TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyเปิดพันธกิจ 2 แบงก์ "ออมสิน-ซีไอเอ็มบี" นำนวัตกรรมขับเคลื่อนดิจิทัลเซอร์วิส

เปิดพันธกิจ 2 แบงก์ “ออมสิน-ซีไอเอ็มบี” นำนวัตกรรมขับเคลื่อนดิจิทัลเซอร์วิส

ธนาคารในปัจจุบันต่างมีนโยบายมุ่งให้บริการธนาคารดิจิทัล รวมถึงธนาคารออมสิน รัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจด้านสถาบันการเงิน มีสาขา 1,060 แห่งทั่วประเทศ ให้บริการลูกค้ามากกว่า 22 ล้านราย และธนาคารซีไอเอ็มบี ที่มุ่งมั่นเป็นธนาคารดิจิทัลระดับแนวหน้าในอาเซียน ทั้งยังเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศไทยก็เช่นกัน

สองธนาคารอาจมีลูกค้าเป้าหมาย และพันธกิจที่แตกต่าง แต่ล้วนลงทุนดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย ซึ่งต้องฟังรายละเอียดจากตัวแทนของทั้งคู่

ต่างพันธกิจแต่มุ่งบริการลูกค้า

ขอเริ่มจากธนาคารออมสินที่มีลูกค้าตั้งแต่เด็กเล็ก จนถึงวัยที่มั่นคงทางการเงิน มีแนวคิดสร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ลดเวลา ลดระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประเทศก็เข้าถึงบริการธนาคารได้ เพื่อแก้ปัญหาที่คนต่างจังหวัดจะเข้าใช้บริการในสาขาธนาคารมีระยะเดินทางเฉลี่ย 30 กิโลเมตร ต่างจากคนกรุงเทพฯ หรือคนเมืองที่มีสาขาธนาคารและตู้เอทีเอ็มกระจายอยู่ทั่วไป ทำให้เข้าถึงง่าย

นำไปสู่การหาหนทางใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลสร้างความเท่าเทียมแก่ผู้ใช้บริการให้เข้าถึงบริการทางด้านการเงิน และถือเป็นภารกิจของธนาคารออมสิน รวมทั้งจะต่อยอดไปสู่การลดความยากจนของประชาชนในประเทศ

จากสถานการณ์จริงที่ขับรถตระเวนดูนั่น ดูนี่ ไปเรื่อยเปื่อย ทำให้รับรู้สภาพทางกายภาพว่า แม้ปัจจุบันถนนหนทางในประเทศจะได้รับการพัฒนา การตัดถนนใหม่ๆ มีเพิ่มขึ้นจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไร การเดินทางก็ยังไม่สะดวกอยู่ดี หลายๆ พื้นที่การเดินทางเข้าออกไม่คล่องตัว หากไม่มียานพาหนะส่วนตัวใช้ ต้องรอรถบริการที่มีเข้าออกวันละ 1 หรือ 2 เที่ยวเท่านั้น เมื่อได้ยินแนวคิดนี้จึงอดคิดไม่ได้ว่า น่าจะดี และมีประโยชน์ต่อลูกค้าของธนาคารที่มีตั้งแต่วัยเด็ก เริ่มหัดฝากเงิน จนถึงวัยหลังเกษียณซึ่งกำลังจะกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศที่ก้าวเข้าสู่ Aging Society 

ออมสินสร้างแอปให้ใช้ได้เทียบเท่าเทลเลอร์

ก่อนจะมาถึงการนำดิจิทัลเข้ามาให้บริการทางด้านการเงินของธนาคารออมสินเช่นปัจจุบัน บุญสน เจนชัยมหกุล รองผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารออมสิน (GSB) เล่าว่า Digital Journey ของธนาคาร เริ่มจาก Design Thinking ออกแบบว่าทำอย่างไรให้ผู้ใช้ได้ใช้บริการ ทำรายการเองได้เทียบเท่าพนักงานธนาคารหน้าเคาน์เตอร์ (เทลเลอร์) โดยไม่ต้องไปธนาคารเอง แต่สามารถใช้งานทั้งหมดได้บนโทรศัพท์มือถือของตัวเอง เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ก็เป็นของตัวลูกค้าเอง

จากการออกแบบโดยมองว่า Mobile Banking คือส่วนหนึ่งของธนาคาร ไม่ได้เป็นเพียงช่องทาง ๆ หนึ่ง จึงผนวกรวมเข้ากับฐานข้อมูลหลัก หรือ Core Banking ผู้ใช้งานมองเห็นข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี

ทั้งนี้ จากข้อมูลที่มีมากมาย ธนาคารทำเรื่องการค้นหาให้ทำได้เอง ไม่ต้องไล่ทีละรายการ เช่น การไล่หาข้อมูลวงแชร์ ใครจ่าย ใครไม่จ่าย เป็นการตอบสนองวิถีชีวิตไทย

ขณะเดียวกัน การออมที่เป็นภารกิจหลักของธนาคารออมสิน จะต้องทำให้ผู้ใช้ทราบว่า ใช้เงินไปกับเรื่องอะไรบ้าง เพราะถ้าไม่ทราบจะออมไม่ได้ ดังนั้น ใน MyMo 2.0 ได้มีแฮชแท็กให้ติดรายการต่างๆ ช่วยให้ช่วงสิ้นเดือนตรวจสอบได้ว่า ใช้เงินไปกับอะไรมาก จะได้วางแผนประหยัดกับส่วนนั้น ๆ ได้ต่อไป

การออกแบบแอป เริ่มจากการสังเกตว่าลูกค้าใช้งานอะไร แล้วนำดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตอย่างสอดคล้องเป็นส่วนหนึ่งของกัน

ซีไอเอ็มบี ใช้ดิจิทัลโซลูชัน พัฒนาผลิตภัณฑ์

ลูกค้าของซีไอเอ็มบีอาจต่างออกไป สถาปนิก สีพรม ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) Digital Bank ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ประเทศมาเลเซีย ระบุพันธกิจ ‘To be a digital-led bank with ASEAN Reach’ หรือ ‘ก้าวไปสู่การเป็นธนาคารชั้นนำของอาเซียนที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล’ โดยใช้ดิจิทัล โซลูชัน มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภท wealth ที่เป็นจุดแข็งของธนาคาร เพื่อกระจายให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของธนาคารได้ในระดับภูมิภาค 

ทั้งนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาผลักดันเรื่อง Digital Banking Solution on Board ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร

ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ ผนึก ไทยประกันชีวิต รุกประกันสินเชื่อรถยนต์

“แม้จะมุ่งมั่นสู่ความเป็นดิจิทัล แต่ธนาคารยังมองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งลูกค้ายังต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับธนาคารในรูปแบบเดิม ๆ อยู่ เช่น การเข้าสาขา การพูดคุยกับพนักงาน หรือการขอคำแนะนำการลงทุน จากนั้นใช้ข้อมูลที่มีเข้ามาทำโซลูชั่นส์ที่ตอบโจทย์”

ความปลอดภัยไม่มีอยู่จริง

เมื่อกล่าวถึงระบบความปลอดภัยของธนาคารดิจิทัล บุญสนบอกว่า ทางด้านการเงิน เอาเงินฝังตุ่ม คือความปลอดภัยสูงสุด หรือกรณีไม่มีโมบาย แบงกิ้ง ก็ไม่ได้ปลอดภัย 100% อาจมีคนปลอมแปลงเป็นตัวเจ้าของเงินทำธุรกรรมก็เป็นได้ ล้วนมีช่องโหว่ ฉะนั้น ซิเคียวริตี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่รู้จบ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงคือ เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น จะทำอย่างไรเพื่อพิสูจน์หลักฐาน และตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทันเวลาได้อย่างไร ซึ่งพฤติกรรมของผู้ก่อเหตุต่างจะเพิ่มความเร็ว และการหาจุดอ่อนโจมตี ดังนั้น โครงสร้างซอฟต์แวร์ที่ยืดหยุ่นและตอบสนองทันท่วงทีจะช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

ด้าน สถาปนิกเห็นสอดคล้องกันว่า ซิเคียวริตี้ เป็นเรื่องไม่รู้จบ และหยุดไม่ได้ ไม่สามารถทำเพียงวันเดียวได้ เพราะฝ่ายโจมตีจะ Proactive กว่า จึงป้องกันในรูปแบบ Reactive แต่มองเป็นความสำคัญหลัก (First Priority) ซึ่งนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีอย่างเข้มข้น ธนาคารเองก็ตอบสนองนโยบาย มีติดตาม ทดสอบแทบทุกวันเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

มีเร้ดแฮทเป็นพันธมิตร

บนเส้นทางก้าวสู่ดิจิทัลทั้งสองธนาคารต่างมีเร้ดแฮทเป็นพันธมิตร โดยบุญสน ระบุว่า ออมสินเลือกผู้ที่แข็งแรงในเรื่องนั้นๆ มากที่สุดมาเป็นเทคโนโลยีพาร์ตเนอร์ 

“ที่มองเร้ดแฮท เพราะศักยภาพเรื่องโอเพ่นซอร์สที่ดีที่สุด สิ่งที่ธนาคารโฟกัสคือเรื่อง API จะทำอย่างไรให้ระบบต่าง ๆ ในธนาคารที่พันกันยุ่งเหยิง ขยับตัว Microservice ได้เร็ว มีเร้ดแฮทมาช่วยทำให้ตอบสนองผู้ใช้ได้เร็ว สามารถปรับตัวได้เร็ว”

สถาปนิก แจงว่า ดิจิทัลแบงกิ้งของซีไอเอ็มบีทำงานอยู่บน Red Hat OpenShift ช่วยการให้บริการ Proactive Support ดูแลตรวจสอบทรัพยากร การปรับแต่ง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ และช่วยแนะนำการใช้โซลูชั่นส์ใหม่ๆ หรือแบบไหนของโอเพ่น ซอร์สใดมาใช้งาน

ส่วนซิเคียวริตี้ แพลตฟอร์ม เร้ดแฮทได้รับประกันเอนเตอร์ไพร้ซ เกรดว่า มีซิเคียวริตี้ซัพพอร์ตที่แข็งแรงและมีมาตรฐานระดับโลก

เร้ดแฮทหวังช่วยเร่งขับเคลื่อนธุรกิจ

สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท บอกว่า ดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของทุกคน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และสิ่งหนึ่งที่จะเข้ามาขับเคลื่อนดิจทัล คือ โอเพ่นซอร์ส ซึ่งเป็นแหล่งทำอินโนเวชั่นใหม่ๆ และตอบโจทย์ Digital residency

จากข้อมูลระบุว่า ประเทศไทย มีคนออนไลน์จำนวนมากถึง 77.8% มี Mobile Coverage อยู่ในประเทศไทย 137% การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทย 90% ทำผ่านมือถือ และมูลค่าตลาดคลาวด์ปี 2567 มีโอกาสจะถึง 15,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริงจากพฤติกรรมผู้บริโภค และเงินลงทุนด้านเทคโนโลยีที่มองเห็น

เร้ดแฮท เปิดตัวบริการใหม่ Managed Cloud Services

มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย มีคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 จากปี 2565 ที่มีมูลค่า 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า 80% ของผู้นำไอทีในเอเชียแปซิฟิกคาดว่าจะใช้เอนเตอร์ไพร้ซ โอเพ่นซอร์ส ซอฟต์แวร์ใน 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. ดาต้า อนาไลติกส์ เอไอ แมชชีน เลิร์นนิ่ง 2. ไอโอที และ 3. การเก็บข้อมูล

เร้ดแฮทที่มุ่งนำโอเพ่นซอร์สมาช่วยเร่งความเร็วในช่วง 2-3 ปีดังกล่าวเพื่อช่วยลูกค้าช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ โดยเฉพาะ Thailand Digital and Financial Residency ที่จะนำดิจิทัลมาขับเคลื่อนธุรกิจที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและฉับพลัน ให้ดำเนินธุรกิจได้ต่อเนื่อง

สิ่งสำคัญซึ่งผู้บริโภคคำนึงถึงควบคู่กันไปคือ ความปลอดภัย ซึ่งการทำโซลูชั่นต่าง ๆ ของเร้ดแฮท ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ประกอบด้วย 1. Integrated security approach ทุกเลเยอร์ออกแบบความปลอดภัยครบ 2. Collaborative internally ทำงานร่วมกันภายในระหว่างทีมผลิตซอฟต์แวร์ และผูทีมดูแลระบบความปลอดภัย 3. Mapped to industry standards externally ตอบโจทย์การปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยของแต่ละอุตสาหกรรม

จากความกังวลของแต่ละธนาคาร ในส่วนของเร้ดแฮทนั้น มีทีมซิเคียวริตี้ ทำหน้าที่ตรวจจับช่องโหว่ทุกวัน เมื่อพบจะจัดการแก้ไขก่อนมีปัญหาเกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วเพื่อปิดช่องโหว่ก่อนเกิดเหตุใหญ่” สุพรรณีให้ข้อมูล

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

SCBX เชื่อศักยภาพ มิลเลนเนียม กรุ๊ปฯ ผลักดัน ‘Alpha X’ รองรับแผนการเติบโตทางธุรกิจ

การโจรกรรมข้อมูลและมัลแวร์เรียกค่าไถ่: คุณพร้อมรับมือหรือพร้อมจ่ายหรือไม่?

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ