TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกBusinessรวม 10 ข้อที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดในการทำช่อง YouTube

รวม 10 ข้อที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดในการทำช่อง YouTube

ภายในงาน Mini YouTube Exhibition ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี YouTube ประเทศไทย ชัยวุฒิ ผาติภากรม, Talent Director, POPS Thailand รวบรวมและให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับความเข้าใจผิดของผู้คนส่วนใหญ่ในการทำช่อง YouTube ขึ้นมา

ชัยวุฒิ ผาติภากรม, Talent Director, POPS Thailand

โดย 10 ข้อที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดในการทำช่อง YouTube มีดังต่อไปนี้

1. ควรให้ความสำคัญกับ Content ก่อน Quality Production

ชัยวุฒิ กล่าวว่า ในการเริ่มทำช่อง YouTube ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเริ่มต้นจากการมองหาอุปกรณ์ Production ในการผลิตสื่อ เพื่อที่ต้องการให้ภาพในช่องสวยงาม เสียงคมชัด แต่ในความเป็นจริงแล้ว YouTuber บางช่องที่มีผู้ติดตามหลักแสนไปจนถึงหลักล้าน เริ่มต้นการทำช่องด้วยโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ผู้ที่ต้องการทำช่อง YouTube สามารถเริ่มต้นการทำช่องจากอุปกรณ์ที่ตนเองมีอยู่ แล้วค่อย ๆ  เพิ่มที่ละชิ้นได้ เพราะส่วนสำคัญของการทำช่องอยู่ที่เนื้อหา (Content) ที่นำเสนอมากกว่า ส่วนคุณภาพหากเรามีความพร้อมก็ถือเป็นเรื่องที่ดีเช่นเดียวกัน แต่ควรให้ความสำคัญกับเนื้อหา (Content) เป็นอันดับแรก

2. ดารามาทำ YouTube แล้วคนธรรมดาจะได้แจ้งเกิดไหม?

ปัจจุบันเราอยู่กันในยุคที่เหล่าดารา นักแสดง นักร้อง หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วหันมาเริ่มทำ YouTube Chanel กันหมด มันต้องก่อให้เกิดความยากของคนธรรมดาที่ต้องการเริ่มช่อง YouTube แน่ ๆ ในความเป็นจริงแล้วผู้คนก็ต่างมีเรื่องที่ตนเองสนใจแตกต่างกันออกไป ผู้ที่ทำช่อง YouTube ควรเลือกสร้างเนื้อหา (Content) ที่ตนเองสนใจ รู้สึกชอบ เพราะสิ่งที่จะตามคือผู้ทำช่อง จะเกิดความรู้สึกชอบ รู้สึกสนุกที่จะสร้างเนื้อหา (Content) นั้น ๆ ซึ่งความรู้สึกนี้จะสามารถถ่ายทอดออกไปจนผู้ชมรับรู้และรู้สึกตามเราได้ โดยการสร้างสรรค์เนื้อหา (Content) นั้นมีหลากหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ช่อง YouTube ที่ทำเนื้อหา (Content) เกี่ยวกับการตกปลา หากสังเกตความชอบของคนรอบตัวแล้ว มีจำนวนน้อยมากที่จะชอบหรือสนใจการตกปลา แต่เนื้อหา (Content) เหล่ากับยอดการรับชม (View) จำนวนมากถึงหลักล้าน นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่อาจจะไม่มีคนสนใจ แต่จริง ๆ  แล้วนั้นย่อมมีกลุ่มเป้าหมายรอชมอยู่เสมอ และเนื้อหา (Content) นั้นก็มีจำนวนมากให้สร้างสรรค์เช่น เกม ถ่ายรูป ความงาม อาหาร เป็นต้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นคนมีชื่อเสียงมาก่อน

3. ใส่ Keyword ที่กำลังเป็น Viral จะช่วยดันยอด View จริงไหม?

อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำช่อง YouTube นั่นก็คือ ผู้คนมักจะคิดว่าหากมีโอกาสหรือมีกระแสที่กำลังเป็น Viral ให้รีบนำ Keyword เรื่องนั้น ๆ ใส่ในคำอธิบาย (Description) หรือ Tags เพื่อให้วิดีโอนั้น ๆ ติดตามผลการค้นหา จนเกิดยอดการรับชม (View) ที่เพิ่มมากขึ้น ในเชิงเทคนิคแล้วก็อาจจะมีบางจังหวะอยู่บ้างที่ระบบนี้สามารถทำได้ แต่ลองนึกภาพหากมีผู้ชมเข้ามาติดตาม Keyword ที่กำลังเป็น Viral แต่เนื้อหา (Content) นั้นไม่ได้เกี่ยวกับ Keyword เลย ระบบอัลกอริทึม (Algorithm) สามารถตรวจจับได้ว่าผู้ชมเข้ามาดูเนื้อหา (Content) เพียง 4-5 วินาทีแล้วกดออก เพราะ Keyword ไม่ตรงกับเนื้อหา (Content) สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดสุขภาพที่แย่ลงไปของช่อง YouTube สรุปคือเราควรใส่ Keyword ที่ตรงกับเนื้อหา (Content) ของช่องที่สุดจะส่งผลดีกว่า เพราะหากไม่ทำเช่นนั้น YouTube จะมองว่าเราตั้งใจในการสแปมคีย์เวิร์ดได้

4. อัปโหลดคลิปถูกจังหวะไม่ดีเท่าอัปโหลดคลิปเป็นเวลา

หลาย ๆ  คนแบ่งปันประสบการณ์ของตนเองว่าหากอัปโหลดคลิปวิดีโอได้ถูกจังหวะ จะทำให้เกิดยอดการรับชม (View) ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การอัปโหลดให้เป็นเวลาแน่นอนจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด ในการทำให้ฐานผู้ติดตามเดิมของช่องคุ้นเคย เช่น ‘เชิญรับชมรายการของเราได้ทุกวันอังคารตอนเย็น’ ผู้ที่สนใจในเนื้อหา (Content) ก็จะเกิดการรับรู้ว่าหากต้องการรับชมรายการตอนใหม่ ๆ ที่ช่องนี้ ก็ต้องมารับชมในวันและเวลาดังกล่าว และที่สำคัญเราไม่มีทางรู้ได้ว่าระบบอัลกอริทึม (Algorithm) จะดันหรือไม่ดันคลิปวิดีโอของช่องเมื่ออัปโหลดลงในเวลาที่หลาย ๆ คนแบ่งปันมา โดยเจ้าของช่องสามารถเข้าไปดูในระบบหลังบ้านของตนเองได้ว่าช่องเวลาใดมียอดผู้ชมเข้ามารับชมสูงที่สุด ไม่จำเป็นต้องอัปโหลดตามเวลาของผู้อื่น

5. อยากติด On Trending ต้องเป็นช่องเบอร์ใหญ่เท่านั้นจริงไหม?

หลาย ๆ คงทราบดีว่า YouTube มีการติดมาแรง (On Trending) ให้คลิปวิดีโอ แต่การที่จะได้มาซึ่งเครื่องหมายมาแรง (On Trending) นี้คงมีไว้เฉพาะช่อง YouTube เบอร์ใหญ่เท่าเท่านั้นแน่ ๆ หรือหากถ้าช่องไม่ได้ใหญ่ก็คงต้องเลือกเวลาอัปโหลดคลิปวิดีโอแน่ ๆ ซึ่งจากประสบการณ์การร่วมงานกับ Creator มา หลาย ๆ ช่องไม่ได้เป็นเบอร์ใหญ่ ก็สามารถติดมาแรง (On Trending) ได้เหมือนกัน ดังนั้นไม่เกี่ยวกับฐานการติดตามของช่องว่ามากหรือน้อย แต่หากเนื้อหา (Content) น่าสนใจจริง ทุกคน ทุกช่อง ทุกเนื้อหา (Content) สามารถติดมาแรง (On Trending) ได้เหมือนกันหมด

เนื่องจากลิสต์มาแรง (On Trending) จะมีการอัปเดตอยู่เรื่อย ๆ

6. ใส่เครดิตให้เจ้าของเพลง=ไม่ผิดลิขสิทธิ์จริงไหม?

สิ่งนี้เป็นความเข้าใจผิดกันที่ถูกส่งต่อมาเรื่อย ๆ ว่าเราสามารถใช้เพลงใด ๆ ก็ได้บนช่อง YouTube ขอแค่เราใส่เครดิตให้กับเจ้าของเพลง

หรือหากไม่แน่ใจ ให้เราใช้เพลงแค่เพียง 3-5 วินาที ระบบก็จะตรวจจับไม่เจอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วบนช่อง YouTube มีระบบ Library ที่มีเพลงและเสียงมากมายแบบถูกลิขสิทธิ์ให้ใช้ และที่สำคัญเพลงใด ๆ ก็ตามที่ไม่ได้เปิดให้ใช้งานฟรีจากศิลปินหรือค่ายเพลง เราต้องขออนุญาตจากเจ้าของก่อนเท่านั่น หากนํามาใช้สามารถได้รับ Copyright Strike ได้ตลอดเวลา แม้ว่าเราจะใส่เครดิตเอาไว้ก็ตาม ซึ่งทางศิลปินหรือค่ายเพลงสามารถเรียกร้องขอรายได้ทั้งหมดจากคลิปวิดีโอนั้น ๆ ของเราได้ จึงควรตรวจสอบและทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก เพื่อลดการเกิดปัญหาในภายหลัง

7. อยากโตเร็วบน YouTube ต้องทำคลิปให้ยาวจริงไหม?

มีช่วงเวลาหนึ่งที่หลาย ๆ คนมีความเชื่อว่าต้องทำคลิปใน YouTube ให้ยาวและนาน เพราะ YouTube ต้องการให้ผู้คนใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มนาน ๆ ดังนั้น หากเนื้อหา (Content) ของเราช่วยเอื้อให้คนใช้เวลาอยู่ใน YouTube นาน ๆ ก็จะทำให้ระบบดันคลิปและช่องของเราได้ หากเป็นในยุคก่อนชุดความคิดนี้ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ได้ผิดไปทั้งหมด

แต่ในยุคปัจจุบันนี้ YouTube ได้ออก Product ใหม่ ๆ ออกมาอย่าง YouTube Short ที่เป็นฟีเจอร์ที่ให้คุณถ่าย แชร์ และดูวิดีโอสั้นไม่เกิน 60 วินาที โดย้ใช้งานสามารถเข้ามาใช้งานและมองหาประโยชน์จาก YouTube Short ได้เช่น การนำตัวอย่างสั้น ๆ ที่น่าสนใจของคลิปวิดิโอแบบเต็มมาใช้ เพื่อเชื่อมโยงให้คนดูเข้าไปติดตามคลิปวิดีโอแบบเต็มได้ที่ช่อง และแน่นอนว่าบนแพลตฟอร์ม YouTube มีคนดูที่หลากหลายมาก บางคนชอบดูเนื้อหา (Content) ยาว ๆ หรือบางคนชอบดูเนื้อหา (Content) สั้น ๆ ผู้ทำช่องจึงควรจัดทำทั้ง 2 รูปแบบ

8. แหล่งการสร้างรายได้ที่น่าสนใจบน YouTube นอกจาก

จริงอยู่ที่ยอดหากทางช่องมียอดการรับชม (View) จำนวนมากจะทำให้เกิดรายได้ที่มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว YouTube ยังมีแหล่งการสร้างรายได้อื่น ๆ น่าสนใจอยู่ 3 ตัวอย่างดังนี้

  1. Memberships หรือสมาชิกของช่อง เป็นโปรแกรมพิเศษที่ให้ผู้ชมสนับสนุน Creator ที่ชื่นชอบโดยสมัครเป็นสมาชิกของช่อง และจ่ายค่าสมาชิกรายเดือน แลกกับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ Creator เป็นผู้กำหนด
  2. Super เป็นวิธีการที่ผู้ชมสามารถแสดงการสนับสนุนต่อครีเอเตอร์ที่ชื่นชอบได้โดยตรงผ่านการซื้อ Super Chat เป็นข้อความแชทที่มีสีสันสดใสและโดดเด่นกว่าข้อความแชททั่วไป/Super Stickers เป็นภาพเคลื่อนไหวสนุกๆ  ที่ผู้ชมสามารถซื้อและส่งให้ Creator ระหว่างการไลฟ์สตรีม และ Super Thanks เป็นภาพเคลื่อนไหวแบบเล่นครั้งเดียวที่ผู้ชมสามารถซื้อและส่งให้ Creator ในวิดีโอแบบยาวหรือ Shorts
  3. YouTube Premium เหล่า Creator จะได้รับส่วนแบ่งจากค่าสมาชิกรายเดือนของ YouTube Premium เมื่อผู้ชมดูวิดีโอของพวกเขา

ยิ่งมีผู้ชมที่เป็นสมาชิก Premium ดูวิดีโอมากเท่าไหร่ Creator ก็จะยิ่งได้เงินมากขึ้นเท่านั้น

9. ใส่ข้อมูลตอนอัปโหลดว่าเป็น Content Made for Kids (MFK) หรือ Restricted จะทำให้ Ads ลดน้อยลง รายได้ก็ลดน้อยลงจริงไหม?

หลาย ๆ คนมีความเชื่อว่าหากตอนที่เรากำลังอัปโหลดคลิปแล้วเลือกว่าเนื้อหา (Content) นี้ผลิตขึ้นมาสำหรับเด็ก (Made for Kids) หรือเนื้อหา (Content) นี้ต้องได้รับคำแนะนำ (Restricted) จะทำให้โฆษณาที่จะแสดงผลบนคลิปวิดีโอนั้น ๆ น้อยลง ก่อให้เกิดรายได้ที่ลดน้อยลงตามไปด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเนื้อหา (Content) ของเราเข้าข่ายเป็นเนื้อหา (Content) ที่ต้องได้รับคําแนะนํา (restricted) หรือ เข้าข่ายเนื้อหาสําหรับเด็ก (Made for Kids) แล้ว ให้เราแจ้งกับ YouTube ไปตามความเป็นจริง จะทําให้ช่องเรามีความน่าเชื่อถือมากกว่า โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีโฆษณาแสดงผล เนื่องจากในปัจจุบันมีโฆษณาที่หลากหลายเป็นจำนวนมาก

10. หากโดน Strike หรือ Takedown คลิปแล้วให้รีบลบทิ้งระบบก็จะไม่นับความผิดจริงไหม?

การลบคลิปวิดีโอที่มีปัญหาจากการถูก Strike หรือ Takedown บน YouTube ออกไปนั้นทำให้คลิปวิดีโอหายไปเท่านั้น แต่ปัญหาที่แท้จริงนั้นยังคงอยู่ และ ‘เป็นคำแนะนำที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง’ เนื่องจากการลบวิดีโอออก ไม่ได้หมายความว่า Strike จะหายไป

ซึ่งสาเหตุของการโดน Strike มีดังนี้

  • การละเมิดลิขสิทธิ์ : คุณใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น เพลง วิดีโอ หรือรูปภาพ
  • การละเมิดหลักเกณฑ์ชุมชน : คุณโพสต์เนื้อหาที่ละเมิดหลักเกณฑ์ชุมชนของ YouTube เช่น เนื้อหาที่แสดงความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ หรือเนื้อหาที่แสดงความเกลียดชัง
  • การส่งสแปม : คุณโพสต์เนื้อหาซ้ำ ๆ หรือเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ชม

ผลของการโดน Strike มีดังนี้

  • Strike ครั้งแรก : คุณจะไม่สามารถไลฟ์สตรีมได้เป็นเวลา 7 วัน และช่องของคุณจะไม่สามารถสร้างรายได้ได้เป็นเวลา 90 วัน
  • Strike ครั้งที่สอง : คุณจะไม่สามารถไลฟ์สตรีมได้เป็นเวลา 90 วัน และช่องของคุณจะไม่สามารถสร้างรายได้ได้เป็นเวลา 90 วัน
  • Strike ครั้งที่สาม : ช่องของคุณจะถูกปิดถาวร

เพื่อป้องกันการโดน Strike เราก็ควรขออนุญาตอย่างถูกต้องก่อนใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หลีกเลี่ยงการโพสต์เนื้อหาที่ละเมิดหลักเกณฑ์ชุมชน และอย่าส่งสแปม

อย่างไรก็ตามแพลตฟอร์ม YouTube ยังคงเติบโต มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ผู้คนยังคงนิยมรับชมวิดีโอออนไลน์ ที่สำคัญมีช่อง YouTube ใหม่เกิดขึ้นมากมาย แต่ก็มีช่องที่ปิดตัวลงไม่แพ้กัน หมายความว่า หากเราต้องการปั้นช่อง เราต้องสร้างเนื้อหาที่โดดเด่นและมีคุณภาพเพื่อดึงดูดผู้ชมและสร้างฐานแฟนคลับ

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

3 เรื่องที่ต้องรู้… ถ้าอยากสร้างช่อง YouTube ให้ดังและมีรายได้!

“Future Skill” เปิด 9 ทักษะหลักที่ผู้นำต้องมี

Google Cloud นำเสนอ Gemini 1.5 ตอบโจทย์การใช้งาน AI ชู 3 บริษัท ตัวอย่างการใช้งานจริงในองค์กร

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ