TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessAIS เตือน/เตรียม ความพร้อม "วิถีชีวิตหลังวิกฤติ" ให้คนไทย

AIS เตือน/เตรียม ความพร้อม “วิถีชีวิตหลังวิกฤติ” ให้คนไทย

วิกฤติโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายกับวิถีชีวิตของผู้คน ขณะที่คนต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลให้พฤติกรรมหลาย ๆ อย่างถูกเปลี่ยนเข้าไปสู่โลกออนไลน์ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับวิถีชีวิตหลังวิกฤติ (Life After Crisis) คือ เทคโนโลยีจะถูกพัฒนาขึ้นอย่างเร็วขึ้น รุนแรงขึ้น และมีความหลากหลายขึ้น ดิจิทัลจะเข้ามาอยู่ในชีวิตของมนุษย์มากขึ้น คนจะต้องมีศักยภาพที่จะอยู่ร่วมกับเทคโนโลยี และทำประโยชน์ได้อย่างไร

กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลของ AIS กล่าวว่า Life After Crisis หรือวิถีชีวิตหลังวิกฤติ AIS มองว่าดิจิทัลจะเข้ามาผสานเป็นสิ่งเดียวกับมนุษย์ จะเห็นว่าคนหันมาใช้ ออนไลน์แบงก์กิ้ง ประชุมออนไลน์ สัมนาออนไลน์ จะเห็นว่าคอนเทนต์ที่มีองค์ความรู้อยู่บนโลกออกไลน์มากมาย แต่ไม่มีการกรอง คนจะโพสต์สิ่งที่อยากจะโพสต์ การกลั่นแกล้ง (Bully) จะหนักขึ้น ขณะเดียวกันคนจ้างงานจะเริ่มเข้าไปตรวจสอบพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของพนักงานที่เข้ามาสมัครงาน

-เอไอเอส เดินหน้ารณรงค์ชวน “คนไทยไร้ E-Waste”
-บทบาท Robotic กับ 5G ของ AIS ในวิกฤติโควิด-19

ขณะเดียวกันการจ้างงานก็จะถูกปรับเปลี่ยน คนในอนาคตอาจจะไม่อยากเป็นพนักงานประจำแต่รับจ้างงานตามที่ตนเองถนัด และสามารถทำงานได้จากทุกที่ แต่คนที่จะทำได้จะต้องมีวินัย

ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังวิกฤติโควิด-19 คือ คนทั่วโลกตกงานเป็นจำนวนมาก องค์กรจะมองเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายด้านคน ถ้าแต่ละแผนกยังทำงานกันเหมือนเดิม พนักงานก็จะตกงาน ไม่เว้นแม้กระทั่งฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือการที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ แต่ไม่มีคนใช้เป็นก็ไม่เกิดประโยชน์

Life after Crisis เริ่มต้นแล้วหรือยัง

กานติมา กล่าวว่า Life after Crisis ยังไม่ได้เริ่มต้น วิกฤติจริงจะเริ่มเห็นเมื่อคนไม่มีงานทำ เทคโนโลยีที่คืบคลานเข้ามา จะค่อย ๆ เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปและไม่มีที่สิ้นสุด

ในวิกฤติต้มยำกุ้งที่ผ่านมาหลาย ๆ องค์กรที่ฟื้นตัวกลับมาได้ดีเพราะใช้เวลาในช่วงวิกฤติพัฒนาคน ขณะที่วิกฤติโควิด-19 ทุกคนมองการลดค่าใช้จ่ายและคุยเรื่องของการลงทุนเทคโนโลยีมากกว่าการลงทุนเรื่องการพัฒนาคน ขณะเดียวกันคนก็กลัวเทคโนโลยีเข้ามาแทน ซึ่งจริง ๆ แล้วคนที่จะถูกเทคโนโลยีแทนที่คือคนที่ไม่พัฒนาตัวเอง

AIS เตือน/เตรียม ความพร้อม "วิถีชีวิตหลังวิกฤติ" ให้คนไทย

วิกฤติโควิด-19 ทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการขึ้น แต่ผลของวิกฤติที่เกิดขึ้น เช่น คนตกงานจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น แต่เมื่อวิกฤติมาเต็มรูปแบบ สิ่งอันตรายที่สุดคือคนยังไม่ทันระวังตัว เพราะทุกคนยังสนุกกับการทำงานจากบ้าน เมื่อรู้ตัวอีกทีก็จะพบว่าลักษณะงานที่ทำอยู่ไม่เป็นที่ต้องการแล้ว สุดท้ายก็จะไม่มีงานทำ

“เราเชื่อว่าผลกระทบในครั้งนี้จะเกิดนานกว่าที่เราเคยเจอ เพราะมันเกิดขึ้นทั่วโลก คนที่มีต้นทุน มีความพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงจะได้รับผลกระทบน้อย”

หลายบริษัทจะถือโอกาสในช่วงวิกฤติโดยเลิกจ้างพนักงาน และจะไปเพิ่มพนักงานที่มีความสำคัญ เช่น คนวิเคราะห์ข้อมูล มีความรู้เรื่องออนไลน์ และเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ แม้กระทั่งฝ่ายทรัพยากรบุคคลเอง ก็จะต้องมีฝ่ายบุคคลที่สามารถทำการวิเคราะห์ได้

“เทคโนโลยีสามารถเข้ามาแทนที่ได้กับสิ่งที่เราทำเป็นประจำ การที่เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่คนได้หมายความว่างานที่เราทำไม่ได้มีคุณค่าเพียงพอ”

คนต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอดหลังวิกฤติ

โควิด-19 เข้ามาช่วยเตือนมนุษยชาติให้ปฏิวัติตัวเอง ในขณะที่คนสนใจเรื่องการพัฒนาวัคซีน แต่อีกแกนหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคน กลุ่มคนที่ถูกทิ้งไว้เพราะตามไม่ทันและเมื่อองค์กรไม่ช่วยก็จะเกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น

จะเห็นว่าแม้กระทั่งฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็ถูกดิสรัปต์ เพราะมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วย ตั้งแต่ระบบการสมัครงาน เอกสาร เพราะฉะนั้นฝ่ายบุคคลถ้าไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูล หรือเชื่อมโยงความต้องการของธุรกิจกับความสามารถของคนได้ ตำแหน่งงานนั้นก็จะหายไป เช่นเดียวกับเด็กจบใหม่ที่เตรียมจะเข้ามาในตลาดแรงงานในปี 2021 จะหางานยากขึ้น เพราะแต่ละองค์กรก็ต้องการรักษาพนักงานของตัวเองอย่างดีที่สุด ซึ่งทำให้เด็กกลุ่มนี้เสียโอกาสที่จะได้พัฒนาตนเอง

เมื่อดิจิทัลจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์มากขึ้น เพราะฉะนั้น Life After Crisis คือความพร้อมในศักยภาพของคนที่จะอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีและจะทำประโยชน์กับเทคโนโลยีได้หรือไม่ ซึ่งเทคโนโลยีจะกลายเป็นพื้นฐาน และจะมีประโยชน์มาแค่ไหนขึ้นอยู่กับคนที่เป็นผู้ใช้

“เวลาเราซื้อโทรศัพท์เราก็อยากจะได้เครื่องที่ดีที่สุดแพงที่สุด แต่ถามว่าได้ใช้ครบทุกฟังก์ชั่นหรือไม่”

เพราะฉะนั้นในวันนี้จะไม่ใช่เรื่องแค่โทรศัพท์มือถือแต่หมายถึงอุปกรณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น อุปกรณ์ IoT ที่ใช้ในบ้าน ปัจจุบันในประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่มของคนที่มีฐานะ และยังใช้งานได้แค่ควบคุมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้ แต่กับในต่างประเทศสามารถใช้ได้มากกว่านี้ เช่น ใช้สั่งอาหาร ถ้าสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาเป็นพื้นฐานลดงานที่ไม่มีคุณค่า และผลักดันศักยภาพของคนให้ไปทำงานได้มากขึ้น เพราะถ้าคนหยุดพัฒนาก็จะถูกเทคโนโลยีแซง

 “เราเชื่อว่ามนุษยชาติจะถูกเลือกโดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวจัดหมวดหมู่ว่าใครแข็งแรงก็จะได้อยู่ต่อ”

เช่นเดียวกัน ในองค์กร AIS การจ้างพนักงานใหม่จะถูกปรับเปลี่ยน ในยุคก่อนคนอยากเป็นพนักงานประจำ แต่คนในยุคต่อไปจะไม่อยากเป็นพนักงานประจำ แต่แต่อยากทำงานในสิ่งที่เขามีความสามารถ แล้วจ่ายเงินกันตามผลงาน

AIS เตือน/เตรียม ความพร้อม "วิถีชีวิตหลังวิกฤติ" ให้คนไทย

การทำงานอาจจะไม่ต้องเข้ามาที่ออฟฟิศอย่างเดียว แต่สามารถทำงานได้ทุกที เพราะเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การสื่อสารสะดวกขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคนที่จะทำอย่างนี้ได้คือคนที่มีวินัย องค์กรจะเลือกคนที่มีวินัย การทำงานจะยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น เวลาเข้า-ออกงาน หรือบางงานที่มีลักษณะให้ทำงานจากที่บ้านได้ แต่การที่ให้คนทำงานแต่ที่บ้านอย่างเดียวอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะคนจะไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น

“เราจึงไม่อยากให้ไปโฟกัสว่า New Normal กับ Work from Home เป็นเรื่องเดียวกัน”

อีกสิ่งหนึ่ง คือ ในปีหน้าจะมีนักศึกษาที่จบใหม่ที่จะไม่มีงานทำ AIS กำลังพิจารณาว่าจะทำอย่างไรได้บ้างให้เด็กกลุ่มนี้ได้มีโอกาสสร้างประสบการณ์ทำงานกับ AIS ให้มีพื้นฐานและสามารถไปทำงานกับที่อื่นได้

เดินหน้าส่งต่อความรู้ในองค์กรสู่คนไทย

ล่าสุด AIS ตั้งเป้าจะขยายองค์ความรู้จาก AIS Academy ศูนย์รวมคอร์สออนไลน์ที่ก่อตั้งมาประมาณ 5 ปี เริ่มต้นจากให้พนักงานทุกคนจะมีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ พัฒนาตนเอง และสามารถเป็นมือที่สำคัญที่ AIS จะฝากองค์กรไว้เพื่อให้สามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้ ล่าสุดเตรียมขยายความรู้สู่พาร์ทเนอร์ ก่อนจะส่งต่อความรู้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ไปถึงคนไทยทั่วประเทศอย่างทั่วถึง  และเท่าเทียม

AIS เตือน/เตรียม ความพร้อม "วิถีชีวิตหลังวิกฤติ" ให้คนไทย

กานติมา กล่าวว่า AIS Academy ก่อตั้งมาเพราะองค์กรอยากให้มีสถาบันที่เข้ามารับผิดชอบการพัฒนาของคน ที่ไม่ใช่การเรียนรู้แบบเดิม ๆ แต่เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างความพร้อมของพนักงาน โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง Howard University School , Massachusetts Institute of Technology , Stanford University และ The University of Manchester

รวมถึงมีพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยและในเอเชีย เข้ามาช่วยดิสรัปต์วิธีการเรียนรู้ของพนักงาน AIS ส่งผ่านองค์ความรู้โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง คนที่มาเรียนจะต้องเตรียมตัวมาก่อนทั้งการทำเวิร์คช็อป การพูดคุยสนทนา และการสร้างเส้นทางโอกาสทางอาชีพ ของพนักงาน AIS

“เมื่อทำมาได้สักพักหนึ่ง เรามองว่าการเติบโตเฉพาะ AIS อาจจะไม่เพียงพอ การที่ AIS จะเติบโตต่อได้ หมายความว่าสังคมไทยจะต้องเติบโตต่อได้ เราอยากจะลดช่องว่างเรื่องการพัฒนาคน เพราะหลาย ๆ ครั้งการพัฒนาจะได้เฉพาะคนที่อยู่ในองค์กร คนที่มีฐานะ สามารถจ่ายเงินเพื่อเรียนรู้ได้”

เพราะฉะนั้นการที่ AIS จะโตต่อไปก็คือการยกระดับสังคมไทย ภารกิจ “คิดเผื่อ” อย่างแรกคือการทำ ACADEMY for THAIs หมายความว่า องค์ความรู้ใด ๆ ที่ AIS ทำ ไม่จำเป็นต้องทำเพิ่มแต่แค่ทำเผื่อ สิ่งที่พนักงาน AIS จะต้องเรียนรู้ คนภายนอกก็สามารถเรียนรู้ได้เช่นกัน โดยไม่มีเรื่องการค้ามาเกี่ยวข้อง

AIS Academy มีหน้าที่ยกระดับคนในองค์กร และรับผิดชอบคนในสังคมไทยให้เติบโตและเข้าถึงองค์ความรู้ ก่อนหน้านี้ AIS ได้เปิดตัว LearnDifor THAIs แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่จะขยายจากข้างในองค์กรไปสู่ข้างนอก ทำให้คนเข้าถึงองค์ความรู้

AIS เตือน/เตรียม ความพร้อม "วิถีชีวิตหลังวิกฤติ" ให้คนไทย

“เราพบว่าการหาองค์ความรู้ทุกวันนี้คนอาศัยอินเทอร์เน็ตค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นคนที่จะเข้ามาจำแนกประเภทว่าความรู้ไหนถูกต้อง และได้รับการสกรีนมาแล้ว ยังเป็นความท้าทาย ซึ่ง AIS ได้ทำผ่าน 2 ช่องทางคือ AIS Academy fanpage และ  LearnDi for THAIs เพื่อนำความรู้ไปสู่สังคม”

คอนเทนต์ที่จะนำออกไปให้คนไทยได้เรียนรู้ จะเป็นคอนเทนต์ประเภทการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning Journey) โดยให้ AIS Academy เป็นเพื่อนคู่คิด เช่น คนที่จะแต่งงานแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร หรือเมื่อจะต้องวางแผนเรื่องการเงิน เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต นอกเหนือจากความรู้ด้านเทคโนโลยี

การที่ AIS ไปหาองค์กรอื่นจะต้องมีความเข้าใจว่าองค์กรเหล่านั้นไม่ได้ต้องการเนื้อหาเดียวที่ใช้กับพนักงาน AIS เท่านั้น เพราะฉะนั้นจะต้องมีองค์ความรู้อื่นเข้ามา ซึ่งพันธมิตรที่เข้ามาร่วมมือกันจะมีความหลากหลายด้านเนื้อหาค่อนข้างมาก

อีกส่วนหนึ่ง คือ การดิสรัปต์กระบวนการการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้แบบเดิมอาจจะไม่ได้เหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหลังจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้เห็นว่าโลกมันแคบลงไปอีก คนสามารถสื่อสารกันได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปหากัน จะต้องเตรียมความพร้อมให้คนไทยมีความสามารถในการแข่งขัน

พัฒนาองค์ความรู้ต่อเนื่อง

สิ่งที่ AIS คาดหวัง คือ อยากให้คนไทยมีที่ที่สามารถหันไปหาได้ในการให้องค์ความรู้แบบที่มีการกลั่นกรอง ซึ่ง AIS ตั้งเป้าจะมีการพัฒนาการเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับการทำงานในองค์กรของ AIS ที่มีพัฒนาการทุกวัน ด้านพันธมิตรจะเลือกที่คุณภาพมากกว่าจำนวน เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือการคัดกรององค์ความรู้ที่ใช่จริง ๆ

 “ทุกคนจะสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ผ่านแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือ และผ่านทางเว็บไซต์ เช่นเดียวกับพนักงาน AIS”

คอนเทนต์ใน LearnDi จะมีองค์ความรู้ในแต่ละเรื่องทั้ง ภาวะผู้นำ ความรู้ด้านดิจิทัล ชุดทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และจะขยายองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หรือต่อยอดให้คนมีศักยภาพมากขึ้น

กานติมา กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้  AIS มีโครงการ “อุ่นใจอาสาพัฒนาอาชีพ” เป็นการนำความรู้ของคน AIS ส่งต่อไปให้สังคมได้เรียนรู้เพื่อสามารถสร้างอาชีพได้

“จะเห็นว่าในวิกฤติคนตกงานจำนวนมาก เราต้องการสร้างอาชีพให้คนไทยโดยให้องค์ความรู้ เพราะฉะนั้นการทำ CSR เดิมที่พนักงานเคยออกไปสร้างห้องสมุด สร้างห้องน้ำ กิจกรรมต่าง ๆ เราปรับมาเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะช่วยสังคมในเรื่องของการพัฒนาอาชีพ”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ