TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyบทบาท Robotic กับ 5G ของ AIS ในวิกฤติโควิด-19

บทบาท Robotic กับ 5G ของ AIS ในวิกฤติโควิด-19

เอไอเอส เริ่มต้นตั้งแต่ทดลอง 5G ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2561 ที่ AIS D.C. เอ็มโพเรียม มีวัตถุประสงค์ คือ สร้างการรับรู้ว่า 5G สามารถใช้ในอุตสาหกรรมได้นอกเหนือจากการใช้กับโทรศัพท์มือถือ ก่อนจะร่วมมือกับภาคการศึกษา ในหลายมหาวิทยาลัย EEC และนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการใช้งาน 5G กับหุ่นยนต์ในรูปแบบต่าง ๆ

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ ของ AIS กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ 5G เอไอเอสร่วมมือกับพาร์ทเนอร์และพันธมิตรพอสมควรเพื่อจะทำ Use Case และงานวิจัย ในอุตสาหกรรม ซึ่งเอไอเอสเข้าไปติดตั้งสัญญาณ 5G ที่ EEC ครอบคลุม 100% รวมถึงพูดคุยกับนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปใช้งานจริง เพราะแต่ละโรงงานใช้เครื่องจักรแตกต่างกัน วิธีการนำ 5G ไปใช้ก็จะแตกต่างกัน จึงต้องเป็นการช่วยกันพัฒนาเพื่อนำ 5G มาใช้งาน เพื่อช่วยกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรม

-เอไอเอส นำหุ่นยนต์ 5G ดูแลสุขอนามัยคนไทยใน BITEC
-เอไอเอส เผย Q2/63 รายได้ลดแต่กำไรยังโต

หลังวิกฤติโควิด-19 บางบริษัทจะมีการย้ายฐานการผลิต ประเทศไทยจะต้องเพิ่มชีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง ประเทศไทยมี 5G ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่มี เป็นข้อได้เปรียบในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

วสิษฐ์ กล่าวต่อว่า เอไอเอสพัฒนาหุ่นยนต์มานานแล้ว มีการนำหุ่นยนต์ไปให้บริการตามช็อปต่าง ๆ มีทีม AIS Robotic ที่พัฒนาโปรแกรมเอง ส่วนตัวหุ่นยนต์ที่นำเข้ามาจะเป็นหุ่นยนต์ที่มีความสามารถพื้นฐาน โดยเอไอเอสเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ เข้าไปในหุ่นยนต์เพื่อประโยชน์การใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ

เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 จึงถูกสั่งให้แปลงร่างหุ่นยนต์ไปช่วย จึงต้องเลือกหุ่นยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัน เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ในช่วงแรกของวิกฤติขาดหน้ากากอนามัน และชุด PPE ในห้องความดันลบที่มีผู้ป่วยอยู่ ซึ่งพยาบาลที่เข้าไปดูแลผู้ป่วยจะต้องใส่ชุดเข้าไปตลอดซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

เอไอเอสจึงเลือกหุ่นยนต์ที่ใช้การบังคับผ่าน 5G โดยให้พยาบาลเป็นคนควบคุม ใส่เทอร์โมสแกน (Thermoscan) ช่วยให้พยาบาลไม่ต้องเข้าไปวัดไข้ผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง รวมถึงมีอุปกรณ์วัดสัญญาณชีพเพื่อลดการใกล้ชิดผู้ป่วย

“เรานำหุ่นยนต์ 23 ตัวมอบให้ 22 โรงพยาบาล ที่รับตรวจโควิด-19 และให้ผู้ป่วยรักษาตัว”

นอกจากนี้ยังนำ 5G ไปใช้กับเรื่องการทำ CT Scan เพื่อตรวจจับผู้ป่วยโควิด-19 โดยสามารถส่งข้อมูลขึ้นคลาวด์ และสามารถรู้ได้เลยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโควิด-19 หรือไม่ ซึ่งใช้เวลาแค่ 30 วินาที ทำให้เห็นว่า 5G ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสาธารณสุข และขยายโอกาสให้กับโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลได้

ด้านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ห้างสรรพสินค้าในช่วงที่กลับมาเปิดห้างและโรงหนัง เอไอเอสเข้าไปร่วมมือเพื่อสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนทั่วไป ในด้านความปลอดภัย คือ หุ่นยนต์เข้าไปสแกนวัดไข้ อีกส่วนหนึ่ง คือ การสร้างความตื่นเต้นกับผู้คน เมื่อเห็นหุ่นยนต์เข้ามาช่วยทำงาน

“การที่เรามีหน่วยงานพัฒนาหุ่นยนต์อยู่แล้ว เมื่อเกิดปัญหาทำให้เราสามารถนำสิ่งที่ทำออกมาสนับสนุนธุรกิจต่าง ๆ ได้”

วสิษฐ์ กล่าวต่อว่า หุ่นยนต์เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจเพราะเอไอเอส เป็น Digital Life Service Provider ที่พยายามเติมเต็มทุก ๆ มิติที่ลูกค้าจะได้สัมผัส ขณะที่โลกหลังโควิด-19 เป็นโลกที่คนไม่อยากสัมผัสกันมาก สามารถนำหุ่นยนต์ไปใช้แทนได้ จึงเป็นส่วนสำคัญเพราะอยู่ในความสนใจของผู้คน

“การที่เรานำหุ่นยนต์มาโชว์เคส ทำให้ได้รับข้อเสนอจากลูกค้าว่าจะพัฒนาหุ่นยนต์ให้ไปใช้กับธุรกิจของเขาได้หรือไม่ ซึ่งการที่เรามี 5G ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายหุ่นไปใช้ที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณครอบคลุม”

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
ทรงกลด แซ่โง้ว – เรียบเรียง

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-5 เรื่องน่ารู้ของอาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่
-บลจ.บีแคป เปิดตัวกองทุน SSF “บีแคป โกลบอลเวลท์” ครอบคลุมทรัพย์สินทั่วโลก
-เอปสัน (ประเทศไทย) ปักธงตลาด B2B โตยั่งยืน
-Globish ลุยคลอดหลักสูตรภาษาจีน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ