TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessมุมมอง ‘ท๊อป จิรายุส’ ต่อ "ภาษีคริปโท" แนะกม.ไทยต้องเปลี่ยนให้ทันโลก สร้างโอกาส ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ

มุมมอง ‘ท๊อป จิรายุส’ ต่อ “ภาษีคริปโท” แนะกม.ไทยต้องเปลี่ยนให้ทันโลก สร้างโอกาส ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ

จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา (ท๊อป) ผู้ก่อตั้ง Bitkub เสนอความคิดเห็นให้รัฐบาลปรับกฎหมายเทคโนโลยีใหม่ให้ทันกับทิศทางโลก ควรมีทีมดูแลจริงจัง เพื่อให้สอดรับกับการสนับสนุนนวัตกรรมในประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสให้แก่คนไทย

เมื่อคืนที่ผ่านมา (10 มกราคม 65) ‘ท๊อป’ ได้โพสต์วิดีโอผ่านเฟซบุ๊ก “ท๊อป จิรายุส – Topp Jirayut” โดยมีใจความสำคัญว่า หลังจากมีการเปิดให้แสดงความคิดเห็น เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีคริปโท ผ่านลิ้งก์ “ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์สำหรับการวางนโยบายจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายสินทรัย์ดิจิทัล” มีสมาชิกส่งเข้ามากว่า 4,122 คอมเมนต์ ภายใน 24 ชั่วโมง ทุกคนช่วยกันแชร์ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทางด้านของภาษีคริปโทเกือบ 1 ล้านคน โดยในสัปดาห์นี้จะมีนัดกับผู้ใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำคอมเมนต์และสถิตินี้ไปให้ดู เพื่อช่วยกันคิดว่าเราควรมีนโยบายอย่างไรให้สอดคล้องกับวงการใหม่ หรือโอกาสใหม่ครั้งนี้ ที่เมืองไทยจะได้เอาเม็ดเงินไหลเข้ามาในประเทศเยอะมาก ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสให้กับคนไทยได้อีกมหาศาล

ท๊อปยกตัวอย่างหลาย ๆ ฟีดแบ็คที่ส่งเข้ามาค่อนข้างมีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็น

  1. ประเทศไทยรายได้ต่อหัวประชากรน้อยอยู่แล้วไม่ควรเอาภาษี 15% 
  2. ควรคิดเป็นขั้นบันไดจากการเทรดคริปโทตลอดทั้งปี ไม่ควรจะเป็น flat rate ที่ 15% ควรเป็น 2 4 หรือ 6% บ้าง
  3. เราต้องแบกรับภาระการขาดทุนด้วยตนเอง แล้วยังแบกรับภาระทางภาษีที่ทางภาครัฐหักไปเพิ่มอีกด้วย ส่งผลสุดท้ายคนไทยจะไม่ลงทุนในสินทรัพย์นี้ (Digital Asset) ประเทศก็ได้ภาษีน้อยลง
  4. ไม่ควรเก็บภาษีซ้ำซ้อน คือถ้าหัก ณ ที่จ่าย 15% พอแล้ว ไม่ควรจะหักจาก transaction ที่ได้กำไรอีก 
  5. ไม่ควรเก็บภาษีในภาวะทียังไม่มีความพร้อม โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศไทยต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
  6. ต้องมีหลักความเป็นธรรม ควรเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกคน ที่อยู่ในรัฐนั้น ๆ ในทุกภาคส่วนมีหลักความแน่นอน แล้วก็มีหลักความเป็นกลาง
  7. ทำไมไม่ส่งเสริมให้เมืองไทยเป็นตลาดซื้อขายที่น่าสนใจให้ชาวต่างชาติมาร่วมซื้อขาย แต่ดันสร้างเป็นอุปสรรคไม่ยอมให้ประชาชนได้ลืมตาอ้าปาก อันนี้ก็เป็นฟีดแบคจากทางบ้าน

ท๊อปแสดงความคิดเห็นว่า ผมคิดว่ากฎหมายต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับโลก ผมพอเข้าใจว่าความหมายคำว่า “เงิน” ในไทย ถ้าจำไม่ผิดจะถูกเปลี่ยนตอน พ.ศ. 2475 เกือบ 80 ปีที่แล้ว อินเทอร์เน็ตยังไม่มา สินทรัพย์ดิจิทัลยังไม่มี นิยามของเงินที่เกิดขึ้นมาในตอนนั้นไม่ครอบคลุม รูป Bitcoin หรือ  Digital Asset พอไม่ใช่เงิน ต้องตีเป็น “สิ่งที่มันไม่ใช่เงิน ก็ต้องเป็นทรัพย์สิน” ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้กลายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล แล้วพอเป็นสินทรัพย์ ก็ต้องเข้าความหมายของการจ่ายภาษีแบบสินทรัพย์

“แต่ในเมื่อสินทรัพย์ปกติ ไม่มีการแลกเปลี่ยน (exchange) ให้ซื้อขาย แต่พอวงการนี้มีการแลกเปลี่ยนที่คนส่วนใหญ่ใช้กันในการซื้อขาย ก็กลายเป็นเหมือนหลักทรัพย์ ซึ่งหลักทรัพย์ในบ้านเราตอนนี้ยังไม่ได้จ่ายภาษี ซึ่งก็ฟังดูไม่เข้าท่าที่จะใช้กฎหมายเก่า เอากฎหมายของรถม้ามาครอบรถยนต์มันก็ไม่ใช่ มันก็ต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ท๊อปบอกว่า สิ่งที่พวกเรากำลังผลักดันกันอยู่ มันคือพื้นฐานหลัก (fundamental) รวมถึงอินฟราซัคเจอร์หลัก ของสิ่งที่เรียกว่า Web 3.0 ซึ่งอย่างไรก็เกิดขึ้น ไม่เกิดไม่ได้ เพราะเป็นทิศทางของโลก ที่ผ่านมา เราเห็น Web 1.0 Web 2.0 มาแล้ว

ท๊อปขยายความคำว่า “Web 1.0” ให้ฟังว่า เหมือนกับที่เราอ่านไทยรัฐ หนังสือพิมพ์ที่ทุกคนทั้งประเทศอ่านหน้าเดียวกันเหมือนกัน แต่เป็นดิจิทัลที่ทุกคนทั้งประเทศเห็นหน้าเดียวกัน เป็นแค่การสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) คืออ่านได้อย่างเดียว อินฟราซัคเจอร์ใน Web 1.0 คือคอมพิวเตอร์หรือ Private Server และอินเทอร์เน็ตที่ใช้โมเด็ม ที่ใช้โทรศัพท์บ้านต่ออินเทอร์เน็ตนั่นคือ Web 1.0

“ในขณะที่ 10-15 ปีที่ผ่านมา ล่าสุด พวกเราได้ใช้ชีวิตอยู่ในยุคที่เราเรียกว่า Web 2.0 คือ Read & Write user generated content เราสามารถอ่าน แสดงความคิดเห็น และให้ฟีดแบค เหมือนที่ทุกคนช่วยกันคอมเมนต์วันนี้มันคือ Web 2.0 ที่สามารถเขียนบล็อกโพสต์ให้คนทั้งโลกอ่านได้ในความคิดเห็นของเรา สามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โซเชียลมีเดียก็เป็นหนึ่งในอินฟราซัคเจอร์ของ Web 2.0  ตอนนี้มันจะไม่ใช่เป็นเพจที่หน้าเดียวกันทุกคนเห็นทั้งประเทศ  ใครชอบฟุตบอลก็จะมีวิดีโอออกมา ใครชอบแมวจะเป็นวิดีโอแมว มันจะสามารถปรับแต่งได้” 

แต่สิ่งที่เราทำอยู่มันคือ Web 3.0 การมาของเฟซบุ๊กที่เขาเปลี่ยนตัวเองเป็น Meta หรือโลกเสมือนที่เราเรียกว่า Metaverse การมาของเทคโนโลยี AR/VR ซึ่งอินเทอร์เน็ตเป็น 2D อยู่ ทุกวันนี้หยิบมือถือมาเห็นได้แค่หน้าจออย่างเดียว นี่คือ 2D อีกไม่นานอินเตอร์เน็ตจะเป็น 3D สิ่งที่เรียกว่า Internet of Thing  ทุกอย่าง ทุกดีไวซ์ โต๊ะเก้าอี้จะฉลาดหมด ต่อกับอินเทอร์เน็ตหมด เราสามารถจะมีประสบการณ์ AR คือ Augmented Reality คือเราอยู่ในโลกความเป็นจริงจะมีคอนเทนต์ดิจิทัลโผล่ขึ้นมา แล้วเราสามารถ โต้ตอบกับมันได้ ที่เราเรียกว่า Mixed Reality หรือเราใส่แว่นตา VR  เราสามารถเอา Real World Content ใส่เข้ามาใน VR ก็ได้ ท๊อปกล่าว

เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า เราสามารถปรับแต่งให้มีอวาตาร์ของตัวเอง เมื่อก่อนเรามีอีเมลใน Web 1.0 ที่เป็นอวาตาร์ตัวเอง เรามีเป็นโดเมน www. ยุค 2.0 ยุคโดเมน แต่ยุค 3.0 ทุกคนจะมีอวาตาร์มีตัวตน มี DNA แต่พวกนั้นเป็นแค่โฉมหน้า (Surface) เป็นเลเซอร์ที่ผู้บริโภคมองเห็น (front consumer facing)  แต่ที่อยู่ข้างหลังคือบล็อกเชน, NFT, คริปโทเคอร์เรนซีเป็นอินฟราซัคเจอร์ของ Web 3.0  อย่าง Web 2.0 ก็มีอินฟราซัคเจอร์ของตัวเองคือระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่มาแทนที่ Private Server โทรศัพท์มือถือที่มาแทนคอมพิวเตอร์ หรือโซเชียลมีเดียที่เป็น Read & Write User generative content ที่เป็นอินฟราซัคเจอร์ในยุคของ Web 2.0 แต่ Web 3.0 ในเลเยอร์ที่ลูกค้าเข้าถึงมันก็เป็น AR/VR แล้ว เป็น Metaverse มันไม่ใช่ 2D แล้วแต่เป็นมือถือที่เป็น 3D  

“มีพวก IoT ที่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะฉลาดขึ้น ไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือกับคอมพิวเตอร์อย่างเดียว แว่นตาก็จะโต้ตอบได้ ล่าสุดเฟซบุ๊กเพิ่งจะจับมือกับ Ray ban แบรนด์แว่นตาชั้นนำ เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ต เห็นการแสดงออก (expression) เห็นความรู้สึก (feeling) มากขึ้น นี่ก็เป็น อินฟราซัคเจอร์ของ Web 3.0 สิ่งที่อยู่ข้างหลังบ้านพวกโปรโตคอลต่าง ๆ”

ยุคที่แล้วบอกว่า Google และเฟซบุ๊กเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต ผู้บริหารถูกเชิญเข้าสภาคองเกส (รัฐสภาสหรัฐ) เพื่อให้ชี้แจงนโนบายว่าเอาข้อมูลลูกค้ามาใช้ในทางที่ผิด พอยุค Web 3.0 มา จะมีสิ่งที่เรียกว่า ชั้นโปรโตคอลซึ่งทุกคนเป็นเจ้าของเน็ตเวิร์กร่วมกัน  หรือ ‘แอปพลิเคชัน Token’ ที่ทุกคนก็จะมาเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันที่ทำงานแบบ Peer-to-Peer ( Decentralized application) 

“สมมติในยุค 2.0 เรามี Dropbox ที่เป็นศูนย์จัดเก็บข้อมูล (centralize data storage) ในการเก็บไฟล์ต่าง ๆ ใน Dropbox ตอนนี้เราก็มี IPFX ที่เป็นการกระจายอำนาจ (Decentralize) เหมือน Dropbox ที่ทุกคนสามารถมาเป็นเจ้าของแอปพลิเคชัน Token ได้ หรือเป็นเจ้าของ application Stall ร่วมกัน หรือ โปรโตคอล Token ที่ฐานข้อมูลก็จะมีการทำงานร่วมกัน เชื่อมกันได้ และจะไม่ได้เก็บอยู่ในศูนย์รวมเซิร์ฟเวอร์ แต่เป็นการกระจายอำนาจเซิร์ฟเวอร์ (Decentralize server) ที่ทุกคนช่วยกันกระจายอำนาจพลังคอมพิวเตอร์ (Decentralize computing power) ให้เป็นอินฟราซัคเจอร์ของ Web 3.0 ที่จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า 10 ปีข้างหน้า

ท๊อปย้ำว่า “ที่สำคัญคือประเทศที่เข้าใจกฎหมายที่เข้าใจเทคโนโลยีก่อน จะทำให้เราเป็นประเทศที่ได้โอกาส เม็ดเงินก็จะไหลเข้ามาในประเทศนั้น คนเก่งจะมาช่วยกันยกระดับประเทศนั้นให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น” 

เขายกตัวอย่างว่า 10 ปีที่ผ่านมา ในวงการสตาร์ตอัพไทย ส่วนใหญ่ไปเปิดตัวที่ประเทศสิงคโปร์ เพราะเรื่องกฎหมายภาษี ที่เอื้ออำนวยมากกว่า ปรากฏว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มียูนิคอร์นมากที่สุดในอาเซียน ทั้ง ๆ ที่เป็นประเทศที่เป็นเกาะ น้ำเปล่ายังต้องนำเข้ามา แต่เขามีนโยบายที่มันเข้าใจโลกอนาคต เขาสามารถดึงเม็ดเงินมหาศาลเข้าไปประเทศ เขารู้ว่าภาคการเงิน (financial sector) อนาคตจะเป็นภาคที่มีเงินเยอะมาก เขาก็ทำตัวเองเป็นศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub) แต่ในอีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้ามันไม่ใช่  Financial sector มันเป็นผู้ประกอบการรายย่อย (Nano Entrepreneur Sector) เป็นภาคเทคโนโลยี (Technology Sector)  

“เพราะฉะนั้นประเทศไหนที่เข้าใจก่อนว่าเงินมันเปลี่ยนกระเป๋าไปในกระเป๋าไหน แล้วมีกฎหมายที่สอดคล้องกับทิศทางของโลก ก็สามารถที่จะได้โอกาสเอานักลงทุนเข้าประเทศ เอาคนเก่ง ๆ เข้ามา  สามารถทำให้คนไทยได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป หลังจากมีกฎหมายมันออกมา มีกฎหมายที่สอดคล้องกับทิศทางของโลกที่เปลี่ยนไป”

ท๊อปบอกว่า ในอดีตมันสอนเรามาตลอดคำว่า ‘ประเทศที่มีกฎหมายที่ไม่ตามกับเทคโนโลยีใหม่ ก็จะเป็นประเทศที่เสียผลประโยชน์มหาศาลในระยะยาว’ ถ้าเรามองเป็น Longer term ไม่ใช่ Short term view 

“ผมจะยกตัวอย่างอันนี้บ่อยมาก คือ รถยนต์ตอนที่รถยนต์ออกมาใหม่ ๆ คนส่วนใหญ่ก็ออกมาต่อต้าน มนุษย์เราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ตอนที่รถยนตร์ออกมาใหม่ ๆ คนก็ออกมาต่อต้าน เขาบอกว่ามันคือเครื่องจักรอะไรก็ไม่รู้ เสียงดังมาก ใช้อะไรไม่รู้ที่เรียกว่าแก๊สโซลีนหรือน้ำมัน หาซื้อได้ยากในยุคนั้น ขับเคลื่อนช้ากว่าม้าเครื่องทำตลอดเวลา  ที่สำคัญมันทับคนตาย ข่าวตอนนั้นนักข่าวต่าง ๆ ก็ประโคมแต่ในแง่ไม่ดีของรถยนต์ เพราะข่าวไม่ดีมันไวรัล นักข่าวต้องการขายข่าวได้เยอะก็เน้นด้านมันไวรัลที่สุด ก็คือ เทคโนโลยีใหม่ ‘เขาเรียกว่า Death Machine มันทับคนตายอีกแล้ว’ จนตอนนั้นภาพลักษณ์ของรถยนต์ มันแย่ไปเลย แย่จนปี 1896 รัฐบาลของประเทศอังกฤษต้องออกกฎหมาย ที่เรียกว่า Red flag traffic laws ถ้าใครจะใช้รถยนต์ในยุคนั้นได้ตอนที่ 1896 ต้องมีคนขับ คนที่สองคือวิศวกรที่ต้องนั่งพร้อมคนขับไปด้วย เพื่อที่จะดูแลเครื่องยนต์เผื่อมันพังระหว่างทาง คนที่สามคือคนวิ่งถือธงแดง 100 เมตร นำหน้า แล้วก็ประกาศให้คนข้างทางรู้ว่า Death Machine กำลังจะมาทางนี้แล้ว อย่าเข้าใกล้”

หลังจากที่ประเทศอังกฤษออกกฎหมายนั้นมาก ประเทศอังกฤษได้แพ้อย่างราบคาบ ในวงการแข่งขันรถยนต์ เพราะแทนที่รัฐบาลอังกฤษตอนนั้นจะเข้าใจในศักยภาพของสิ่งใหม่  กลับให้ความกลัวที่อ่านข่าวทุกวัน ทับคนตาย ๆ มาสร้างเป็นเฟรมเวิร์กมาครอบ แต่เฟรมเวิร์กนี่ถูกพัฒนาในมุมมองของสิ่งเก่า มองรถยนต์ในมุมมองของรถม้า มองรถยนต์ในมุมมองของรถไฟ เอากฎหมายเก่ามาครอบสิ่งใหม่ ฟังดูไม่เข้าท่า เพราะทำให้คนรถวิ่งตามคนถือธง คนก็ต้องช้ากว่าม้าอยู่แล้ว เราไม่ได้ใช้รถยนต์เต็มศักยภาพ คนก็กลับไปขี่ม้าเหมือนเดิม เพราะเร็วกว่า แต่รถต้องตามคนตลอดเวลา สุดท้ายรถยนต์หลีกเลี่ยงไม่ได้ รถยนต์เกิดขึ้นอยู่ดี แต่ไม่ได้เกิดที่อังกฤษประเทศอื่นได้ประโยชน์ประเทศที่มีนโยบาย มีกฎหมายที่มันสอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ 

ท๊อปยกตัวอย่างเพิ่มเติมว่า “ไฟฟ้าเกิดมาใหม่ ๆ ก็กลัว กลัวมันจะช็อตคุณตาย มันจะเผาบ้านคุณทิ้ง อย่าเข้าไปยุ่ง ใช้เทียนไขดีกว่า ก็จะมีผู้ชาย 2 คนที่เข้าใจสิ่งใหม่ ตอนนั้นในยุคนั้นคือโทมัส เอดิสัน กับ นิโคลัส เทสล่า AC/DC ที่ผลักดันเทคโนโลยีใหม่ ที่เปลี่ยนโลก”

พอกลับมาถึงเรื่องปัจจุบัน เรากำลังจะพูดถึงวงการที่จะมีผลกระทบต่อจีดีพีของประเทศมหาศาล ใน Web 3.0  เราพลาดไปแล้วใน Web 2.0 Google ไม่เกิดในประเทศเรา เฟซบุ๊กไม่เกิดในประเทศเรา ยูนิคอร์นไม่เกิดในประเทศไทย กลายเป็นมี Grab AirBNB Gojek ที่เป็นแชมป์ของประเทศ (Natural Champion) จากมาเลเซีย อินโดนีเซียมาให้บริการคนไทยแทน เราเกือบจะเป็นเมืองขึ้นทางเทคโนโลยีอยู่แล้วใน Web 2.0 

“มันมีโอกาสใหม่ที่คนไทยจะหลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง ได้ลืมตาอ้าปากได้มี Natural Champion ในยุค Web 3.0 ที่จะมีผลกระทบมากกว่า Web 2.0 กับ 1.0 รวมกัน โดยที่มันกำลังจะเกิดขึ้นในอีก 5 ปี 10 ปีข้างหน้า ซึ่งถ้าเมืองไทยมีกฎหมายที่ถูกต้อง เราสามารถที่จะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มหาศาล”

หนึ่งในนั้นคือเรื่องของของภาษี  และมีอีกหลาย ๆ กฎหมายที่ผมคิดว่า ควรจะมีทีมเพื่อที่จะมาดูอย่างจริงจัง ให้มีกฎหมายให้มันสอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ หรือโลกใบใหม่ที่เกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นเร็วมาก จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ท็อปให้เหตุผลที่เมืองไทยมีสตาร์ตอัพระดับยูนิคอร์นน้อยมาก เป็นเพราะกฎหมายไม่เอื้อในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายของยี่สบก็ยังไม่มี ในเรื่องของ Tax Incentive กฎหมายแรงงานสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศเรา 

“ความจริงไทยเป็นประเทศแรกที่มีการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset)  ขึ้นมาเป็นประเทศแรก ๆ ของโลก ค่อนข้างจะเร็วกว่าประเทศในอาเซียน ใน 4 ปี ที่ผ่านมา ผมต้องชมธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นแบงค์ชาติที่อยู่ใน Top 10 ของโลกที่ตั้งทีม Digital Currency ขึ้นตั้งแต่ปี 2017 พร้อมกับประเทศจีน ที่ตอนนั้นตั้งเป็น Digital Currency Research Center ขึ้นมา ค่อนข้างนำหลาย ๆ ประเทศในประเทศในอาเซียน เพราะฉะนั้น กฎหมายบางอย่างที่ยังไม่สอดคล้องกับการสนับสนุนนวัตกรรมในประเทศไทย สร้างโอกาสให้คนไทย ต้องช่วยกันปรับเปลี่ยนให้โอกาสวิ่งเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น

ท๊อปกล่าวทิ้งท้ายว่า วงการสินทรัพย์ดิจิทัลมีเรื่องน่าตื่นเต้นตลอดเวลา วันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่อง ที่เราต้องผลักดันช่วยกัน ทำให้ประเทศไทยสามารถนำประเทศอื่นให้ได้ ผมและทีม Bitkub ขอขอบคุณที่ทุกคนรวมพลังกัน เราจะขออนุญาตเป็นตัวแทนทุกคนไปเป็นปากเสียง โดยจะนำเอาทุกความคิดเห็นไปให้กับผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็น เพราะทุกคนก็ต่างหวังดีต่อประเทศหมด อยากให้ปรับกับโลกใบใหม่ให้ได้

“เราจะพยายามเต็มที่ในการช่วยกันพัฒนา Web 3.0 ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย พัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัล และบล็อกเชน ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ สร้างโอกาสใหม่ให้แก่คนไทยทุกคน Bitkub ไม่เคยหยุดนิ่ง ลุยกันมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา อุปสรรคเยอะมาก แต่พวกเราก็ไม่เคยยอมแพ้กัน ก็สู้กันมาตลอด ฝากเป็นกำลังใจให้กับทีมงานทุกคน แล้วก็ขอให้ปีนี้เป็นปีที่เป็นปีที่ดีสำหรับเพื่อนๆ ทุกคน ลูกค้าทุกคน” 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ