกปลดออกจากงานหรือโดนลดเงินเดือนมากกว่า รวมทั้งมีโอกาสที่จะต้องเจอกับความเครียดและวิตกกังวลมากกว่าด้วย 

ผลกระทบจากโควิด-19  

Facebook ได้ร่วมงานกับหลากหลายสถาบัน เพื่อศึกษาความไม่เท่าเทียมทางเพศทั้งที่ทำงานและที่บ้านในช่วงโควิด-19[2] และจากรายงานที่เรียกได้ว่าเป็นชิ้นแรกและยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนนี้ ทำให้เราได้เห็นถึงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร เวลาที่พวกเขาต้องใช้ไปกับการดูแลบุตร และทัศนคติเกี่ยวกับความเท่าเทียม และเราก็ได้พบทั้งสิ่งที่หน้ากังวลใจ และสิ่งที่เรียกได้ว่ายังเป็นความหวังของเรา  

สิ่งที่น่ากังวลใจคือการที่ผู้หญิงยังคงมีรายได้น้อยกว่าผู้ชายและยังคงต้องพึ่งพาคนอื่นทางการเงินอยู่ โดย 1 ใน 4 ของผู้หญิงได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของงาน และกล่าวว่าพวกเขาต้องใช้เวลาจำนวนมากไปกับการดูแลบุตรและทำงานบ้าน ซึ่งเป็นผลมาจากโควิด-19 

ข้อมูลดังกล่าวยังได้รับการยืนยันเพิ่มเติมด้วยผลการศึกษา Future of Businessของ Facebook ที่จัดทำขึ้นร่วมกับธนาคารโลกและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของมีโอกาสในการเข้าถึงเงินกู้และวงเงินสินเชื่อน้อยกว่า เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการชาย ซึ่งข้อเท็จจริงนี้ถูกพิสูจน์ว่าเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยร้อยละ 65.9 ของผู้หญิงไทยที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าสามารถสร้างยอดขายได้น้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ.2562 ซึ่งต่างจากธุรกิจที่มีเจ้าของหรือถูกบริหารโดยผู้ชายที่ได้รับผลกระทบที่ร้อยละ 59.7

ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 34.1 ของธุรกิจที่มีเจ้าของหรือถูกบริหารโดยผู้หญิงยังได้ลดอัตราการจ้างงานตั้งแต่ตอนต้นของสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งแตกต่างจากผู้ประกอบการชายที่ลดอัตราการจ้างงานที่ร้อยละ 17 นอกจากนี้ ยังมีการเลิกจ้างงานครั้งใหญ่ โดยร้อยละ 12.1 ของธุรกิจที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของได้เลิกจ้างอย่างน้อย 1 ใน 5 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับธุรกิจที่มีเจ้าของหรือถูกบริหารโดยผู้ชายที่เลิกจ้างงานเพียงร้อยละ 2.4

นอกจากนี้ ผู้หญิงไทยยังคงพบกับอุปสรรคต่อการนำดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยร้อยละ 39.9 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้หญิงอ้างอิงถึงการขาดความตระหนักรู้หรือความเข้าใจว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเมื่อพิจารณาว่าผู้นำธุรกิจหญิงได้แสดงให้เห็นถึงระดับความยืดหยุ่นในการปรับโมเดลธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์โควิด-19 ที่มากกว่า อีกทั้งผู้นำธุรกิจหญิงยังมีแนวโน้มในการสร้างยอดขายมากกว่าร้อยละ 50 ผ่านช่องทางดิจิทัล

การเชื่อมต่อดิจิทัลนำมาซึ่งโอกาส

สิ่งที่เป็นความหวังสำหรับผู้หญิงนั้นได้แก่ข้อเท็จจริงที่ว่าทัศนคติในหลายๆ เรื่องนั้นกำลังเปลี่ยนไป โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้ชาย เห็นพ้องกันว่าผู้หญิงและผู้ชายควรได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันด้านการศึกษา การจ้างงาน และเรื่องการตัดสินใจภายในครอบครัว นอกจากนี้ ผลการศึกษาอื่นๆ ยังได้ยืนยันว่าทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีความหวังว่าโลกดิจิทัลจะช่วยสนับสนุนลูกสาวของพวกเขาให้ประสบความสำเร็จในอนาคต

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของอย่าง ลาพูน ออร์แกนิค (La’Poon Organic) และ ออร์แกนิควา (Organicwa Thailand) ถือเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่ดี โดยธุรกิจลาพูน ออร์แกนิค มีการเติบโตขึ้นที่ร้อยละ 15 เมื่อเทียบปีต่อปี เนื่องมาจากการใช้เพจธุรกิจบน Facebook ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าโดยตรงอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งในปัจจุบันยังได้จ้างพนักงาน 11 คน และให้การสนับสนุนชุมชนของพวกเขา ในขณะเดียวกัน ธุรกิจออร์แกนิควาได้ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วจากการใช้งาน Messenger และ Facebook Ads เพื่อขยายฐานลูกค้าที่ชื่นชอบแบรนด์และสร้างการมีส่วนร่วมกับพวกเขามากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจผลไม้ออร์แกนิคดังกล่าวยังได้ปรับโมเดลธุรกิจร้านอาหารของเธอด้วยการเพิ่มบริการส่งอาหารในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย

อรุณี พรหมชัย ผู้ก่อตั้งธุรกิจ ลาพูน ออร์แกนิค กล่าวว่า “ในฐานะแม่เลี้ยงเดี่ยว เราคิดแค่ต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัวให้ได้ เราเริ่มจากศูนย์ในการทำธุรกิจ คิดแค่ต้องผลักดันตัวเองให้ประสบความสำเร็จเพื่อครอบครัว เรามีความกล้าที่จะเริ่มต้น และคิดเสมอว่าไม่มีอะไรเกินความสามารถของผู้หญิงอย่างเรา”

วารี แวววันจิตร กรรมผู้จัดการ บริษัท ออร์แกนิควา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เมื่อพูดถึงการทำธุรกิจ เราเชื่อว่าผู้หญิงทุกคนมีความพร้อมด้วยจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว จากความละเอียดอ่อน เอาใจใส่ในทุกขั้นตอน รวมถึงความอดทนของผู้หญิง ซึ่งเป็นทักษะที่ดีเยี่ยมที่จะช่วยให้ผู้หญิงประสบความสำเร็จในการบริหารธุรกิจ”

ความสามารถ และการเชื่อมต่อเชิงดิจิทัล สามารถขจัดอุปสรรคที่กีดขวางผู้หญิงที่ว่างงานจากการประกอบอาชีพหรือการเริ่มต้นธุรกิจได้ โดยความสามารถในการทำงานจากที่บ้านและการกำหนดช่วงเวลาการทำงานของพวกเธอได้ด้วยตัวเองหมายความว่าจะมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่สามารถเข้าร่วมตลาดแรงงานได้เช่นเดียวกัน

เห็นได้ชัดว่าการสนับสนุนเชิงเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมด้วยการลงทุนในโครงการส่งเสริมทักษะความรู้และความเข้าใจเชิงดิจิทัล และการพัฒนาการเชื่อมต่อเพื่อผู้หญิง สามารถปลดล็อคศักยภาพให้กับกลุ่มคนรุ่นต่อไปในอนาคตได้

หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนความหวังของส่วนรวมนี้ให้กลายเป็นความจริงได้สำเร็จ เราจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อทำให้แน่ใจว่าผู้หญิงจะสามารถเข้าถึงการศึกษาด้านทักษะเชิงดิจิทัลเป็นพื้นฐานขั้นแรก นี่คือเหตุผลที่เราจะยังคงลงทุนอย่างจริงจังในการพัฒนาเครื่องมือและการฝึกอบรมเพื่อสร้างโลกที่เต็มไปด้วยโอกาสในการเชื่อมต่อ เรียนรู้ และเติบโตสำหรับผู้หญิง

โดย แพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director, Facebook ประเทศไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ