TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeห้องสอบไร้กระดาษ ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ห้องสอบไร้กระดาษ ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

บ่ายวันศุกร์ต้นเดือนสิงหาคม ที่ห้องสอบรวมของนิสิตชั้นปี 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่อาคารแพทยพัฒน์ ต่างก้มหน้าก้มตาขมักเขม้นกับการทำข้อสอบบนหน้าจอ iPad ในห้องสอบที่มีนิสิตนั่งสอบรวมกัน 300 คน อย่างเงียบ ๆ โดยมีอาจารย์คุมสอบอยู่รอบห้องไม่ถึง 10 คน นี่เป็นการสอบแบบปกติ แต่ที่ดูแปลกตา คือ การสอบครั้งนี้ไม่มีปากกากระดาษ และดินสอ มีเพียง iPad และ Apple Pencil บนโต๊ะเท่านั้น

-วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ หัวเว่ย เซ็น MOU ยกระดับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ด้วย 5G, Cloud, AI
-กสิกรไทย-จุฬาฯ เตรียมสร้างสาขาสยามสแควร์ เป็นแฟล็กชิปแห่งความยั่งยืนยุค 5.0

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการจัดการสอบแบบนี้ ที่ผ่านมาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีการจัดการสอบแบบห้องสอบไร้กระดาษ หรือที่คณะเรียกว่า On Site iPad-based exam มาประมาณ​ 2 ปีแล้ว แต่ใช้เพียงบางการสอบ และเป็นการใช้แบบ optional ไม่บังคับ ขึ้นกับอาจารย์ประจำรายวิชา ซึ่งมีทั้งการสอบย่อยที่มีนิสิต 40-50 คนต่อห้องสอบ ไปจนถึงสอบใหญ่ที่มีนิสิต 300 คนต่อห้องสอบ แต่ทว่าวิกฤติโควิด-19 ทำให้คณะฯ มีการจัดการสอบออนไลน์ หรือที่คณะฯ เรียกว่า Remote iPad-based exam สำหรับนิสิตทั้งชั้นปีจำนวน 300 กว่าคน เป็นครั้งแรกเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

อ.ดร.นพ.ดนัย วังสตุรค ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้คณะฯ ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ มาเป็นการสอบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ด้วย iPad เริ่มที่วิชา Epi/Biostat สำหรับนิสิตชั้นปี 1 จำนวน 315 คน ใช้เวลาเตรียมการเดือนเศษ เพื่อให้การสอบแบบออนไลน์มีความปลอดภัยและได้ประสิทธิผลเท่ากับการมาสอบแบบที่คณะ

การสอบครั้งนั้นใช้อาจารย์ในการบริหารการสอบและการคุมสอบทั้งสิ้น 70 คนและยังมีทีม IT ของคณะฯ และทีมโปรแกรมเมอร์จากบริษัท Deverhood ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการสอบออนไลน์ (แอป Exam+) ที่มาสแตนบายที่มหาวิทยาลัย เพื่อให้การสอบแบบออนไลน์สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

เมื่อการสอบแบบออนไลน์เต็มรูปแบบผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ทางคณะฯ จึงจัดการสอบแบบออนไลน์สำหรับทั้งชั้นปี ขึ้นอีก 2 ครั้งในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

จากผลสำเร็จของการจัดการสอบเต็มรูปแบบแบบออนไลน์ (iPad-based exam) เมื่อเปิดภาคการศึกษามา ทำให้คณะฯ ตัดสินใจว่า สำหรับปีการศึกษานี้จะเป็นการสอบออนไลน์ด้วย iPad 100% หรือ On Site iPad-based exam สำหรับทุกรายวิชา และสำหรับทุกชั้นปี

ที่คณะฯ มีนิสิตชั้นปีละประมาณ 300 คน ดังนั้น นับจากภาคการศึกษานี้เป็นต้นไป นิสิตทั้ง 1,800 กว่าคนของคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ จะต้องสอบแบบไร้กระดาษเท่านั้น

“คณะฯ มีการใช้งาน iPad ในการเรียนการสอนมาประมาณ 6-7 ปีแล้ว และได้พัฒนาต่อยอดกันมาเรื่อย ๆ เริ่มจากการใช้สำหรับการเรียนการสอนเบื้องต้น จนนำมาใช้สำหรับการสอบออนไลน์ ช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ มาเป็นการสอบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็สามารถพัฒนาร่วมกันระหว่างนักพัฒนา คณะอาจารย์ ตลอดจนนิสิต ทำให้การสอบทั้งหมดผ่านไปได้ด้วยดี ที่คณะฯ เลือกใช้ iPad เนื่องจากต้องการเน้นด้านความปลอดภัยเป็นหลัก” อ.ดร.นพ.ดนัย กล่าว

อ.ดร.นพ.ดนัย กล่าวว่า การสอบด้วยระบบออนไลน์ที่ใช้ iPad (iPad-based exam) นั้น มีประโยชน์มาก ทั้งต่อคณะฯ ต่อนิสิต และต่อการสอบ ด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ ของตัวแอปฯ Exam+ ทำให้การสอบเป็นไปอย่างปลอดภัยไร้การทุจริตการสอบ ที่สำคัญที่ได้มากกว่า คือ ข้อมูล ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ผล ไม่ว่าจะเป็นผลการออกข้อสอบของอาจารย์หรือผลการเรียนของนิสิต รวมถึงผลการสอบของนิสิต ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ลดเวลาจาก 6 ชั่วโมงเหลือเพียงไม่เกิน 10 – 15 นาที ขึ้นกับจำนวนเด็กที่เข้าสอบ

นิสิตสามารถ feedback ข้อสอบกลับมาได้โดยตรงผ่านแอปฯ เพื่อเอาข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลก่อนการให้คะแนนอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ระบบยังสามารถวิเคราะห์ผลการเรียนของนิสิตได้เป็นรายบุคลล (learning analysis) ทำให้อาจารย์รู้ได้ว่านิสิตคนไหนมีความเก่งด้านไหน และยังขาดด้านไหน ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะ อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงและโค้ชนิสิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

““หัวใจหลักของการศึกษา คือ การที่เราสามารถ feedback ได้เร็ว โดยปกติ หลังการสอบ อาจารย์จะต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ ว่านิสิตแต่ละคนมีจุดเด่นด้านไหน ถนัดหรือไม่ถนัดอะไร ซึ่งเมื่อก่อนใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมงในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล แต่ด้วย Exam+ สามารถช่วยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ภายในเวลาประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น ที่สำคัญข้อสอบทั้งหมดถูกเก็บอยู่ในคลัง ทำให้สามารถเก็บข้อมูลและเรียกดูย้อนหลัง ทำให้สามารถเก็บเป็นสถิติและแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรต่อไปได้ อาจารย์สามารถประหยัดเวลาเหล่านี้ได้มาก และเอาเวลาไปพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนางานด้านวิชาการได้มากขึ้นด้วย” อ.ดร.นพ.ดนัย กล่าว

แอปฯ Exam+ พัฒนาโดยบริษัท Deverhood ที่ดูแลด้านสุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยตั้งใจที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อพัฒนาบริการและยกระดับความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์และวิศวกรคอมพิวเตอร์

มาลีพรรณ ผาสุพงษ์ Business Developer บริษัท Deverhood กล่าวว่า Exam+ คือ ระบบการสอบออนไลน์ ที่ช่วยวัด ประมวลผล และวิเคราะห์การเรียนการสอน โดยประกอบด้วย 4 คุณสมบัติหลัก คือ คลังข้อสอบ สอบ คุมสอบ และการวิเคราะห์ผล

ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษากว่า 16 สถาบันนำไปใช้งาน จัดการสอบแบบออนไลน์ไปแล้วกว่า 200 รายวิชา 500 ครั้ง และมีผู้ที่เคยสอบด้วยแอปฯ Exam+ มาสูงถึง 5,000 คน 

Exam+ ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งอาจารย์และนิสิตนักศึกษาอย่างครบวงจร โดยสามารถรองรับข้อสอบได้ทุกรูปแบบ อาทิ ข้อสอบปรนัย อัตนัย จับคู่คำตอบ การตอบถูก-ผิด หรือ เรียงลำดับ ฯลฯ

ที่สำคัญ คือ การสอบถูกจัดขึ้นโดยยึดหลักความปลอดภัย ที่ผู้สอบไม่สามารถถ่ายภาพหน้าจอ กดออกจากแอปฯ หรือกดคัดลอก วางข้อความได้ อีกจุดเด่นของแอปฯ ที่ทำให้ผู้สอบชื่นชอบ คือ การที่สามารถดูสื่อต่าง ๆได้แบบดิจิทัล อาทิ ภาพ หรือวิดีโอ ที่มีความคมชัดกว่าบนกระดาษทั่วไป

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของแอปฯ คือ Dashboard ผู้สอบสามารถดูภาพรวม ว่าขณะนี้ทำไปแล้วกี่ข้อ และข้อไหนยังไม่ได้ทำ ทำให้ไม่เกิดปัญหาตอบไม่ครบ ไม่ตกหล่น 

สำหรับผู้คุมสอบนั้น จะสามารถดูพฤติกรรม รวมทั้งคำตอบได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถให้ความช่วยเหลือหากเกิดปัญหาใด ๆ อาทิ สัญญาณอินเตอร์เน็ตขัดข้อง ก็จะสามารถกดเพิ่มทดเวลาให้แก่ผู้สอบได้อัตโนมัติ รวมทั้งการนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ผู้สอบได้ อาทิ การลังเลเปลี่ยนคำตอบไปมา เป็นต้น 

ลำดับข้อสอบของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน โดยระบบจะทำการสุ่มและสลับข้อไปมา ทำให้ไม่สามารถลอกกันได้ และอาจารย์ไม่ต้องทำข้อสอบหลายชุด และทันทีที่สอบเสร็จ ระบบจะสามารถวิเคราะห์คำนวณข้อมูลต่าง ๆให้อย่างรวดเร็ว โดยจะสรุปเป็นคะแนนของแต่ละคน รวมถึงข้อมูลของผู้สอบทั้งหมดเป็นสถิติ คะแนนสูงสุด ต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติทางวิชาการ รวมไปถึงค่าความน่าเชื่อถือของคำถาม

ไม่เพียงแต่ที่คณะเแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เท่านั้นที่มีการจัดการห้องสอบแบบไร้กระดาษ อีก 16 สถาบันการศึกษา มีการนำแอปฯ นี้ไปใช้เพื่อการสอบ ซึ่งช่วยลดเวลา ทรัพยากรบุคคล และกระดาษลงได้จำนวนมาก (โดยเฉพาะการสอบที่มีการจัดการสอบพร้อมกันทั่วประเทศอย่างการสอบใบประกอบวิชาชีพฯ ที่ต้องจัดพิมพ์ข้อสอบหลายชุดและกระจายข้อสอบกระดาษไปยังศูนย์สอบทั่วประเทศ) ด้วยฟีเจอร์ของแอปฯ ที่สร้างมาเพื่อรองรับการสอบในรูปแบบต่าง ๆ บวกกับการเพิ่มความสามารถให้สามารถสลับโจทย์ สลับคำตอบของข้อสอบแต่ละชุดได้ ทำให้การสอบมีความปลอดภัยจากการทุจริตมากขึ้นมาก

ภาพ อศินา พรวศิน

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ดีป้า เคาะโครงการส่งเสริม – สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 9 วิสาหกิจชุมชนภาคเหนือตอนบน
-UCC Coffee Roastery ท่องโลกกาแฟเต็มรูปแบบ 360 องศา
-ไปรษณีย์ไทย 137 ปี พร้อมก้าวสู่ธุรกิจดิจิทัล
-เอไอเอส เดินหน้าร่วมมือ จุฬาฯ สร้าง Use Case 5G ต่อเนื่อง หลังผลงานวิจัยช่วยโควิดสำเร็จ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ