TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyวิศวฯ จุฬาฯ จับมือ หัวเว่ย เซ็น MOU ยกระดับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ด้วย 5G, Cloud, AI

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ หัวเว่ย เซ็น MOU ยกระดับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ด้วย 5G, Cloud, AI

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม ด้วยเทคโนโลยี 5G, AI และ Cloud (MOU)

-บีซีพีจี เคพเพล และทีมกรุ๊ป คว้า โครงการ “เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ”
-กสิกรไทย-จุฬาฯ เตรียมสร้างสาขาสยามสแควร์ เป็นแฟล็กชิปแห่งความยั่งยืนยุค 5.0

โดยความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมเร่งขับเคลื่อนสู่การนำประเทศไทยปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันอย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในครั้งนี้ จุฬาฯ จะใช้ความสามารถของ 5G ช่วยต่อยอดผลงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ รวมไปถึงเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในรูปแบบโลกจำลองเสมือนจริง (Virtual Reality) หรือระบบ VR

พัฒนาโซชูชันใช้กับการแพทย์ เช่น เชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยเข้ามา เช่น CT Scan หรือ MRI ที่เป็นข้อมูลขนาดใหญ่เข้ามาที่แพทย์ รวมถึงการผ่าตัดทางไกล

พัฒนาอุตสาหกรรม ที่ปัจจุบันใช้สายเชื่อมจากระบบ ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ในอนาคตจะใช้ 5G เข้ามาควบคุมแขนกลต่าง ๆ ที่มีปัญหาทั้งการปรับระบบ การเคลื่อนย้าย ให้สามารถเคลื่อนทีไปเชื่อมกับจุดอื่นได้

เร่งการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ ในพื้นที่ของจุฬาฯ ที่ทดลองมาประมาณ 2 ปี รวมถึงรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ทดสอบมา 6 เดือน ซึ่งการที่หัวเว่ย เข้ามาเซ็น MOU จะทำให้การทำสมาร์ทซิตี้ที่จุฬาฯ พัฒนา เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด”

ด้าน มร.แม็ค หม่า รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือครั้งสำคัญในครั้งนี้ ระหว่างหัวเว่ยซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่น 5G และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันวิจัยพัฒนาและสถาบันการศึกษาของประเทศไทย โดยหัวเว่ยพร้อมให้การสนับสนุนอุปกรณ์ เทคโนโลยี การอบรม และทำงานร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการนำเทคโนโลยี 5G, Cloud, AI มายกระดับด้านการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนความสามารถด้านนวัตกรรมของไทย ผ่านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สำคัญ”

ขณะที่ นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จุฬาฯ พัฒนาเทคโนโลยีด้านแขนกลมานาน และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมของประเทศไทย หัวเว่ย นำศักยภาพ 5G, Cloud, AI เข้ามาช่วยให้การพัฒนาเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการเซ็น MOU ในครั้งนี้ตั้งใจจะพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ แชร์ความรู้ร่วมกัน และนำไปต่อยอดได้ในอนาคต เป็นพาร์ทเนอร์ด้านยุทธศาสตร์

ก่อนหน้านี้เคยมีกรอบการร่วมมือกันแต่จะเป็นเรื่องของการศึกษา นำนักศึกษาไปฝึกอบรมที่ประเทศจีน ซึ่ง 5G เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม จึงเห็นว่านำไปใช้ได้มากกว่าการศึกษา ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนา 5G เมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชีย

ด้านระบบคลาวด์ (Cloud) หัวเว่ย เข้ามาสนับสนุนการโอนถ่ายข้อมูลของ 5G ที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงใช้ AI ซิปเซ็ต เข้ามาช่วยให้อุปกรณ์ทำงานได้ฉลาดขึ้น โดยจะมีทีมโซลูชัน เข้ามาทำงานร่วมกับทางจุฬาฯ”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ซัมซุง จับมือ AIS PLAY ส่งแอปพลิเคชันลงซัมซุงสมาร์ททีวี
-ฟรีแลนซ์ออนไลน์ อาชีพทางเลือกในยุค COVID-19
-ไมโครซอฟท์ เปิดโครงการเสริมทักษะเชิงดิจิทัล กว่า 25 ล้านคนทั่วโลก
-ค้าปลีกออนไลน์จีน ทะลุ 5 ล้านล้านหยวนในครึ่งปีแรก

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ