TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityปศุสัตว์ไทยเตรียมพร้อมสู่เกษตรกรยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่การผลิต

ปศุสัตว์ไทยเตรียมพร้อมสู่เกษตรกรยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่การผลิต

HIGHLIGHT

  • ภาคการเกษตรและปศุสัตว์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซทั่วโลก 54,000 ล้านตันต่อปี เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม
  • จาก FAO ในระบบของภาคอาหารหรือ Food system มีการปล่อยก๊าซอยู่ที่ 16,500 ล้านตัน หรือ 1 ใน 3
  • ภาคปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซ 7,200 ล้านตัน คิดเป็น 13% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ทำให้ภาคปศุสัตว์ ได้รับความสำคัญว่าป็นภาคที่มีการปล่อยก๊าซค่อนข้างสูง

ดร.พฤฒิภา โรจน์กิตติคุณ ผู้อำนวยการสำนักประเมินและรับรองโครงการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยประกาศเป้าหมายสำคัญ 2 หัวข้อคือ 

  • ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050
  • ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

ซึ่ง 2 ตัวนี้มีความต่างกัน ในปี 2050 ไทยพิจารณาเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นศูนย์ แต่ในปี 2065 พิจารณาก๊าซเรือนกระจกทุกตัว  7 ชนิด ภายใต้พิธีสารเกียวโต ก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) 

ในงานประชุมที่กลาสโกว์ ยังมีการพูดถึง การจัดสรรงบประมาณในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีพลังงานสะอาด รวมทั้งเสริมความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มีการพูดถึงการสร้างงานในอุตสาหกรรมไฟฟ้า และรถยนต์พลังงานสะอาด ซึ่งหัวข้อดังกล่าวเป็นไปในทิศทางของโลก ว่าต้องไปที่ลดก๊าซเรือนกระจกมุ่งไปที่พลังงานสะอาด และทุกอย่างที่เป็นสิ่งที่ยั่งยืน

ประเด็นหนึ่งที่ไทยต้องพิจารณาก็คือ สหรัฐเตรียมออกกฎหมายค่าธรรมเนียมคาร์บอน ที่เรียกว่า “Carbon border tax” ตัวนี้ได้มีการยื่นร่างต่อรัฐสภาพสหรัฐ สำหรับเก็บภาษีนำเข้ามาในสหรัฐ ที่มีการปล่อยคาร์บอนในปริมาณสูง เพื่อไม่ให้เกิดการย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น โดยตรงนี้จะจัดเก็บในประเทศที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่าสหรัฐ เพื่อนลดต้นทุนการปฏิบัติตามกฎหมาย 

ในขณะที่นโยบายของโจ ไบเดน นอกจากจะพูดถึงภาคพลังงานแล้ว ยังพูดถึงภาคการเกษตร และการก่อสร้างด้วย ตรงนี้เป็นส่วนที่ไทยต้องมีการติดตามในส่วนของภาคเกษตรและปศุสัตว์ โดย กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย Border tax ของสหรัฐ คือเหล็กกล้าและซีเมนต์ ซึ่งเขาจะดูว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก Production Process เป็นเท่าไหร่ แต่ของสหรัฐจะมีข้อยกเว้นกับสินค้าที่มาจากประเทศที่มาจาก List developed countries

อีกกลุ่มหนึ่งคือสหภาพยุโรป ที่มีการเสนอแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า European Green Deal ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญ คือมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอน EU เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับก๊าซเรือนกระจก ได้มีการประกาศเป้าหมายที่เข้มข้นมากขึ้น เพิ่มเป้าหมายจากร้อยละ 40 ในปี 2030 เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 55 ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องติดตามและเตรียมความพร้อม

ทำไมภาคการเกษตร/ปศุสัตว์ต้องสนใจเรื่องก๊าซเรือนกระจก?

ดร.พฤฒิภา อธิบายว่า ภาคการเกษตรและปศุสัตว์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซทั่วโลก 54,000 ล้านตันต่อปีเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม จาก FAO ในระบบของภาคอาหารหรือ Food system มีการปล่อยก๊าซอยู่ที่ 16,500 ล้านตัน หรือ 1 ใน 3 ภาคปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซ 7,200 ล้านตัน คิดเป็น 13% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ทำให้ภาคปศุสัตว์ ได้รับความสำคัญว่าป็นภาคที่มีการปล่อยก๊าซค่อนข้างสูง

ข้อมูลปี 2005 จาก Academic มีการดูการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคปศุสัตว์ พบว่าในส่วนของการผลิตอาหารสัตว์ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 45% การหมักในระบบการย่อยอาหารของสัตว์อีก 39% อันนี้เป็น 2 ส่วนสำคัญของภาคปศุสัตว์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ในปี 2559 มีการปล่อยก๊าซอยู่ที่ 354.4 ล้านตัน ภาคที่มีการปล่อยก๊าซสูงสุดคือพาคพลังงาน 72% ลำดับ 2 คือภาคเกษตร 52.2 ล้านตัน 14.7%

ภาคการเกษตรที่มีการปล่อยก๊าซมากสุด คือ การปลูกข้าว 51% รองลงมาอันดับ 2 และอันดับ 3 ใกล้เคียงกัน คือการปล่อยก๊าซออกไซด์จากดิน และปศุสัตว์ อยู่ที่ 21%

แล้วทำไมเราต้องให้ความสนใจ? ดร.พฤฒิภาอธิบายว่า เนื่องจากสินค้าปศุสัตว์ และภาคปศุสัตว์เป็นสินค้าที่มีการส่งออกและมีมูลค่าสูงมาก ข้อมูลจากฐานเศรษฐกิจและกรุงไทยคอมพาส จะเห็นได้ว่าสินค้าปศุสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่แข็งมีมูลค่าการส่งออกที่สูงมาก มูลค่าที่มีการส่งออกไปสหภาพยุโรปและสหรัฐมีสูงกว่า 70,000 ล้านบาทต่อปี เพราะฉะนั้นเราต้องให้ความสำคัญ ถ้าทางยุโรป หรือหสรัฐมีมาตรการอะไรที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรขึ้นมา อาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเรา

การเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับโลกร้อน

  • ส่วนแรก ปัจจุบันไทยมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต้องมาดูว่าเทคโนโลยีอะไรที่จะสามารถปรับเปลี่ยนหรือจัดการ ที่ช่วยให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกได้ ยกตัวอย่าง เอกสารการวิจัยของ FAO ที่มีการพูดถึง Feeding Technique การพัฒนาปรับปรุงการประกวดราคา (bidding) สุขภาพสัตว์ การจัดการมูลสัตว์จะช่วยในการลดก๊าซเรือนกระจก ยกตัวอย่าง บางบริษัทมีการผลิตอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยของไก่ อาหารสุกรเพื่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปริมาณไนโตรเจนในสิ่งขับถ่ายเหล่านี้ ช่วยลดก๊าซได้ การจัดการมูลสัตว์ไปทำไบโอแก๊ส (Biogas) การปลูกข้าวเปียกสลับแห้ง เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาช่วยในการเกษตรของเรา
  • ส่วนที่ 2 คือการทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) การทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ว่าจะขององค์กร หรือผลิตภัณฑ์ ตรงนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อม ถ้าในอนาคตต้องแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการส่งออก จะได้รู้ว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากตรงไหน จะสามารถปรับเปลี่ยน หรือลดก๊าซเรือนกระจกจากตรงไหนได้ 
  • ส่วนที่ 3  คือการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกหรือ Carbon Credit ที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ได้มีการพัฒนาเครื่องมือ และกลไกลต่าง ๆ เตรียมไว้ เพื่อตั้งรับผลกระทบจากมาตรฐานต่าง ๆ ที่จะเข้ามา 

บทบาทกรมปศุสัตว์ กับ การส่งเสริมปศุสัตว์สีเขียว

นายสัตวแพทย์รักไทย งามภักดิ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ กล่าวว่าตนของเน้นเรื่องของ  EU เนื่องจากเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทยมานาน ในการทำอาหารคน อาหารสัตว์เลี้ยง โดยจะเกี่ยวข้องในส่วนของการออกแบบห่วงโซ่อาหารในข้อ 5 เรื่องยุทธศาสตร์การปรับปรุงห่วงโซ่อาหาร รวมถึงการปรับระบบนิเวศน์ และความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นออแกนิก ฟาร์ม

การบริหารจัดการ ห่วงโซ่การผลิต และอาหารที่ยั่งยืน โดยเน้นการผลิต แปรรูป ขนส่ง ทั้งหมดนี้อยู่ในกรอบของ EU 

“กรมปศุสัตว์ในฐานะที่ดูแลตลอดห่วงโซ่การผลิต ก่อนที่แจะแปรไปเห็นห่วงโซ่อาหาร ผลิตภัณฑ์ดำรงค์ชีพ ของมนุษย์ เราจะนำสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบัน มาสอดรับกับนโยบายการเกษตรสีเขียว หรือการผลิตที่มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ลดคาร์บอน ลดเรือนกระจก”

โดยเริ่มต้นจาก วัตถุดิบ อาหารสัตว์ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะมาผลิตเป็นตัวสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ ต้องเป็นวัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการไม่มีสารพิษจาก เชื้อราจากพืช  มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนด อะไรแบบนี้ การปนเปื้อนสารเคมี 

บทบาทของปศุสัตว์สีเขียว

การเพิ่มเติมเรื่องของการตัดไม้ทำลายป่าว่าวัตถุดิบที่มา ต้องมาจากที่ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free product)  เป็นประเด็นที่ต้องหารือกัน ว่าการไม่ตัดไม้ทำลายป่า จะครอบคลุมถึงไหน อย่างไร มีข้อจำกัดพอสมควร 

“ผมขอยกตัวอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เรามีความต้องการประมาณ 10 ล้านตัน ประเทศไทยเรามีการผลิตได้ประมาณ 5 ล้านตัน เรามีพื้นที่การผลิตไม่เกิน 7 ล้านไร่ เกือบครึ่งที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เราจะไปลงรายละเอียดอย่าง เรื่องของการไม่ตัดไม้ทำลายป่า” นายสัตวแพทย์รักไทย กล่าว

อันหนึ่งที่สำคัญคือวัตถุดิบที่มาจาก GAT หรือมาตรฐานการปลูกพืช จะต้องดำเนินการอย่างไร ถึงมีคุณภาพได้มาตรฐาน และช่วยในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ก็จะส่งผลสู่การลดก๊าซเรือนกระจก หรือการลดคาร์บอนอะไรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการหว่าน พรวนดิน การใช้สารเคมี หรือเติมด้วยเกษตรอินทรีย์ เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจมากขึ้น นอกเหนือไปจากที่ได้มาแล้วดูแค่คุณภาพมาตรฐาน

ปัจจุบันมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป สังกัดกรมปศุสัตว์ ประมาณ 200 โรง ช่วงหลังมีการเพิ่มการผลิตพอสมควร 80% ได้มาตรฐาน GMP – Good Manufacturing Practice ตรงนี้ถือเป็นมาตรฐานอันหนึ่ง 

เรื่องของวัตถุดิบที่เจะเอามาใช้นอกจากจะมีคุณค่ามาตรฐานแล้ว ต้องมีเรื่องของการใช้ประโยชน์สูงสุด การสูญเสีย ในระหว่างกระบวนการผลิต หรือที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิต เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงเรื่องของสูตรอาหารสัตว์ ที่นำมาใช้แล้วทำให้ระบบการเจริญเติบโต การย่อยต่าง ๆ ลดการเจริญเติบโตของก๊าซมีเทน ทั้งสูตรกรดที่ใช้ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการพัฒนา ซึ่งตอนนี้มีการนำมาใช้กันเยอะ ใช้ระบบทำอาหารสัตว์ ใช้ให้มากที่สุด ขับถ่ายออกมาแล้วใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

เรื่องฟาร์ม มีมาตรฐานฟาร์ม มีสัตวแพทย์คุมฟาร์ม ดูแลภายใต้กรอบ ทั้งการใช้ยา การดูแลสัตว์ป่วย การทำลาบยซากรวมถึง สัตวบาลผู้เลี้ยง ทำงานร่วมกัน

ภาคการศึกษาพร้อมตั้งรับ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถือเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทยแห่งหนึ่ง ที่มีศักยภาพในการสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตอาหารสัตว์และปศุสัตว์ โดย

ศ. ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ผู้อำนวยการ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า มองโครงสร้างศักยภาพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการสนับสนุนการปล่อยก๊าซ ลดก๊าซเรือนกระจก ใน 2 ภาคส่วน โดยเรื่องหนึ่งที่เราทำได้ดี และเป็นจุดแข็งมาโดยตลอดคือ การประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์รวมถึงการศึกษาเรื่องของ Globalize และ Green house gas modeling 

ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีการศึกษาเรื่องเหล่านี้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) ระบบรายงานต่าง ๆ, ทำ LCA การนำผลิตภัณฑ์การเกษตรไปใช้ ในเรื่องของตัว 5F, ทำ LCA เรื่องของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงพลังงานชีวภาพรวมถึงการพัฒนาการศึกษาตัวชี้วัดที่ยั่งยืน อีก 2 ภาคส่วนสำคัญคือภาคการขนส่ง และการพาณิชย์ต่าง ๆ ที่มีการทำLCA เพื่อหาตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระตก สำหรับ 2 ภาคส่วนนี้ด้วย 

สำหรับงานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่สามารถช่วยชี้วัดภาวะเรือนกระจกนี้ได้คือ การศึกษาการจัดการฟาร์มโคนมแบบครบวงจร ตรงนี้คิดว่าน่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้ได้อย่างมีศักยภาพ

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย 2 ส่วน คือ การผลิตอาหารสัตว์ มีการพัฒนาเรื่องของจุลินทรีย์ใช้เติบเข้าไปในอาหารสัตว์ หญ้า ฟางหมัก เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน จากสัตว์เมื่อสัตว์บริโภคของเหล่านี้เข้าไป และการขจัดของเสียจากสัตว์ มีการวิจัยพัฒนาเรื่องของการผลิตไบโอแก๊ส สามารถเอาไบโอแก๊ส ไปประยุกต์ใช้ในระบบพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยมหาวิทยาลัยมีการทำวิจัย นำ น้ำหมักที่เหลือจากการผลิตไบโอแก๊ส ไปใช้ผลิตเป็นปุ๋ย จากนั้นนำปุ๋ยเหล่านี้ไปใช้ปลูกพืชที่จะเป็นอาหารสัตว์ต่อไปได้ ดร.นวดล กล่าว

นับตั้งแต่มีการประชุม รัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ประเด็นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับประเทศไทยนั้น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) โดยประกาศเจตนารมณ์ว่า ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 และด้วยการสนับสนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้ กรอบอนุสัญญาฯ ไทยจะยกระดับ NDC ขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ.2050

อุตสาหกรรมปศุสัตว์ในเอเชีย มีแนวโน้มปล่อยก๊าซมากสุด

โดย นายสัตวแพทย์ ดร.ธนวรรษ เทียนสิน อัครราชทูต(ฝ่ายเกษตร)และผู้แทนถาวรไทยประจำ FAO/IFAD/WFP ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี กล่าวถึง “แนวโน้มความต้องการสินค้าปศุสัตว์ในอนาคตและมาตรการการค้าในสหภาพยุโรป” ว่า ปัจจุบันปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกต่อหัวมีเพิ่มมากขึ้น เหตุผลมาจากความเชื่อเรื่องก๊าซเรือนกระจก คนตระะหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ต้องการเนื้อสัตว์ที่มีความปลอดภัย และดีต่อสุขภาพ เทรนด์การบริโภคเนื้อวัวจึงเริ่มลดลงมาตั้งแต่ปี 2007     

สำหรับสัดส่วนของนมที่ที่ผลิตในโลก 81% มาจากนมวัว 15% มาจากกระบือหรือควายนม ในอินเดีย อิตาลี และ 4% มาจากแพะ แกะ อูฐ ในขณะที่การส่งออกนม ผลิตภัณฑ์จากนมและชีสมีสูงในสหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ และอเมริกา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันสหภาพยุโรปไม่มีสัดส่วนโควต้าการผลิตนม เนื่องจากตลาดโลกเอื้อต่อธุรกิจ ทุกประเทศจึงสามารถผลิตนมได้อย่างเสรี 

ในประเด็นการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ดร.ธนวรรษ ประเมินไปอีก 8 ปีข้างหน้า การผลิตเนื้อสัตว์ หรืออุตสาหกรรมปศุสัตว์ในเอเชีย จะมีการปล่อยก๊าซออกมามาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ รองลงมาคือลาตินอเมริกา

UN Food System Summit

ในการประชุม UN Food System Summit มีเป้าหมายที่จะปรับเปลี่ยนระบบอาหารและเกษตรของโลก ไปสู่ระบบอาหารและเกษตรกรยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยมี 5 แนวทางปฏิบัติหรือ Action Track คือ

  1. ทำอย่างไรให้ทุกคนเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ (Ensure access to safe and nutritious food for all)
  2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปสู่การบริโภคที่ยั่งยืน ลดขยะอาหาร (Shift to sustainable consumption patterns)
  3. การส่งเสริมการผลิตที่ทำให้เกิดการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Boost nature-positive production) 
  4. ดำรงชีพอย่างเท่าเทียมกัน (Advance equitable livelihoods)
  5. สร้างความยืดหยุ่นต่อจุดอ่อน แรงกระแทก และความตึงเครียด (Build resilience to vulnerabilities, shocks and stress)

การประชุมดังกล่าวยังมีการพูดถึงอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ว่าเป็นภาคการผลิตว่าที่สร้างผลกระทบเรื่องก๊าซเรือนกระจก ซึ่งดร.ธนวรรษ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมประชุม ในหัวข้อ “Sustainable protein for all” ทำให้ผู้นำโลก มองภาพปศุสัตว์ในเชิงบวก เพื่อให้คนทั่วโลกเปลี่ยนมุมมองด้านปศุสัตว์ 

“หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องของ Lab Meat Food เนื้อหรือผักที่เพาะเลี้ยงให้ห้องแล็บ กับอีกส่วนคือ Natural Product Food อาหารทุกอย่างที่ผลิตใช้ดินผลิต จากไร่นา ซึ่งเป็นสัญญาณจากนักลงทุนกลุ่มไฮเทคต่าง ๆ ที่กำลังเปลี่ยนเข้ามาทำธุรกิจ เข้ามาลงทุนสตาร์ตอัพทำเรื่องของ Tech Food จึงไม่แปลกที่งานประชุมจะมีกลุ่มนายทุนอยู่เบื้องหลัง”

จากเดิมที่บริโภคอาหารที่ต้องเลี้ยงจริง ๆ โดยวิธีธรรมชาติ เปลี่ยนมาบริโภคทุกอย่างจากเครื่องจักร และแล็บที่สร้างขึ้นมา ผสานกับการสื่อสาร ที่ทำให้ผู้บริโภคเชื่อว่าต้องกินเนื้อ และอาหารจากแล็บถึงจะปลอดภัย ส่งผลให้เกษตรกร และผู้ประกอบการหลายล้านคนได้รับผลกระทบ แต่กลุ่มบริษัทที่เป็นไฮเทคจะมีผลกำไรจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และวิถีชีวิตของคน นี่สิ่งที่ผมได้ยินเสียงจากเวทีโลก ดร.ธนวรรษกล่าว

“ที่ผ่านมาไทยต้องเจอกับปัญหา Food Safety มากมาย ทุกครั้งที่เกิดขึ้นจะมีการส่งสัญญาณ ซึ่งประเทศสมาชิกใน UN food system summit จะเอาสัญญาณนโยบายโลกที่เป็น Global Policy มาแปลงเป็นกฎหมายนโยบายของแต่ละประเทศ ซึ่งกลุ่มสหภาพยุโรปจะเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้ได้ไวที่สุด มีความชำนาญในการเอานโยบายโลกมาแปลงเป็นนโยบายของสหภาพยุโรป แล้วเป็นกฎหมายปฏิบัติกับประเทศที่เป็นผู้ส่งออก”

Deforestation-free product

ล่าสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา มีการประชุม EU ได้ประกาศว่าจะมีกฎหมายฉบับใหม่ที่ว่าด้วย ‘Deforestation-free’ สินค้าและอาหารที่ห่วงโซ่การผลิตจะต้องไม่มีการทำลายป่าไม้ มีการติดฉลาก มีการประเมินว่า สินค้าตัวนี้ ทั้งห่วงโซ่การผลิตจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้

  • สินค้ากลุ่มแรกที่จะได้รับผลกระทบคือ เนื้อวัว ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน ไม้ โกโก้ กาแฟ
  • กลุ่มที่ 2 ยางพารา ไทยได้รับผลกระทบหนัก เพราะส่งออกเยอะ
  • กลุ่มที่ 3 ข้าวโพด แม้ไทยจะไม่ได้ส่งออกมาก แต่นำมาใช้ในปศุสัตว์ไทย เกี่ยวเนื่องกับห่วงโซ่อุตสาหกรรม
  • กลุ่มที่ 4 สัตว์ปีก ไทยเป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกเป็นอันดับสี่ของโลก เราส่งออกไปยุโรป 30-35%

นี่เป็นเหตุผลให้ภาคอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทยต้องเตรียมตัวรับมือกับ ‘Deforestation-free product’ ซึ่งแม้ในขณะนี้ไทยยังไม่มีกฎหมาย หรือหน่วยงานรับรอง แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานภาคีต่าง ๆ รวมถึงภาคเอกชนจะต้องเตรียมตัวก่อนที่กฎหมายฉบับเต็มจะออกมา และผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาพยุโรปในอีก 2 ปีข้างหน้า 

การลดก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมปศุสัตว์

ในงานประชุม UN Food System Summit มีการพูดหลาย ๆ เรื่อง ทั้งระบบการผลิตโลว์คาร์บอน มีการตั้งในเรื่องของ daily net zero achieve ทำอย่างไรให้มีการลดก๊าซมีเทน อะไรที่เป็น Good practice ที่ดี ที่จะลดภาวะเรือนกระจก

ดร.ธนวรรษ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมากระแสเกษตรกรยั่งยืนมาแรงมาก โดยเฉพาะเรื่องของนิเวศเกษตร (Agroecology) พอเป็นกระแสในสหภาพยุโรป จะถูกนำมาใช้ในประเทศผู้ส่งออก ที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องเฉพาะสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว จะมีเรื่องกฎหมาย เกษตรกร ผู้ผลิต ได้รับราคาที่ยุติธรรมแล้วหรือยัง มีการติดฉลาก ตอนนี้เริ่มเห็นสินค้าในยุโรปมีการติดฉลาก 

Thailand Green kitchen of the world

สำหรับภาคปศุสัตว์และเกษตรกรไทย พร้อมหรือยังที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่การเกษตรที่ยั่งยืน จะมีวิธีสื่อสารอย่างไรให้ลูกค้าทราบว่า “ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตที่คำนึงถึงข้อตกลง Sustainable food system”

ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย โรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูป รวมถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต้องเอาข้อมูลเหล่านี้ไปร่วมกันคิด หาวิธีการใช้เชื้อเพลง ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม 

“ผมหวังว่า ผลของการประชุมองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม จะทำให้เราเห็นทิศทางของการปรับเปลี่ยนภาคปศุสัตว์ ไปสู่ปศุสัตว์ที่ยั่งยืน ไปสู่ห่วงโซ่อาหาร เราได้ยินมานานแล้ว “Thailand kitchen the world” วันนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้องรีแบรนด์ประเทศใหม่ ถ้าเราไม่เปลี่ยนวันนี้ เราจะถูกบังคับให้เปลี่ยนในวันข้างหน้า หลังเซ็นต์สัญญานี้  หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต้อง repositioning ใหม่ ว่า  “Thailand Green kitchen of the world”” ดร.ธนวรรษ กล่าวทิ้งท้าย

การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคธุรกิจปศุสัตว์ไทย

ดร.พฤฒิภา พาย้อนกลับไปที่งานประชุม COP 26 ที่ผลของการประชุมมุ่งเน้นการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ได้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศา เชื่อมโยงกับความตกลงปารีส ที่มีความเข้มข้น ทุกประเทศมีความเห็นว่าต้องจำกัดความเข้มข้นไม่เกิน 1.5 องศา มีการเรียกร้องให้ประเทศทบทวนเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 และขอให้มีการส่งในปี 2022 เชิญชวนให้แต่ละประเทศลดเรือนกระจก ไม่ใช่แค่คาร์บอนบอนน๊อกไซ แต่รวมถึงก๊าซมีเทนด้วย ซึ่งค่อนข้างเกี่ยวข้องกับภาคปศุสัตว์ไทย ที่มีการปล่อยก๊าซนี้ค่อนข้างมาก

ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งมีเรื่องของการเฟดดาวน์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ไม่มีเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน มีการพูดถึงเงินทุนที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องสนับสนุนให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมถึงภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทำให้เห็นว่าตั้งแต่กรุงปารีสมาถึงกลาสโกว์ เขาให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงภาวะเรือนกระจกอย่างมาก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

NRF เผยกลยุทธ์ มุ่งสู่การเป็นบริษัทคลีนฟู้ดเทคระดับโลก

UOB เผย 1 ใน 2 ของผู้บริโภคชาวไทยเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ